จับมือ 6 ประเทศ ผลักดันไทยศูนย์กลางอาหารพุทธโลก

อ.(พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ ได้ร่วมประชุมหารือกับผู้แทนสมาพันธ์อาหารชาวพุทธ 6 ประเทศ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารพุทธโลก เสนอฉลากสินค้าชื่อ “มัทตั้น (MUTH-THUN)” http://winne.ws/n12013

1.1 พัน ผู้เข้าชม
จับมือ 6 ประเทศ ผลักดันไทยศูนย์กลางอาหารพุทธโลกน.อ.(พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์

เมื่อวันที่ 5 มกราคม ดร.ณพลเดช มณีลังกา โฆษกพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย (อปท.) เปิดเผยว่าน.อ.(พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ เลขาธิการพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย ได้ร่วมประชุมหารือกับผู้แทนสมาพันธ์อาหารชาวพุทธ 6 ประเทศ ประกอบด้วย สมาพันธ์อาหารชาวพุทธจากประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น และไทย โดยมี ศ.ดร.เจ้าเฉินฟา เป็นประธานประชุม ณ โรงพยาบาลเวิลด์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ 

เพื่อผลักดันความนิยมในอาหารชาวพุทธให้แพร่หลาย สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารพุทธโลก ในการประชุมได้อาศัยข้อมูลตามพระวินัยบัญญัติในพระไตรปิฎก จาก พระอาจารย์บรรยง อภิวัฑฒโน ประธานชมรมคนรักดอยหล่อ โดยได้หารือหลักการตามพระวินัยบัญญัติ ว่าด้วยการรับประทานอาหารของพระภิกษุสงฆ์ โดยพระวินัยบัญญัติอาหารตามสมควรแก่เพศบรรพชิตอันเป็นเพศที่จะต้องขัดเกลากิเลส และกำหนดเนื้อที่ทรงห้ามสำหรับพระภิกษุสงฆ์ฉัน มี 10 ชนิด คือ 

เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้อราชสีห์ เนื้องู เนื้อหมี เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว และ เนื้อเสือเหลือง ทั้งนี้ อาหารที่จะนำมารับประทาน ต้องไม่ทราบว่าฆ่ามาถวายพระภิกษุสงฆ์โดยตรง รวมถึงการหารือข้อกำหนดการบริโภคอาหารของชาวพุทธในนิกายต่างๆ คือ อาหารเจ และ อาหารมังสวิรัติหรือเรียกกันในกลุ่มย่อๆว่า วีแกน (Vegan) สำหรับอาหารมังสวิรัติ จะสามารถแยกกลุ่มอาหารออกไปอีก คือ 

1.การงดเว้นเนื้อสัตว์ทุกชนิด 

2.งดเว้นเนื้อสัตว์ แต่สามารถรับประทาน ไข่ หรือ นม หรือ น้ำผึ้ง หรือ หอยนางรมได้ (ในบางกลุ่มเลือกทานอย่างใดอย่างหนึ่ง) 

3. ทานในกลุ่มที่สอง แต่ไม่ทาน กระเทียม หัวหอม หรือ ผักที่มีกลิ่นฉุน 

4. กลุ่มทานเฉพาะ กลุ่มถั่ว

จับมือ 6 ประเทศ ผลักดันไทยศูนย์กลางอาหารพุทธโลกดร.ณพลเดช มณีลังกา

ดร.ณพลเดช กล่าวว่า 

5. ทานเฉพาะผักและอาหารทะเล (จะเป็นกลุ่มในประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก) ซึ่งอาหารชาวพุทธอาหารมังสวิรัติจะสามารถแบ่งย่อย ตามกลุ่มประเภทอย่างละเอียดได้ถึง 9 กลุ่ม อาหารดังกล่าวมีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากแต่ไม่ได้มีมาตรฐาน หรือหน่วยงานรับรองคุณภาพ ซึ่งคณะกรรมการสมาพันธ์อาหารชาวพุทธ 6 ประเทศ ได้ตั้งชื่อ ฉลากสินค้าสำหรับชาวพุทธในชื่อ “มัทตั้น (MUTH-THUN)” มาจากคำว่า “มัตตัญญุตา” แปลว่า การประมาณในโภชนาหาร รู้จักการกิน เลือกกินให้เพียงพอ 

“เราเชื่อมั่นว่า การส่งเสริมและผลักดันอาหารชาวพุทธ นอกจากจะช่วยทำให้ผู้บริโภคอาหารเจและมังสวิรัติ สามารถเลือกจับจ่ายสินค้าได้ง่ายขึ้นและมั่นใจแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตในประเทศ เพราะสามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคที่เคร่งครัดในการบริโภคอาหารเจ เช่น จีน เวียดนาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย รวมถึงประเทศที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ในทวีปยุโรปและอเมริกา โดยพรรคมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารพุทธโลก ถือเป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมและสร้างเข้มแข็งให้กับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย”ดร.ณพลเดชกล่าว


ขอบคุณ, http://www.matichon.co.th/news/417693

แชร์