พึงระวัง!!โพสต์อย่างไรไม่คุก? 5 ข้อต้องรู้ร่างฯ พ.ร.บ.คอมฯ โฉมใหม่ โหดสะเทือนใจชาวเน็ต

พ.ร.บ.คอมฯ จาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คาดว่า จะพิจารณาเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2559 และประกาศใช้ภายในเดือนเมษายน 2560 ฉะนั้น ชาวเน็ต ควรรู้ มี 5 ข้อโพสต์อย่างไรไม่คุก? http://winne.ws/n11066

1.3 พัน ผู้เข้าชม

นักโซเชี่ยวรู้ไหม?...ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ไลฟ์สไตล์การท่องเน็ตของพวกเราอาจจะต้องเปลี่ยนไปตลอดกาล...ณ เวลานี้ ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด กำลังจะถูกเข็นออกมาให้ได้ใช้พร้อมกันอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้ (ขณะนี้ กำลังอยู่ในวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามกำหนดการคาดว่า จะพิจารณาเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2559 และประกาศใช้ภายในเดือนเมษายน 2560) เพราะฉะนั้น ชาวเน็ต ควรรู้ มี 5 ข้อ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1) นั้น แรกเริ่มเดิมทีมีวัตถุประสงค์มุ่งเอาผิดการทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค และการใช้ไฟล์ปลอมเพื่อแฝงตัวเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์ (เช่น ปลอมเว็บไซต์ข่าว, สร้างเพจปลอมเป็นดารา เป็นต้น) แต่ด้วยความที่กฎหมายเขียนเอาไว้ว่า “ผู้ใด... นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” และด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมามาตรา 14(1) จึงถูกนำมาตีความเพื่อใช้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทออนไลน์ ซึ่งเป็นการบังคับใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์ และกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

พึงระวัง!!โพสต์อย่างไรไม่คุก? 5 ข้อต้องรู้ร่างฯ พ.ร.บ.คอมฯ โฉมใหม่ โหดสะเทือนใจชาวเน็ตที่ผ่านมามาตรา 14(1) มักถูกนำมาตีความเพื่อใช้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทออนไลน์1. ฉบับใหม่ ไม่รวมหมิ่นประมาท

ข้อที่ 1 : จากเหตุข้างต้น สุรางคณา วายุภาพ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า การบังคับใช้ในลักษณะดังกล่าว อาจทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ผิดเพี้ยนไป ดังนั้น คณะกรรมาธิการพยายามแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใส่ถ้อยคำให้รัดกุมกว่าเดิม 

กระนั้น ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้จึงแก้ไข มาตรา 14(1) ด้วยการเพิ่มข้อความว่า “ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล” เพราะฉะนั้น มาตรา 14(1) จึงเปลี่ยนมาเป็น “ผู้ใดโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

โดย ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายและหนึ่งในคณะกรรมการร่างฯ กล่าวย้ำว่า “มาตรา 14(1) ไม่นำมาใช้กับคดีหมิ่นประมาท โดยคณะกรรมาธิการฯ มองว่า ไม่มีปัญหาเรื่องตีความแน่นอน ไม่ใช่หมิ่นประมาท และหน่วยงานต่างๆ ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดนี้”

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้จึงแก้ไข มาตรา 14(1) ด้วยการเพิ่มข้อความว่า “ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล”2. โพสต์สร้างความเสียหายให้ประเทศ-บริการสาธารณะ-โครงสร้างพื้นฐาน เสี่ยงคุก 5 ปี



พึงระวัง!!โพสต์อย่างไรไม่คุก? 5 ข้อต้องรู้ร่างฯ พ.ร.บ.คอมฯ โฉมใหม่ โหดสะเทือนใจชาวเน็ต

ข้อ 2 : ในมาตรา 14(2) ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้เพิ่มฐานความผิดให้กว้างขึ้นกว่าเดิม โดยมีการเพิ่มเติมลงไปว่า “หากมีผู้โพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ การบริการสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

โดย สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปล และบล็อกเกอร์ แสดงทรรศนะต่อเรื่องนี้ว่า อันที่จริงแล้ว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ควรใช้ปกป้องธุรกิจ เพื่อนำพาประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และควรใช้เพื่อป้องกันการโจมตีไซเบอร์ ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลโดยตรง แต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้กลับลิดรอนเสรีภาพการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน เพราะฉะนั้นจึงเกิดคำถามตามมาว่า เจตนาของกฎหมายนี้คืออะไรกันแน่

พึงระวัง!!โพสต์อย่างไรไม่คุก? 5 ข้อต้องรู้ร่างฯ พ.ร.บ.คอมฯ โฉมใหม่ โหดสะเทือนใจชาวเน็ตเกิดการตั้งคำถามที่ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ลิดรอนเสรีภาพการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนหรือไม่3. สั่งบล็อกได้ทันที แม้ไม่ผิดกฎหมาย

ข้อที่ 3 : มาตรา 20 ของร่างกฎหมายฉบับนี้ มีการจัดทำร่างประกาศฯ การบล็อกคอนเทนต์ โดยให้คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ (คณะกรรมการมี 5 คน โดย 2 คนเป็นผู้แทนจากภาคเอกชน) มีอำนาจวินิจฉัย สามารถสั่งบล็อกหรือลบคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาขัดต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี แม้จะไม่ผิดกฎหมายใดๆ ก็สามารถบล็อกได้ทันที ซึ่งประเด็น “บล็อกคอนเทนต์” ที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้ ได้ตกเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง

โดย คณาธิป ทองรวีวงศ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น แสดงความกังวลในเรื่องนี้ว่า “ใน พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะมาตรา 20/1 เรื่องการบล็อกคอนเทนต์นั้น หากเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย หรือผิด พ.ร.บ.คอมฯ แต่คณะกรรมการกลั่นกรองเห็นว่า มีผลต่อความสงบเรียบร้อย เขาก็สามารถสั่งให้บล็อกได้ทันที ซึ่งกรณีนี้อาจไปกระทบต่อปัญหาเรื่องเสรีภาพของประชาชนได้ และผลสุดท้ายการตัดสินก็จะไปสิ้นสุดที่ศาล ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าศาลจะใช้เกณฑ์ใดในการตัดสิน เพราะศีลธรรมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะกว้าง และยากต่อการนิยาม”

ขณะที่ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวถึงประเด็นเดียวกันว่า “ในเรื่องของการขัดต่อความสงบเรียบร้อยนั้น ถ้าบัญญัติไว้ไม่ครอบคลุมก็จะขาดไป หรือบางเรื่องอาจอยู่เกินความหมายที่ให้ไว้ ซึ่งที่ผ่านมา มีการพูดถึงเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยว่าแค่ไหนและอย่างไร ศาลก็ให้ข้อมูลว่าเรื่องใดบ้างที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และมีคำพิพากษาอยู่มาก แต่เป็นเรื่องยากจริงๆ ครับ ที่จะบอกว่าแค่นั้นแค่นี้ ส่วนการบล็อกคอนเทนต์ ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะทำได้โดยลำพัง หรือนึกอยากจะทำอะไรก็ทำ แต่นี่เป็นเรื่องของกระบวนการที่ต้องผ่านการกลั่นกรองหลายขั้นตอน”

พึงระวัง!!โพสต์อย่างไรไม่คุก? 5 ข้อต้องรู้ร่างฯ พ.ร.บ.คอมฯ โฉมใหม่ โหดสะเทือนใจชาวเน็ต“บล็อกคอนเทนต์” ได้ตกเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง4. มาตรา 16 ลบหน้าประวัติศาสต์ไทย?

ข้อที่ 4 : มาตรา 16/2 ในกรณีที่พบข้อมูลที่เป็นความผิด ศาลอาจสั่งให้ทำลายข้อมูลได้ ซึ่งผู้ใดที่รู้ว่ามีข้อมูลเหล่านั้นอยู่ในคอมพิวเตอร์ ต้องทำลาย ไม่เช่นนั้นจะต้องรับโทษครึ่งหนึ่งของคนโพสต์

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จากเครือข่ายพลเมืองเน็ต แสดงความกังวลต่อเรื่องดังกล่าวว่า “ผมมองว่า เรื่องนี้จะไปกระทบบรรดาคนที่ทำหน้าที่ในห้องสมุด, จดหมายเหตุ, งานวิจัย หรือคลังข้อมูลข่าวต่างๆ เพราะถ้าหากว่าวันหนึ่งศาลตัดสินว่าผิดและให้ทำลาย ก็ต้องลบใช่หรือไม่ และสมมติว่า ในกรณีที่มีนักการเมืองคนหนึ่งบอกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลามีคนตายคนเดียว ถ้าต่อมาศาลมีคำสั่งว่าต้องลบข้อมูลดังกล่าวเพราะเป็นเท็จ นั่นแสดงว่าเราก็ต้องไปลบข่าวนี้ใช่ไหม แล้วในอนาคตอีกสิบปี ยี่สิบปีข้างหน้า จะไม่มีใครรู้เลยใช่ไหมว่า นักการเมืองคนหนึ่งเคยพูดแบบนี้ คำถาม คือ เรากำลังจะลบประวัติศาสตร์หรือไม่”

โดย ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมาย และหนึ่งในคณะกรรมการร่างฯ อธิบายเหตุผลของมาตรานี้ ว่า หลักสิทธิที่จะถูกลืม หรือ right to be forgotten นั้น เป็นพื้นฐานของการเขียนร่างมาตรา 16 เพราะเมื่อข้อมูลอะไรไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตแล้วจะไม่ค่อยถูกลบออก ยกตัวอย่างเช่น ผมถูกกล่าวหาว่าไปลวนลามคนบนบีทีเอส ต่อมา ศาลตัดสินว่าไม่ได้ลวนลาม แต่เวลาเข้าไปเสิร์ชชื่อของ “ไพบูลย์” บนอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะมีข้อมูลอันเป็นเท็จอยู่ว่า คนนี้ลวนลามและลามกมาก เพราะฉะนั้นข้อมูลนี้ก็ต้องถูกลบออก ทั้งกูเกิล และเฟซบุ๊ก




พึงระวัง!!โพสต์อย่างไรไม่คุก? 5 ข้อต้องรู้ร่างฯ พ.ร.บ.คอมฯ โฉมใหม่ โหดสะเทือนใจชาวเน็ต5. ผู้ให้บริการ เก็บข้อมูลนานขึ้น จากไม่เกิน 1 ปี เป็นไม่เกิน 2 ปี

ข้อที่ 5 : ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ฉบับปัจจุบัน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่เกิน 90 วัน หรือในกรณีจำเป็น เจ้าหน้าที่อาจสั่งให้เก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 ปี แต่ร่างแก้ไขใหม่ มาตรา 26 กำหนดว่า ในกรณีจำเป็นอาจสั่งให้เก็บไว้ได้ไม่เกิน 2 ปี

ขณะที่ มาตรา 18 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บข้อมูลที่เป็นหลักฐานในการกระทำความผิดที่เจ้าหน้าที่ต้องการเอาไว้ก่อนได้ โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลา

แต่จะเป็นอย่างไรนั้น เราคงต้องติดตามกันต่อไป สุดท้ายความจริงก็คือความจริง จำต้องเปิดเผยไม่วันใดก็วันหนึ่ง ต้องรักษาความจริงไว้ให้ดีที่สุดประหนึ่งเหมือนเกลือรักษาความเค็ม แต่อย่าทำตัวเกลือเป็นหนอนละหน๊า...แย่เลย!!



ขอบคุณ, http://www.thairath.co.th/content/799312

แชร์