ขออย่าให้เป็นดัง "โศกนาฏกรรมพระพิมลธรรม (อาจ)" ย้อนรอยในอดีตที่กรีดใจคนไทย ไม่รู้จบ..

เรื่อง ร้ายแรงอันน่าละอายนี้ เกิดขึ้นเดือนสิงหาคม 2503 สังฆนายกและสังฆมนตรีรับทราบคำร้องเรียนจากการประชุมร่วมกับตำรวจสันติบาลว่า มี 2 ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาว่า พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) เสพเมถุนธรรมทางเวจมรรค http://winne.ws/n11772

2.5 พัน ผู้เข้าชม
ขออย่าให้เป็นดัง "โศกนาฏกรรมพระพิมลธรรม (อาจ)" ย้อนรอยในอดีตที่กรีดใจคนไทย ไม่รู้จบ..

โศกนาฏกรรมพระพิมลธรรม (อาจ)

       เรื่อง ร้ายแรงอันน่าละอายนี้ เกิดขึ้นเดือนสิงหาคม 2503 สังฆนายกและสังฆมนตรีรับทราบคำร้องเรียนจากการประชุมร่วมกับตำรวจสันติบาลว่า มี 2 ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาว่า พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) เสพเมถุนธรรมทางเวจมรรค(ร่วมเพศทางทวารหนัก) กับพวกตนจนสำเร็จความใคร่ การกล่าวหาเช่นนี้ตามกระบวนการยุติธรรมของสงฆ์ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 แล้วจะต้องมอบเรื่องให้คณะวินัยธร ที่ถืออำนาจอธิปไตยทางตุลาการ แต่ที่น่าตกใจก็คือสังฆนายก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี)กลับด่วนวินิจฉัยเองด้วยการเขียนหนังสือสั้นๆ เสนอสมเด็จพระสังฆราช (ปลด)  กระนั้นสมเด็จพระสังฆราชก็รับลูกต่อทันควันด้วยการออกหนังสือไปยังพระพิมลธรรม (อาจ)มีข้อความที่น่าสนใจว่า

"ด้วย ทางการตำรวจได้ทำการสอบสวนเรื่องความประพฤติของท่านได้ความประจักษ์แล้ว...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่านออกเสียจากสมณเพศ และหลบหายตัวไปเสียจะเป็นการดีกว่าที่จะปรากฏโดยประการอื่นๆ เพื่อรักษาตัวท่านเองและเพื่อเห็นแก่วัดและพระศาสนา"

       พระ พิมลธรรม (อาจ) ก็ตอบจดหมายกลับไป โดยมีใจความว่า ข้อเสนอที่ให้หนีไปนั้นไม่เป็นผลดีต่อวัดมหาธาตุและศาสนาโดยรวมและโดยส่วนตัวก็ไม่เป็นธรรม หนังสือดังกล่าวลงวันที่ 22 กันยายน 2503 พระพิมลธรรม (อาจ) เองก็ไม่ได้ถูกโดดเดี่ยวจากการปรักปรำ อีกสองวันต่อมาปรากฏคณะสงฆ์วัดมหาธาตุจำนวน 465 รูปได้ทำหนังสือและลงนามยืนยันความบริสุทธิ์ 

       อย่าง ไรก็ตามทางเบื้องบนก็มีจดหมายให้ชี้แจง และแม้พระพิมลธรรม(อาจ) จะชี้แจงกลับไป ก็ดูราวกับว่าไม่มีผลใดๆซ้ำยังเดินหน้าตัดสินโดยข้ามกระบวนการที่ชอบธรรมโดยการประกาศถอดสมณศักดิ์ในเดือนพฤศจิกายน 2503ไม่เฉพาะกับพระพิมลธรรม (อาจ) เท่านั้น แต่พระศาสนโสภณ (ปลอดอตฺถการี) วัดราชาธิวาส ที่สนับสนุนพระพิมลธรรม (อาจ)ด้วยข้อหาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยออกมาในนามของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลายเซ็น สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2503 การโค่นล้มพระพิมลธรรมจึงได้ดึงเอาอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวพันเพื่อทำลายศัตรูของตนอย่างสิ้นคิด

       แม้ จะถูกถอดสมณศักดิ์ พระพิมลธรรม(อาจ) ที่กลายเป็นพระอาสภเถระก็ยังตั้งมั่นเพราะเชื่อในความบริสุทธิ์ของตนแม้ว่าจะลงเอยด้วยการใช้อำนาจรัฐมาบีบบังคับให้สึกด้วยการส่งสันติบาล ไปจับกุม ณวัดมหาธาตุ ในวันที่ 20เมษายน 2505 ด้วยข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรพระอาสภเถร ไม่แสดงอาการขัดขืนแต่ขอเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนบันทึกสั่งการงานที่คั่งค้างอยู่อย่างองอาจก่อนจะถูกนำตัวไปสันติบาล เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล็กๆแต่พบว่า ระหว่างจับกุมได้กรมตำรวจได้นำแถลงการณ์ส่งไปออกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยอ้างความจำเป็นในการจับกุมคราวนี้ว่า

"ถ้าปล่อยไว้ ก็จะเป็นภยันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องจัดการขั้นเด็ดขาดด้วยการจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป" 

       ในที่สุดก็พระอาสภเถระก็ถูกกระชากผ้ากาสาวพัสตร์ออกไปโดยคำสั่งของสังฆมนตรีโดยผู้ลงมือคือ พระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยาและพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) วัดไตรมิตรทำให้ต้องเปลี่ยนไปครองผ้ากาสาวพัสตร์สีขาวแทน การสึกจบลงด้วยการที่อดีตพระอาสภเถระเดินทางไปจำพรรษาในฐานะอาคันตุกะณ สันติปาลาราม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2505 ถูกทำให้หายไปจากวงการสงฆ์อีกสิบกว่าปี 

       การใช้อำนาจในการสึกให้ขาดจากความเป็นพระนั้นเป็นโทษสูงเทียบได้กับการประหารชีวิตเลยทีเดียวการใช้อำนาจบนกระบวนการไม่ชอบธรรมอย่างเลวร้ายเพื่อทำลายบุคคลๆเดียวนอกจากจะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ภายใต้กฎหมายเดียวกันแล้ว ยังเป็นการบิดเบือนกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรับใช้เป้าหมายอย่างไร้ความชอบธรรมอย่างยิ่ง โศกนาฏกรรมชีวิตของปรีดี พนมยงค์ที่สุดท้ายต้องลี้ภัยและตายในต่างแดนก็มีจุดจบที่เอน็จ อนาถไม่ต่างไปจากพระพิมลธรรม (อาจ) เลย

ขออย่าให้เป็นดัง "โศกนาฏกรรมพระพิมลธรรม (อาจ)" ย้อนรอยในอดีตที่กรีดใจคนไทย ไม่รู้จบ..

พระพิมลธรรม (อาจ) ในชุดห่มขาว

        ลายมือของพระพิมลธรรม (อาจ) อ่านได้ว่า“ถึงแม้ว่าจะมีผู้มีใจโหดร้ายทารุณแย่งชิง ผ้ากาสาวพัตรของกระผมไป กระผมก็จะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตรชุดอื่นแทน ซึ่งกระผมมีสิทธิตาม พระธรรมวินัยและกฎหมายจึงขอให้ท่านเจ้าคุณ ผู้รู้เห็นอยู่ ณ ที่นี้ โปรดทราบและเป็นสักขีพยานให้แก่กระผมตามคำปฏิญาณนี้ด้วย - อาสภเถร!”

        แม้ ทั้งสองจะถูกใส่ร้ายแต่เรายังไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าสังคมร่วมสมัยจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อความไม่ถูกต้องนี้อย่างไรสอดคล้องกับคำอธิบายทางด้านศีลธรรม จริยธรรมในสังคมไทยที่แทบจะไม่ได้ยึดโยงกับหน้าประวัติศาสตร์ ทั้งยังแสร้งลืมราวกับว่าคุณงามความดี และคนดีมีศีลธรรมทั้งหลายที่บริสุทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่นานก็ถูกลืมจากสังคมไปแล้ว กลายเป็นว่าคนที่ถูกลงโทษก็สมควรด้วยแล้วกับความผิดโดยไม่ตั้งคำถามสักนิดว่าผิดจริงหรือไม่ หลายกรณีก็ต้องยอมจำนนต่อหลักฐานเท็จที่สร้างขึ้นไม่ยากเลย

คำพูดที่พระพิมลธรรม(อาจ) เคยพูดไว้กับ สมัคร บุราวาศเมื่ออยู่ในเรือนจำ ไม่อาจสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นกับเขาได้เลยนั่นคือ

“วิปัสสนากรรมฐานนี้แหละจะนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลกนี้ได้” 

ปรับแก้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 

        ความ อื้อฉาวจากกรณีพระพิมลธรรมยิ่งทำให้สังฆสภาไม่สามารถดำเนินการอย่างราบรื่นพระที่เป็นสมาชิกสภามักยื่นกระทู้ถามเสมอ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี)วัดมกุฏกษัตริยาราม สังฆนายกและสังฆมนตรีรูปอื่นก็ไม่สามารถตอบต่อสภาให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างสังฆสภากับสังฆมนตรีแน่นอนว่าเป็นอุปสรรคต่อการปกครองคณะสงฆ์ให้ราบรื่นในที่สุดก็ไปสู่การยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 

         อย่างไรก็ดีแรงต้านพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นี้เป็นไฟสุมขอนมาตั้งแต่ทศวรรษ 2490 แล้วความวุ่นวายอันเนื่องมาจากการโต้เถียงทางความคิดที่ละเมิดต่อลำดับศักดิ์สูงต่ำในสังคมสงฆ์ การถ่วงดุลตรวจสอบไม่ให้เกิดอำนาจที่ฉ้อฉลก็ทำให้การปกครองสงฆ์เป็นไปอย่างไม่สะดวกใจสำหรับพระสงฆ์บางคน 

        ที่ ประชุมคณะสังฆมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการ 5 รูปเมื่อเดือนตุลาคม 2501 เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องของพ.ร.บ.เดิม โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน)สังฆนายก เป็นประธาน ซึ่งประเด็นที่คณะสงฆ์เห็นว่าเป็นปัญหาคือความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2489 มาตรา 13 ดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่พระฝ่ายธรรมยุต 22 รูปนำเสนอเมื่อปี 2490 มาแล้ว จึงได้มีการดำเนินการยกร่างพ.ร.บ.ไม่พบว่าร่างดังกล่าวมีความคืบหน้าเพียงใด 

       เรื่องพ.ร.บ.ใหม่เป็นข่าวอีกทีก็คือการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญในอำนาจของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2505โดยมีพระอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นประธานกรรมาธิการและกรรมาธิการคนสำคัญที่เป็นพระเปรียญเก่าอย่าง ปิ่น มุทุกันต์ ยศพันเอก (ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศาสนาในปี2506) 

         ร่างดังกล่าวแทบจะไม่มีเสียงคัดค้าน อาจเป็นเพราะว่ากฎหมายดังกล่าวมีใบสั่งมาจากสฤษดิ์ การคัดค้านจึงถูกทำให้เงียบลงโดยปริยายและในที่สุดสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ลงมติเห็นควรใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายด้วยผลคะแนนผู้เห็นด้วย 112 เสียง และไม่เห็นด้วย 1เสียงกฎหมายดังกล่าวก์ถือว่าผ่านที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 13 ธันวาคม 2505 เรียกว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช 2505 

ขออย่าให้เป็นดัง "โศกนาฏกรรมพระพิมลธรรม (อาจ)" ย้อนรอยในอดีตที่กรีดใจคนไทย ไม่รู้จบ..

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ตราเมื่อ 25 ธันวาคม 2505

         ทั้งที่ปัญหาการจัดการเชิงโครงสร้างดังกล่าวต้องการระบบตรวจสอบถ่วงดุลและความรับผิดชอบการล้มกระดานโครงสร้างดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นการใช้อำนาจเข้าไปจัดการปัญหาซึ่งจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ถูกแก้ไขไปอย่างฉาบฉวยและกลับทำให้คณะสงฆ์และพุทธศาสนากลับเข้าไปอยู่ปริมณฑลที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ ดังเดิมในบรรทัดฐานของสังคมไทย

         แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกันแล้ว สังคมสงฆ์เมื่อถูกตามใจด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 กฎหมายดังกล่าวถูกแก้ไขอีกครั้งในปี2535 โดยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิมมาจนถึงปัจจุบันทำให้เห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญทางโลกจะหกล้มหกลุกลองผิดลองถูกในรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ โดยเฉพาะฉบับหลัง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับประชาชนสิทธิของคนในระดับต่าง ๆ มากขึ้น

         แต่กฎหมายของคณะสงฆ์ก็ยังผดุงซึ่งความสงบสุขของสงฆ์และเป็นหลักในการบริหารจัดการของศาสนจักรซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศไทยตลอดยาวนานโดยเฉพาะการแก้และลดปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตทั้งยังประสานไปกับความเจริญเติบโตของฝ่ายอาณาจักรได้เป็นอย่างดีดุจดังสังคมในยุคโบราณกาลที่บ้านวัดโรงเรียนต้องไปด้วยกันนั่นเอง..

 

อ้างอิง:

1.   แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ :มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.230

2.   กอง บรรณาธิการประชาไท. "คุยกันยาวๆ กับ ‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’:อ่านกันชัดๆ ว่าด้วยความพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการฉีกรัฐธรรมนูญ". http://prachatai.com/journal/2011/09/37007(21 กันยายน 2554)

3.   แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.113

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://prachatai.com/journal/2011/12/38242

แชร์