รู้กฎหมายกับคนสองยุค! ​ตอนที่5 วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเองหรือใครบังคับ ?

มาตรา 134 ข้างต้น เพียงท่านเดินเข้าวัดมาเมื่อพบ “ผู้ถูกกล่าวหา” อยู่เบื้องหน้า ท่านก็แจ้งข้อกล่าวหาได้ตามกฎหมายแล้วครับ ทำไมต้องบังคับให้ท่านไปรับทราบข้อกล่าวหานอกวัด ทั้งที่มีหนังสือรับรองแพทย์ว่าป่วย ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกกล่าวหา http://winne.ws/n12272

675 ผู้เข้าชม
รู้กฎหมายกับคนสองยุค! ​ตอนที่5 วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเองหรือใครบังคับ ?แหล่งภาพจาก www.xn--12ca3b9b7agc3cu1ee4b.com

วันเสาร์ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

​วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเองหรือใครบังคับ ?

         ก่อนที่จะวิเคราะห์เรื่อง วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจริงหรือ โดยอาศัยคดีศึกษาต้นแบบจากการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐในยุคปัจจุบันกับวัดพระธรรมกายต่อไป

​          ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามการนำเสนออย่างต่อเนื่องและขอชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความคดีศึกษาครั้งนี้ว่า “ไม่ได้มีเจตนาจะชี้ว่าใครผิดหรือใครถูก” แต่ประการใด เพราะอำนาจดังกล่าวเป็นของศาลยุติธรรมซึ่งพิจารณาตามตัวบทกฎหมายเท่านั้น

          ​การเขียนบทความนี้เขียนจากข้อกฎหมาย,ระเบียบ,ข้อบังคับ,กฎ ต่าง ๆ ที่รัฐประกาศใช้กับประชาชนทั่วไปภายใต้หลักกฎหมายที่ว่า 

          “ความไม่รู้กฎหมายจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้” ของประเทศไทยเป็นหลัก ประกอบข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงกับวัดพระธรรมกาย

          ​ต้องการแสดงให้ผู้มีอำนาจรัฐได้รู้ว่า “คนไทยรักสงบ” ที่อยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายปัจจุบันนี้มีความรู้สึกอย่างไร ต่อผู้บังคับใช้กฎหมายในปัจจุบัน จึงอยากจะขอความร่วมมือจากผู้ที่อ่านบทความเหล่านี้ช่วยเผยแผ่ บทความไปยังคนไทยทั้งประเทศที่คิดว่า “ถ้าไม่ผิด ทำไมไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” และอาจถูกการกระทำเช่นเดียวกับกรณีศึกษานี้ด้วย   ​

          ​การเผยแผ่ความเห็นนี้ไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถส่งให้ทุกคนที่ท่านรู้จักได้เลย ยิ่งเป็นฝ่ายที่กล่าวหาวัด, หรือเจ้าหน้าที่ที่คิดจะดำเนินการทางกฎหมายกับวัดพระธรรมกาย ยิ่งดี  ​เพราะเจตนาของเราคือ พิสูจน์ความจริงให้ปรากฏว่า “ใครผิด ใครถูก” ตามนโยบายของรัฐ  ไม่มุ่งหวังใส่ร้ายใครตามหลักคำสอนของศาสนาพุทธเรื่อง “อนูปวาโท” ครับ

รู้กฎหมายกับคนสองยุค! ​ตอนที่5 วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเองหรือใครบังคับ ?

​# วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจริงหรือ ?

          ​เท่าที่ผมรู้มาและได้รับคำยืนยันจากผู้บริหารวัดและศรัทธาสาธุชนของวัดพระธรรมกายทุกคนว่า “ทุกท่าน ต้องการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ที่ได้รับการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาอย่างเสมอภาคตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 100 % “  ครับ

          ​แต่เมื่อดูพฤติกรรมอันเป็นเครื่องชี้เจตนาของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติในเวลานี้แล้ว เห็นควรใช้หลักปฏิบัติตามแนวคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ว่า “ไม่สู้ไม่หนี ทำดีเรื่อยไป” เพื่อพิสูจน์ข้อแท้จริงให้ประจักษ์ และผู้ใช้อำนาจรัฐปฏิบัติตามกฎหมายที่ตนกำหนดไว้ โดยเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

          ก่อน เมื่อผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้รักษากฎหมาย ยินดีที่จะปฏิบัติตามกฎหมายที่ท่านกำหนดไว้ วัดพระธรรมกายก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการ ไม่ต้องมีข้อถกเถียงกันต่อไป เป็นหลัก “ธรรมาภิบาลในการปกครองประเทศ” นะครับ

สิ่งที่ได้ทราบว่าทำไมวัดพระธรรมกายกระทำในสิ่งที่ถูกกล่าวหาว่า ไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมีดังนี้ครับ

          ​1. การเริ่มต้นการกล่าวหาด้วยคดีอาญาคือรับของโจร เป็นสิ่งที่โต้แย้งกันว่าคดีนี้อัยการสั่งไม่ฟ้องไปแล้วทำไม ดีเอสไอ. จึงกลับมาฟ้องอีก   ดีเอสไอ.ต้องชี้แจงให้ได้ ถ้าเป็นเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายวัดพระธรรมกายก็ยินดีรับทราบข้อกล่าวหา

         ​2. ผมขอเสริมข้อเขียนขอท่านผู้รู้ที่ว่าการแจ้งข้อหาไม่จำเป็นจะต้องแจ้งที่โรงพัก  เพราะการแจ้งข้อกล่าวหา  กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 134 กำหนดว่า.... หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ​เมื่อ ดีเอสไอ.ได้รับหนังสือรับรองแพทย์แล้วว่า ผู้ถูกกล่าวหา ไม่สะดวกทีจะเดินทางไกล ๆ  เพราะป่วย ทำไม ดีเอสไอ. ไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 134 ข้างต้น เพียงท่านเดินเข้าวัดมาเมื่อพบ “ผู้ถูกกล่าวหา” อยู่เบื้องหน้า ท่านก็แจ้งข้อกล่าวหาได้ตามกฎหมายแล้วครับ   ทำไมต้องบังคับให้ท่านไปรับทราบข้อกล่าวหานอกวัด ทั้งที่มีหนังสือรับรองแพทย์ว่าป่วย ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกกล่าวหา

​          3. ดีเอสไอ.ไม่ยอมเข้าแจ้งข้อกล่าวหาทั้งที่ไม่มีใครขัดขวาง   แล้วไปอ้างต่อศาลว่าผู้ถูกกล่าวหา ขัดหมายเรียก เพื่อออกหมายจับและหมายค้น ล้วนเป็นกระบวนการที่ ดีเอสไอ.สร้างขึ้น  เพื่อให้รูปคดีเดินไปสู่เป้าหมายที่แท้จริง ซึ่งเป็นวิธีการถนัดของผู้มีอำนาจหลาย ๆ คนชอบทำกัน

          ​4. เมื่อทางวัดประกาศว่า “ผู้ถูกกล่าวหา”จะเข้ามอบตัวสู้คดี  ทำไม ดีเอสไอ.ต้องประกาศว่า  ”หาก  ผู้ถูกกล่าวหา มามอบตัวแล้วจะไม่ให้ประกันตัว” ​ทั้งที่แม้แต่คดีร้ายแรงเช่น  คดีกบฏ,คดีฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต เมื่อผู้ต้องหามอบตัวยังได้รับการประกันตัวเดินกันให้เต็มถนนอยู่ในปัจจุบัน  

รู้กฎหมายกับคนสองยุค! ​ตอนที่5 วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเองหรือใครบังคับ ?แหล่งภาพจาก www.youtube.com

​         กรณีนี้ส่วนตัวผมเห็นว่า  ดีเอสไอ.หลงกลคือ ตกใจกลัวว่า  หาก “ผู้ถูกกล่าวหา” เข้ามอบตัวจริง   ต้องพิจารณาเรื่องประกันตัว  เลยเผลอเปิดให้เห็นเป้าหมายของการแจ้งข้อหาต่อ ผู้ถูกกล่าวหา   ที่แท้จริงว่า มุ่งหวังจับผู้ถูกกล่าวหา ทำการสละสมณเพศเท่านั้น เพราะพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505  มาตรา ๒๙ ระบุว่า “พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา

         ​#เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม

         ​# หรือพนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม

          ​# หรือพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง

          #ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้

          ​​# สรุปกฎหมายในมาตรานี้ คือ “พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ให้ประกันตัว

          ​#ให้เจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดรับมอบตัวไว้ควบคุม ในระหว่างดำเนินคดีเพื่อไม่ต้องสละสมณเพศ”  เว้นแต่

          ​1. เจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัด “ไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม”

          ​2. เจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัด “ยินดีรับมอบตัวไว้ควบคุม “ แต่พนักงานสอบสวน(ในกรณีนี้คือ ดีเอสไอ.)ไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ อ่านแล้วไม่ต้องสงสัยครับว่า ที่ ดีเอสไอ.แกล้งสร้างเหตุมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งออกหมายจับและหมายค้น  เพราะถ้าจับตัว “ผู้ถูกกล่าวหา” ได้เมื่อไหร่ ดีเอสไอ.จัดให้สึกได้ทันที ​#แม้ว่าเจ้าอาวาสจะรับพระรูปนั้นไว้ควบคุมเพื่อไม่ต้องสละสมณเพศแต่ ดีเอสไอ.ไม่เห็นด้วย  ​ส่วนคดีรับของโจรและฟอกเงินที่กล่าวหานั้น  นักกฎหมายทุกท่านพิจารณาจากปฏิกิริยาของอัยการแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีน้ำหนัก ใช้เป็นเพียงข้ออ้างในการออกหมายจับเท่านั้น  

​# เพราะถ้ามีน้ำหนักจริง อัยการควรสั่งฟ้องไปนานแล้วครับ

​# หลักการพิจารณาไม่ให้ประกันตัวต้องมีเหตุตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ที่กำหนดว่า  การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

           (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี

​# การประกาศไม่ให้ประกันตัว “ผู้ถูกกล่าวหา” ทั้งๆที่จะเข้ามอบตัว  จึงเป็นการบังคับไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  ของ  ดีเอสไอ.นั่นเอง

​ข้อสังเกต การที่ ดีเอสไอ.ประกาศว่าไม่ให้ประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา เป็นความผิดฐานใดหรือไม่?

รู้กฎหมายกับคนสองยุค! ​ตอนที่5 วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเองหรือใครบังคับ ?แหล่งภาพจาก Sites - Google

กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2557) เขียนดังนี้

           ​มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้

          ขอให้ทุกท่านช่วยพิจารณาว่า ในกรณีวัดพระธรรมกายนี้   วัดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามที่เขียนกันขึ้นมาเองในมาตรา 4 หรือไม่ ​กรณีนี้ผมให้ความเห็นว่า ดีเอสไอ.มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ผู้ใด(ดีเอสไอ.) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ) เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด (ผู้ถูกกล่าวหา) ...โดยทุจริต (สร้างข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ

​         และสมมุติว่าเรามีญาติพี่น้องที่บังเอิญกระทำความผิดโดยไม่รู้และต้องการเข้ามอบตัวสู้คดี   แต่เจ้าหน้าที่บอกก่อนเลยว่ามอบตัวก็ไม่ให้ประกันเหมือนคนทั่วไปท่านจะคิดยังไง ขอให้ได้พิจารณาและนำเสนอต่อประชาชนไทยโดยทั่วไปให้รับรู้โดยทั่วกันด้วยครับ

​บทสรุปของข้อความในตอนนี้มีอยู่ว่า

​“วัดพระธรรมกายไม่ได้ปฏิเสธที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามที่กล่าวหาดีเอสไอ.ต่างหากที่ใช้อำนาจบังคับไม่ให้วัดพระธรรมกายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม"

ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่ครับ


cr.ท.รักความยุติธรรม คนสองยุค 

วัดพระธรรมกายได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2522

รู้กฎหมายกับคนสองยุค! ​ตอนที่5 วัดพระธรรมกายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเองหรือใครบังคับ ?
แชร์