คดีดัง!!!ตำรวจขอคืนพื้นที่สาธารณะจากวัดพระธรรมกาย ทำได้หรือ ? ใครคือเจ้าทุกข์ !!!?

​สรุป คือจะรู้กฎหมายหรือไม่ก็ตาม หากกระทำความผิดต้องถูกลงโทษ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก จึงต้องศึกษากฎหมายไว้ป้องกันตัว และให้เป็นวิทยาทานแก่คนที่ไม่รู้ http://winne.ws/n11971

641 ผู้เข้าชม
คดีดัง!!!ตำรวจขอคืนพื้นที่สาธารณะจากวัดพระธรรมกาย ทำได้หรือ ? ใครคือเจ้าทุกข์ !!!?

​ผมเกิดพุทธศตวรรษที่24 ในยุคถิ่นกาขาว มีความรู้กฎหมายไทยพื้นฐานเหมือนทุกท่านที่ต้องรู้   มีใบอนุญาตให้เป็นทนายความ แต่ไม่ประกอบอาชีพทนายความ 

สาเหตุที่ศึกษากฎหมายเพราะได้อ่านหนังสือพบ หลักกฎหมายไทยว่า “ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้” แม้จะมีข้อยกเว้นบางประการให้ยกขึ้นอ้างได้และพิสูจน์ได้ว่าไม่รู้กฎหมายจริง ก็เป็นเหตุให้เพียงลดโทษเท่านั้น  ศาลจะไม่ลงโทษเลยไม่ได้ 

​สรุป คือจะรู้กฎหมายหรือไม่ก็ตาม 

หากกระทำความผิดต้องถูกลงโทษ  

ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก 

จึงต้องศึกษากฎหมายไว้ป้องกันตัว

และให้เป็นวิทยาทานแก่คนที่ไม่รู้

มาถึงพุทธศตวรรษที่ 25 ยุคชาวศิวิไลซ์ในปัจจุบัน  จากข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้เห็นว่า  มีการนำกฎหมายมาใช้ในลักษณะแปลกๆไม่เหมือนในอดีต และเป็นข้อกฎหมายที่ใกล้ตัวเราทุกคน ที่อาจเกิดกับคนทั่วไปอย่างเราๆได้ทุกเมื่อ โดยอาจกระทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเหตุใดก็ตาม ก็ต้องถูกลงโทษอยู่ดี ตามหลักกฎหมายไทย ที่กล่าวมาแล้ว 

จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขียนเรื่องนี้ขึ้น  โดยอาศัยข้อมูลจากข่าวสาร  ที่เผยแผ่ทั่วไปในปัจจุบัน

***  อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยผมมีความรู้ทางกฎหมายในเบื้องต้นเท่านั้น หากความเห็นใดๆที่นำเสนอไปไม่ชอบโดยข้อกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเกิดจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ผมขอรับคำชี้แนะจากผู้รู้ทุกท่านด้วย เพื่อประดับสติปัญญาและเป็นวิทยาทานแก่ประชาชนทั่วไปด้วยนะครับ  ***

คดีดัง!!!ตำรวจขอคืนพื้นที่สาธารณะจากวัดพระธรรมกาย ทำได้หรือ ? ใครคือเจ้าทุกข์ !!!?

วันนี้ข่าวที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่รู้กันทั่วไปทั่วโลกเพราะมีการลงในสื่อมากมายและเป็นมานานซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าใจความเป็นมาได้ง่ายคือข่าวของวัดพระธรรมกาย 

ผมจะขอเริ่มด้วยการขอคืนพื้นที่สาธารณะของตำรวจจากวัดพระธรรมกาย  เพราะบังเอิญผมมีทีดินติดถนนสาธารณะอยู่แปลงหนึ่งและเชื่อว่าหลายท่านคงอาจสนใจเรื่องนี้เพราะโดยปกติที่ดินติดถนนสาธารณะหรือพื้นที่สาธารณะย่อมเป็นที่ดินที่สวยงาม ใช้ประโยชน์ได้มาก และมีลักษณะพิเศษในตัวที่อาจทำให้เราทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัวได้ครับ

     ​จากข่าวใหญ่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ที่เขียนว่า มีนายตำรวจผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเปิดเผยถึง กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 1 กว่า 5 กองร้อย และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และเจ้าหน้าที่ทหารสนธิกำลังขอคืนพื้นที่โดยรอบวัดพระธรรมกายตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ว่า “วันนี้เป็นปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ทางสาธารณะที่อยู่ในบริเวณใกล้กับวัดพระธรรมกาย ตามที่เจ้าหน้าที่ธนารักษ์จังหวัดได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษ”

​คำว่าพื้นที่ทางสาธารณะทำให้นึกถึงทีดินติดถนนสาธารณะของผมเอง และเมื่อดูคำให้สัมภาษณ์แล้วคิดว่า  คดีบุกรุกที่สาธารณะที่ทำให้ตำรวจต้องมาขอพื้นที่คืนต้องเป็นคดีที่มีความผิดร้ายแรงมีโทษสูงมากทีเดียว   เพราะต้องใช้กำลังตำรวจในการขอคืนพื้นที่มากกว่า 5 กองร้อย  และยังมีเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ  พร้อมกำลังทหารอีกต่างหาก

​สงสัยไหมครับว่า กำลังกว่า 5 กองร้อยมากแค่ไหน เท่าที่รู้มาเขาคิดอย่างนี้ครับ การจัดกำลังพลของทหาร 1 กองร้อยมีทหาร 176 คน ถ้าเป็นตำรวจ 1 กองร้อย จะมีตำรวจ 150 คน ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลทั่วไปหาดูได้ตามสื่อครับ

​จากข่าวการให้สัมภาษณ์ซึ่งไม่แน่ชัดว่าใช้กำลังส่วนไหนเท่าไหร่ เอาเป็นว่าใช้ตำรวจ 5 กองร้อยตามที่นายตำรวจใหญ่ให้สัมภาษณ์มาก็แล้วกัน  ทำให้ คำนวณเฉพาะกำลังตำรวจ ได้ (5*150) 750 คน ไม่รวมส่วนที่มากกว่า และเจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ กับทหารนะครับ   

เรื่องบุกรุกที่ดินสาธารณะไม่ร้ายแรงได้อย่างไรเพราะต้องใช้กำลังตำรวจมากขนาดนี้

คดีดัง!!!ตำรวจขอคืนพื้นที่สาธารณะจากวัดพระธรรมกาย ทำได้หรือ ? ใครคือเจ้าทุกข์ !!!?

เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

.............................

​ พิจารณาจากคำให้สัมภาษณ์ของนายตำรวจใหญ่บอกว่า “มาขอคืนพื้นที่ตามที่ เจ้าหน้าที่ธนารักษ์จังหวัดได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษ” 

   แสดงว่า กรมธนารักษ์  กระทรวงการคลังเป็น “ผู้เสียหาย” เพราะเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ ในคดีบุกรุกซึ่งเป็นคดีมีโทษทางอาญา

​ทำให้สงสัยคำว่า “ทางสาธารณะ” หมายถึงอะไรถึงทำให้ กรมธนารักษ์  เป็นผู้เสียหายในกรณีร้องทุกข์ ทางที่ใช้กันทั่วๆไปน่าจะมีผู้ดูแลคือ กรมทางหลวง ในพื้นที่ทางหลวงหรือ กรมทางหลวงชนบทในพื้นที่ทางหลวงชนบท หรือ อบต. ในพื้นที่ถนนในความดูแลของ อบต.ไม่ใช่หรือ  ???

แล้วกรมธนารักษ์มีหน้าที่ดูแลที่ราชพัสดุมาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ยังไง  หรือว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ราชพัสดุ เมื่อค้นดูก็พบกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้

          ​1.กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์ เกี่ยวกับที่ราชพัสดุพ.ศ. ๒๕๔๕ ( ฉบับปรับปรุง )​

​          ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ รวมทั้งการปกครอง ดูแล และบำรุงรักษาที่ราชพัสดุ ให้กรมธนารักษ์มีอำนาจดำเนินการแทนกระทรวงการคลังในเรื่องดังต่อไปนี้

           ​(๒) ดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และคดีอื่นๆเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ และทรัพย์สินในที่ราชพัสดุ

​ดูกฎกระทรวงการคลังข้อนี้แล้วสรุปได้ว่า “ กรมธนารักษ์มีอำนาจดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และคดีอื่นๆเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ และทรัพย์สินในที่ราชพัสดุ” ​แล้วที่ราชพัสดุคือที่ไหนบ้าง  ที่ดินตรงนี้ต้องเป็นที่ราชพัสดุแน่ๆเลย กรมธนารักษ์จึงเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็ค้นต่อพบพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 เขียนไว้ว่า

​มาตรา 4 ที่ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิดเว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้

           ​(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน

           ​(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้น ว่าที่ ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และขององค์ การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ

คดีดัง!!!ตำรวจขอคืนพื้นที่สาธารณะจากวัดพระธรรมกาย ทำได้หรือ ? ใครคือเจ้าทุกข์ !!!?

สรุป  ในช่วงนี้ได้ว่า กรมธนารักษ์มีอำนาจดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และคดีอื่นๆเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ และทรัพย์สินในที่ราชพัสดุ “ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 4(2) พระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518” จึงไม่ใช่ผู้เสียหายในเรื่องนี้

​ดังนั้น ที่นายตำรวจใหญ่ให้สัมภาษณ์ว่า “มาทวงทางสาธารณะสมบัติคืนตามที่กรมธนารักษ์ร้องทุกข์”  น่าจะมีปัญหาแล้ว  เพราะกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ให้คำนิยามว่า

​           “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้

​และโดยหลักการดำเนินคดีทั่วไป

ผู้ที่จะดำเนินคดีได้คือ ผู้เสียหาย  

ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย  

ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา   

ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายให้ดำเนินคดี   

ซึ่งจะเห็นได้ชัดเพราะตำรวจอ้างว่ามาตามที่มีผู้ร้องทุกข์ไม่ได้มาเองนะ ​จึงมีคำถามว่า เมื่อกรมธนารักษ์ไม่มีอำนาจดำเนินคดีในพื้นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน  จึงไม่เป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้  

ทำไมตำรวจจึงรับเรื่องราวร้องทุกข์กล่าวโทษจากกรมธนารักษ์ ตามที่นายตำรวจใหญ่ท่านนั้นให้สัมภาษณ์มาข้างต้น 


   >> การดำเนินการครั้งนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  ??


   >> เป็นการเริ่มต้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ?? 

เพราะตำรวจต้องรู้ดีว่าคนที่มีอำนาจให้ดำเนินคดีได้เป็นใคร   เมื่อคนร้องทุกข์ไม่มีอำนาจ ตำรวจใช้อำนาจอะไรมาขอคืนพื้นที่   

คดีดัง!!!ตำรวจขอคืนพื้นที่สาธารณะจากวัดพระธรรมกาย ทำได้หรือ ? ใครคือเจ้าทุกข์ !!!?

ถ้าเป็นอย่างนี้ทั้งกรมธนารักษ์และตำรวจ ที่เข้ามาดำเนินการโดยไม่มีอำนาจจะมีความผิดเรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไหม ??

        เรื่องนี้น่าสนใจมากเพราะหากเกิดขึ้นกับตัวเราเองแล้วเราต้องตรวจสอบให้ชัดเจน  การที่ตำรวจเข้าดำเนินการใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปครับ

​ส่วนกรณีศึกษาเรื่องการกล่าวหาว่าวัดพระธรรมกายบุกรุกที่สาธารณะ แล้วใครเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดี ที่แท้จริง มีขั้นตอนดำเนินการที่ถูกต้องอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ


ขอบคุณข้อมูลจากhttp://khon2yook.blogspot.com/2017

ภาพจาก google.com

แชร์