ปม!! รื้อรั้ววัดพระธรรมกาย คดีนี้วัดมีโอกาสสูงที่จะฟ้องกลับ “ใคร ?จะเป็นผู้รับผิดชอบ"ตอน"วินัยตำรวจ"

การที่ตำรวจเข้ารื้อถอนประตูรั้วของวัดพระธรรมกายไป เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กรรมสิทธิ์ของวัดพระธรรมกายอันเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล และรั้วที่รื้อไปนั้นก็สร้างขึ้นมาถูกต้อง เพราะได้รับยกเว้นระยะร่นจากคลองสาธารณะตามกฎหมาย http://winne.ws/n12204

1.5 พัน ผู้เข้าชม
ปม!! รื้อรั้ววัดพระธรรมกาย คดีนี้วัดมีโอกาสสูงที่จะฟ้องกลับ “ใคร ?จะเป็นผู้รับผิดชอบ"ตอน"วินัยตำรวจ"

วันพุธ ที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

​คงจำกันได้นะครับว่าผมได้เริ่มเขียนความเห็นครั้งแรกด้วยข้อความนี้ จากข่าวใหญ่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ที่เขียนว่า มีนายตำรวจผู้ใหญ่ท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า

        ​“วันนี้เจ้าหน้าที่จะไม่มีการนำกำลังบุกเข้าไปตรวจค้นภายในวัดพระธรรมกายแต่อย่างใด โดยตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุใด ๆ กับประชาชน"

        ​วันนี้ เวลา 17.00 น. ตนจะลงพื้นที่ดูแลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง และมั่นใจว่าสถานการณ์จะไม่บานปลาย เนื่องจากได้กำชับผู้ปฏิบัติให้ใช้ความละมุนละม่อม ทำทุกอย่างตามขั้นตอนกฎหมาย”

​        นี่คือคำให้สัมภาษณ์ของนายตำรวจใหญ่ผู้แม่นในข้อกฎหมายในวันนั้น และเราจบตอนที่ 3 ด้วยความเห็นที่มั่นใจเกือบ 100 % ว่าเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 นั้น พิสูจน์ได้ว่า

         ​การที่ตำรวจเข้ารื้อถอนประตูรั้วของวัดพระธรรมกายไป  เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กรรมสิทธิ์ของวัดพระธรรมกายอันเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล และรั้วที่รื้อไปนั้นก็สร้างขึ้นมาถูกต้อง เพราะได้รับยกเว้นระยะร่นจากคลองสาธารณะตามกฎหมาย

          ​เมื่อเป็นเช่นนี้การบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์โดยการรื้อรั้วไปนั้น  เป็น คดีที่วัดมีโอกาสสูงที่จะฟ้องกลับนี้   “ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ"

​ในวงสนทนามีข่าวจากตำรวจชั้นผู้น้อยมาว่า ตำรวจใหญ่คนที่ที่สั่งการ ฉลาดมาก ใช้วิธีปัดความรับผิดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่หน่วยอื่นทั้งหมด ด้วยวิธีการสั่งงานด้วยปากเปล่า ไม่เคยสั่งการด้วยการทำเป็นหนังสือเพื่อแสดงความรับผิดชอบในคำสั่งของตัวเองเลย​ เข้าทำนอง ได้ฝากเมียเสียฝากลูกน้อง ประมาณนั้น ยากที่จะฟ้องให้ถึงตัวผู้สั่งการได้ ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่า กฎหมายประเทศนี้มีช่องว่างให้กลั่นแกล้งกันโดยไม่ต้องรับผิดด้วยหรือ??

​        กรณีผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของตนหรือไม่นั้น เรื่องนี้ มีเขียนไว้ใน “คู่มือการดำเนินการทางวินัยสำนักงาน ก.พ.” ซึ่งเรียบเรียงโดย พ.ต.อ.ธวัช  ประสพพระ ผกก.กลุ่มงานนิติกรด้านสอบสวนและพิจารณาโทษ กองวินัย เขียนเรื่องวินัยตำรวจไว้อย่างนี้ครับ

ปม!! รื้อรั้ววัดพระธรรมกาย คดีนี้วัดมีโอกาสสูงที่จะฟ้องกลับ “ใคร ?จะเป็นผู้รับผิดชอบ"ตอน"วินัยตำรวจ"แหล่งภาพจาก ninhthuanit.com

​วินัยตำรวจ

       ​มาตรา 78 (2) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะไม่เป็นการรักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่เมื่อทราบโดยแน่ชัดว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ผิดกฎหมาย เมื่อชี้แจงแล้วไม่ต้องทำตาม ถ้ายังทำตาม ผู้ปฏิบัติตามต้องรับผิดชอบด้วย

        ​“คำสั่ง” หมายถึง ข้อความที่บอกให้ทำหรือให้ปฏิบัติ  คำสั่งในทีนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือเสมอไป อาจเป็นคำสั่งด้วยวาจา หรือด้วยวิธีอื่นก็ได้ ​ท่านยกตัวอย่างว่า ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปพบเพื่อปรึกษาข้อราชการ แต่ไม่มาก็เป็นการขัดคำสั่ง เป็นการยืนยันว่าคำสั่งด้วยวาจาก็ถือเป็นคำสั่งที่ต้องปฏิบัติครับ

        จบข่าวนะครับ ที่เคยพลิ้วว่าเป็นเรื่องของ อบต.กับ วัดไม่เกี่ยวกับตำรวจบ้าง, ที่ประชุมสั่งการจนคลิปหลุดมาบ้าง, ที่ลูกน้องคนที่มาติดหมายมากระซิบขอความเห็นใจจากทนายวัดว่านายสั่งมาบ้าง ​แม้เป็นการสั่งการด้วยวาจาเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดของตน ตามภาษาวันรุ่นว่า “ไม่ใจเล้ย” ก็หนีไม่พ้นเพราะวินัยตำรวจกำหนดไว้ครับ หลักนี้ใช้ได้ทุกกรณีที่เราได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่เฉพาะกรณีวัดพระธรรมกายที่เดียว

​เป็นที่มาแห่งการฟ้องฐานเป็นเจ้าพนักงานประพฤติหน้าที่โดยมิชอบ ที่เรียกกันว่ามาตรา 157 ได้อย่างดี นะครับ

ปม!! รื้อรั้ววัดพระธรรมกาย คดีนี้วัดมีโอกาสสูงที่จะฟ้องกลับ “ใคร ?จะเป็นผู้รับผิดชอบ"ตอน"วินัยตำรวจ"

​แต่เมื่อวิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์นักข่าว ที่เป็นคลิปเสียงด้วยข้อความข้างต้นซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้เก็บเป็นหลังฐานไว้เรียบร้อยแล้วนั้น สรุปได้ว่า

       ​1. ท่านเป็นผู้ออกคำสั่งตามข้อความที่ว่า “วันนี้เจ้าหน้าที่จะไม่มีการนำกำลังบุกเข้าไปตรวจค้นภายในวัดพระธรรมกายแต่อย่างใด โดยตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุใด ๆ กับประชาชน”

       ​2. ท่านเป็นผู้ลงมือปฏิบัติงานเอง ตามคำให้สัมภาษณ์ที่ว่า “วันนี้ เวลา 17.00 น. ตนจะลงพื้นที่ดูแลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง และมั่นใจว่าสถานการณ์จะไม่บานปลาย เนื่องจากได้กำชับผู้ปฏิบัติให้ใช้ความละมุนละม่อม ทำทุกอย่างตามขั้นตอนกฎหมาย”

​โดยสรุป นายตำรวจใหญ่นั้นสารภาพด้วยตนเองว่า ตนเองเป็นผู้สั่งการและร่วมลงมือในการปฏิบัติการรื้อถอนประตูรั้ว ของวัดพระธรรมกายด้วยตนเอง ชัดเจนนะครับ

​       ถ้าปฏิเสธก็เปิดคลิปเสียงให้สัมภาษณ์ยืนยันไป จะได้ไม่อ้างว่าเป็นเสียงเลียนแบบของมนุษย์ 100 เสียงอีก ส่วนเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ อีกเกือบ 1,000 คนนั้นก็ ดูรูปถ่ายเป็นหลักฐานใครทำก็ฟ้องคนนั้น แต่ถ้าให้การว่าใครสั่งมาแล้วโต้แย้งแล้วตามระเบียบก็กันเป็นพยานไป รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่เดินนำเข้ามาด้วยนะครับ

ปม!! รื้อรั้ววัดพระธรรมกาย คดีนี้วัดมีโอกาสสูงที่จะฟ้องกลับ “ใคร ?จะเป็นผู้รับผิดชอบ"ตอน"วินัยตำรวจ"

​เมื่อชัดเจนว่าใครบ้างที่ต้องรับผิดก็มาพิจารณาต่อว่าจะฟ้องข้อหาอะไร

       ​มาตรา ๓๖๒ ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อ... หรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๖๕ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๖๒ .....

       ​(๑) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย

       ​(๒) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความเห็นผมน่าจะเป็นการบุกรุกโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ตาม มาตรา  ๓๖๕ (๑) เพราะการยกกำลังมามากมายขนาดนั้นแม้ไม่ได้พูดว่าจะทำอย่างไร แต่ก็เป็นการขู่โดยการกระทำให้เห็นว่าถ้าไม่ยอมก็จะบุกโดยใช้กำลังที่ยกมานั้นเข้าดำเนินการ

       แต่ที่ชัด ๆ คือมาตรา ๓๖๕ (๒) ร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป อันนี้ไม่ต้องอธิบายนะครับ

       ​คงสรุปเรื่องการรื้อประตูรั้ววัดพระธรรมกายด้วยข้อกล่าวหาบุกรุกพื้นที่ทางสาธารณะไว้ให้คิดดูว่า ใครน่าจะมีความผิดเรื่องอะไร   “อะไรถูกอะไรผิด “ ตามประโยคเด็ดของท่านผู้นำไว้เท่านี้ก่อน (อย่าไปอนุโมทนาบาปนะครับ) หากมีใครต้องถูกฟ้องกลับบ้างครับ

​มีข่าวล่าสุดมาว่า หลังจากทีมทนายวัดเริ่มมีการโต้ตอบข้อหาต่างที่ยัดเยียดมา อย่างเข้มข้น คนที่ผมบอกว่า ”ไม่ใจ” นั้น ได้เปลี่ยนคำให้สัมภาษณ์ใหม่ว่า

      “ที่ไปทำการรื้อประตูรั้ววัดพระธรรมกายเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.59 นั้น ไม่ได้ไปตามที่กรมธนารักษ์มาร้องทุกข์กล่าวโทษแต่อย่างใด กลายเป็นว่ารื้อเพราะสร้างรั้วกีดขวางทางจราจร  

        ก็เลยได้ความรู้ใหม่มาอีกว่าการสร้างรั้วแสดงแนวเขตในพื้นที่ของตน เป็นการกีดขวางทางจราจร 

       ผมเคยถามสิบตำรวจเอกงานจราจรท่านหนึ่ง (ไม่ใช่พลตำรวจเอกนะครับ) เขาบอกว่า พ.ร.บ.จราจรนั้นมีไว้ใช้ในที่สาธารณะเท่านั้นไม่เกี่ยวกับในพื้นที่ส่วนบุคคล ไม่งั้น “คนขี่มอเตอร์ไซด์ไม่ใส่หมวกกันน๊อคในบ้านก็คงถูกจับหมด" แล้วครับ 

       ที่สงสัยยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรแล้ว ต้องให้เจ้าหน้าที่ธนารักษ์จังหวัดนำเข้าพื้นที่ทำไม มันเกี่ยวกันตรงไหน ?


ขอบคุณข้อมูลจาก คนสองยุค ท.รักษ์ความยุติธรรม

แชร์