​สร้างความสุขให้ตนเองด้วยการทำสมาธิเพื่อเปลี่ยนแปลงสมอง

คลื่นเบต้าลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สมองกำลังประมวลผล จัดเรียงข้อมูล ซึ่งในขั้นตอนนี้ส่งผลดีแก่เราอย่างมากมาย เริ่มจาก การเพิ่มอารมณ์เชิงบวก ทำให้สมองส่วน precuneus มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้เรามีความสุข และการเพิ่มขึ้นของสมองส่วน hippocampus ทำให้มีความจำดี http://winne.ws/n10343

1.4 พัน ผู้เข้าชม
​สร้างความสุขให้ตนเองด้วยการทำสมาธิเพื่อเปลี่ยนแปลงสมอง

“Do you ever look at someone and wonder what is going on inside their head?” คุณเคยมองใครซักคนแล้วสงสัยหรือเปล่า ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในหัวของเค้า? ประโยคเปิดของหนังเรื่อง inside out แม้ว่าการพยายามทำความเข้าใจกับเสียงในหัวจะไม่ใช่เรื่องใหม่ เรามักจะแซวกันตลอดว่าในหัวเรามีนางฟ้ากับตัวมารอยู่ในตัวเราเสมอ แต่จากในหนังเรื่องนี้ทำให้เราทราบว่า มนุษย์เรามีอารมณ์หลักๆ อยู่ 6 แบบด้วยกันคือ ความกลัว (Fear), ความประหลาดใจ (Surprise), ความขยะแขยง (Disgust), ความสุข (Joy), ความเศร้า (Sadness), ความโกรธ (Anger)

“ความสุข” เชื่อว่าทุกคนๆ คงต้องการคำนี้ และทุกคนย่อมต้องการให้ตัวความสุขเป็นตัวหลักของเราในสมอง แต่จะทำอย่างไรให้เรามีความสุข นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันมาช้านานว่า คนเราสามารถสร้างความสุขโดยการเพิ่มการเติบโตของสมองที่คิดในเชิงบวก (positive thinking) อริสโตเติลกล่าวว่า “ความสุขขึ้นอยู่กับตัวเราเอง” งานวิจัยใหม่ได้เสนอแนะเพิ่มเติมว่า เป็นไปได้ที่คนเราสามารถสร้างความสุขด้วยการฝึกทำสมาธิ

​สร้างความสุขให้ตนเองด้วยการทำสมาธิเพื่อเปลี่ยนแปลงสมอง

แน่นอนว่าข้อมูลพื้นฐานที่ทุกคนทราบคือ  ร่างกายเรามีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เช่นพึงพอใจ ดีใจ หรือเสียใจ แต่ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ชัดเจนว่า ทำอย่างไรให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความสุข ดังนั้นเพื่อที่จะศึกษาในเชิงลึกมากกว่านี้ นักวิทยาศาสตร์ของมหาลัยเกียวโตได้รับอาสาสมัคร 51 คน เพื่อค้นหาระดับความสุขของพวกเค้าเหล่านั้น และได้สแกนสมองเพื่อหาความแตกต่างในสมองระหว่างความร่าเริง แจ่มใส กับความเศร้าหมอง พวกเค้าได้ค้นพบว่า อาสาสมัครที่มีความสุข สมองที่เรียกว่า precuneus จะมีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าสมองของอาสาสมัครที่มีความเศร้าประมาณ 15% งานวิจัยก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่า การทำสมาธิเป็นประจำสามารถเพิ่มพื้นที่ของสมองส่วน precuneus โดย ดร. วาตารุ ซาโต้ กล่าวว่า “ปกติแล้วเมื่อเรามีความสุขเรามักจะกล่าวกันว่า “ฉันมีความสุข” แต่ปัจจุบันเราสามารถรู้ว่าความสุขหมายถึงอะไร อะไรทำให้เรามีความสุข” 

ศาสตราจารย์ พอล โดแลนด์แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ยกตัวอย่างว่า คนขับแท็กซี่ในลอนดอนทุกคนต้องสอบข้อสอบให้ผ่านเกี่ยวกับเส้นทางถนน 25,000 สายในลอนดอน ซึ่งมีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่สอบผ่าน โดยสมองของคนที่สอบผ่านนั้นเมื่อนำมาสแกนพบว่า  ทุกคนต่างมีสมองส่วน hippocampus ซึ่งเป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล ขนาดใหญ่กว่าคนที่สอบไม่ผ่าน และแน่นอนว่า ทุกคนไม่ได้มีสมองส่วนนี้ขนาดใหญ่ตั้งแต่เริ่มต้น แต่สมองจะมีขนาดใหญ่เมื่อพวกเค้าเหล่านั้นเรียนรู้เพิ่มขึ้นต่างหาก ดังนั้นตอนนี้เราทราบว่า ถ้าเราอยากมีความสุข เราก็แค่สร้างสมองส่วน precuneus ให้มีขนาดใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าสมองสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเรามีความตั้งใจมากพอ หนึ่งในนั้นคือวิธีการทำสมาธิ

​สร้างความสุขให้ตนเองด้วยการทำสมาธิเพื่อเปลี่ยนแปลงสมอง

สมาธิ ชาวพุทธทุกคนย่อมรู้จักกันดี แต่คำว่าสมาธิไม่ได้มีความหมายเฉพาะการนั่งขัดสมาธิ นับลมหายใจและจับเวลา 15-20 นาที แต่สมาธิหมายถึงการตั้งมั่น ตั้งใจ เมื่อเรามีความตั้งมั่น ตั้งใจเราจะพุ่งความสนใจ ลมหายใจ ความรู้สึก ประสาทสัมผัสทุกส่วนของร่างกายจะมุ่งไปยังจุดที่เราสนใจ สมอง ณ ตอนนั้นจะมีปริมาณของ คลื่นเบต้าลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สมองกำลังประมวลผล จัดเรียงข้อมูล ซึ่งในขั้นตอนนี้ส่งผลดีแก่เราอย่างมากมาย เริ่มจาก การเพิ่มอารมณ์เชิงบวก ทำให้สมองส่วน precuneus มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้เรามีความสุข และการเพิ่มขึ้นของสมองส่วน hippocampus ทำให้มีความจำดี นอกจากนี้ข้อดีในการทำสมาธิคือ ลดความกังวล ความเครียด เนื่องจากการทำสมาธิทำให้ลดการเชื่อมต่อของวิถีประสาท ซึ่งเหมือนจะเป็นข้อเสียแต่ที่จริงแล้วกลับเป็นข้อดี โดยในสมองจะประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า medial prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ประมวลผลข้อมูล ประสบการณ์ของเรา โดยปกติแล้ววิถีประสาทจากระบบร่างกายและสมองส่วนนี้ค่องข้างแข็งแรง ดังนั้นเมื่อเราได้รับประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัว ความกังวล สมองจะได้รับผลกระทบมากส่งผลให้เรารู้สึกกลัวมากในทันที แต่เมื่อเรานั่งสมาธีทำให้ลดการเชื่อมต่อ ดังนั้นเมื่อเราเกิดความกลัว ความกังวล เราสามารถที่จะมีเวลาจัดการและพิจารณาความกลัวนั้นอย่างมีเหตุผล

ตอนนี้เรารู้วิธีสร้างความสุข ซึ่งไม่ยากเลย และทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเองไม่ต้องไปพึ่งเครื่องมือต่าง ดังนั้นขั้นตอนต่อไปก็มาสร้างความสุขกันเถอะคะ

ผู้เขียน : Liew นิสิตปริญญาเอก  สาขา polymer science Petroleum and Petrochemical          College  Chulalongkorn University

แหล่งอ้างอิง

เนื้อหา

รูปภาพ


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/503728

แชร์