ผวาหนัก!! ผลวิจัยในแคนาดา พบคนอยู่ใกล้ถนนใหญ่ เสี่ยงสมองเสื่อมสูงกว่า

ผลวิจัยติดตามผู้คนนับ 2 ล้านคนในแคนาดามานานกว่า 10 ปี พบว่าคนที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนใหญ่ไม่เกิน 50 เมตร มีอัตราป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมสูงกว่าคนที่อยู่ห่างจากถนน 300 เมตร ถึง 11% http://winne.ws/n12005

746 ผู้เข้าชม
ผวาหนัก!! ผลวิจัยในแคนาดา พบคนอยู่ใกล้ถนนใหญ่ เสี่ยงสมองเสื่อมสูงกว่า

เมื่อ 5 ม.ค.59 สำนักข่าวบีบีซีรายงานเผยแพร่ผลงานการวิจัย ซึ่งถูกนำมาตีพิมพ์ลงใน วารสารการแพทย์ชั้นนำของโลก Lancet (แลนซิต) พบว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนใหญ่ที่มีการจราจรคับคั่ง มีอัตราป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม (dementia) สูงกว่าผู้ที่พำนักอยู่ห่างไกลจากถนนใหญ่ และคนที่ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมถึง 11% อาศัยอยู่ห่างจากถนนใหญ่เพียงแค่ 50 เมตรเท่านั้น

ผลการจากวิจัยครั้งนี้ ได้จากการติดตามประชาชน 2 ล้านคนในเมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดา มาเป็นระยะเวลานานกว่า 11 ปี ระหว่างปี 2544-2555 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม จำนวน 243,611 ราย และความเสี่ยงของผู้ที่จะป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมจะมีมากที่สุดเมื่ออาศัยอยู่ใกล้ถนนใหญ่อีกด้วย

จากการวิจัยที่เปรียบเทียบระหว่าง ประชาชนที่อาศัยอยู่ห่างจากถนนใหญ่ 300 เมตร พบว่า
* ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนใหญ่ภายในระยะ 50 เมตร จะมีอัตราป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมสูงกว่าคนที่อาศัยอยู่ห่างถนนใหญ่ 300 เมตร ถึง 7%
* ผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากถนนใหญ่ 50-100 เมตร จะมีอัตราป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมสูงกว่า 4% 
* ผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากถนน 101-200 เมตร จะมีอัตราป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม สูงกว่า 2%

ผลการจากวิเคราะห์ ชี้ว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม 7-11% อาศัยอยู่ห่างจากถนนใหญ่ในช่วง 50 เมตร และนักวิจัยระบุว่า มลพิษในอากาศ หรือเสียงของยวดยานพาหนะบนท้องถนน สามารถทำให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพลดลง ขณะที่ปัจจุบันนี้ มีประชาชนเกือบ 50 ล้านคนทั่วโลกป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม

ด้าน ดร.ฮอง เฉิน จากสำนักงานสาธารณสุขเมืองออนตาริโอและเป็นหนึ่งในนักวิจัยที่เขียนรายงานวิจัยเรื่องนี้ชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชาชน และการเติบโตของชุมชนเมืองทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องอาศัยอยู่ใกล้ถนนที่มีการจราจรหนาแน่น ขณะที่อัตราผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมก็สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยจากความยากจน ระดับการศึกษา ภาวะโรคอ้วน และการสูบบุหรี่

ขณะที่ศาสตราจารย์ มาร์ติน รอสเซอร์ ผู้อำนวยการวิจัยโรคสมองเสื่อม แห่งสถาบันวิจัยแห่งชาติสหราชอาณาจักร กล่าวว่า รายงานวิจัยดังกล่าวมีความสำคัญ ถึงแม้ผลกระทบยังเล็กน้อยอยู่ก็ตาม ส่วนศาสตราจารย์ ทอม เดนนิง ผู้อำนวยการศูนย์โรคสมองเสื่อมแห่งมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ชี้ว่าการวิจัยนี้น่าสนใจและเป็นการกระตุ้นเตือน ขณะเดียวกันคำแนะนำที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงของการป่วยด้วยโรคมสมองเสื่อม คือสิ่งที่เรารู้กันอยู่แล้วคือการพักผ่อน หยุดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย และกินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

แชร์