สภาทนายความแจง! ญาติเหยื่อรถตู้25ศพ ขอให้ช่วยคดีแค่ 3 ราย

นายถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ และคณะ แถลงข่าวชี้แจงการให้การช่วยเหลือผู้เสียหายคดี รถตู้โดยสารกรุงเทพฯ - จันทบุรี เฉี่ยวชนกับรถกระบะเมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา ใน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โดยภายหลังเกิดเหตุจนถึงวันนี้ได้มีการ http://winne.ws/n12167

411 ผู้เข้าชม
สภาทนายความแจง! ญาติเหยื่อรถตู้25ศพ ขอให้ช่วยคดีแค่ 3 ราย

สภาทนายความ เผย เหยื่อรถตู้ แจ้งความจำนงขอให้สภาทนายความช่วยด้านคดี 3 ราย ขณะคดีแพ่งญาติผู้เสียชีวิตฟ้องร้องกับคนขับและผู้ประกอบการ

      นายถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ และคณะ แถลงข่าวชี้แจงการให้การช่วยเหลือผู้เสียหายคดี รถตู้โดยสารกรุงเทพฯ - จันทบุรี เฉี่ยวชนกับรถกระบะเมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา ใน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โดยภายหลังเกิดเหตุจนถึงวันนี้ได้มีการประสานงานในเบื้องต้นกับญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง 25 คน และผู้บาดเจ็บอีก 2 คน ให้เข้ามาร้องขอให้สภาทนายความให้ความช่วยเหลือในด้านคดีฟ้องร้องทางแพ่งและอาญา โดยมีผู้แจ้งความจำนงจะเข้ามาขอความช่วยเหลือ 3 ราย 

        โดยเป็นผู้เสียหายในตระกูลเจือจาง ซึ่งสภาทนายความพร้อมให้ความช่วยเหลือในด้านคดี โดยในช่วงแรกจะต้องให้ผู้ร้องและญาติมายื่นร้องขอกับสภาทนายความ พร้อมยื่นรายละเอียดเกี่ยวกับคดีและความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น จากนั้นคณะกรรมการของสภาทนายความ และทนายอาสา จะสอบถามถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจะมีการพิจารณาว่าจะให้การช่วยเหลือในด้านคดีอย่างไร

         สำหรับในคดีนี้ถือว่ามีความเสียหายอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งแก่ ผู้เสียชีวิต และญาติ คือ นายสุมนต์ เอี่ยมสมบัติ คนขับรถตู้ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว, เจ้าของผู้ประกอบการคิวรถตู้พลอยหยก, ห้างหุ้นส่วนจำกัดพลอยหยก, บริษัท ขนส่งจำกัด หรือ บขส. และบริษัทผู้เอาประกัน ทั้งนี้ ต้องรอข้อมูลรายงานจากพนักงานสอบสวนที่ทำคดีเสร็จสิ้นและส่งมาให้สภาทนายความพิจารณา

         ส่วนกรณีที่ คนขับรถตู้เสียชีวิตในขณะเกิดเหตุ จากการพิจารณาข้อกฎหมายพบว่าคดีทางแพ่ง แม้คนขับรถตู้ดังกล่าวจะเสียชีวิต แต่สามารถฟ้องร้องเอาจากทายาทหรือกองมรดกได้ แต่ในคดีอาญา ศาลอาจพิจารณา ให้คดีสิ้นสุดสำหรับคนขับรถตู้รายดังกล่าว

       ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า คนขับรถตู้คันดังกล่าวทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน 31 ชั่วโมง และต้องขับรถไปกลับถึง 5 รอบ เกินขีดจำกัดของร่างกายมนุษย์ และกฎหมายแรงงาน โดยผู้ประกอบการได้ชักจูงใจให้คนขับต้องการรายได้ที่สูงขึ้น ผู้เป็นเจ้าของสัมปทาน (บขส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจะได้ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น เป็นการเอารัดเอาเปรียบด้านแรงงานจากคนขับรถตู้รายดังกล่าวจนพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงพิจารณาว่าอาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน

ที่มา INN News  11ม.ค.2560

แชร์