ข่าวดี! อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทันตแพทย์อาจไม่ต้องใช้วิธีอุดฟันเพื่อรักษาฟันผุกันอีกต่อไป

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทันตแพทย์อาจไม่ต้องใช้วิธีอุดฟันเพื่อรักษาฟันผุกันอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยจากคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน พบวิธีการรักษาฟันผุแบบใหม่ โดยใช้ยากระตุ้นให้เนื้อฟันเกิดการเติบโตจนมาอุดรูที่ผุนั้นได้เอง http://winne.ws/n12341

1.9 พัน ผู้เข้าชม
ข่าวดี! อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทันตแพทย์อาจไม่ต้องใช้วิธีอุดฟันเพื่อรักษาฟันผุกันอีกต่อไป

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทันตแพทย์อาจไม่ต้องใช้วิธีอุดฟันเพื่อรักษาฟันผุกันอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยจากคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน พบวิธีการรักษาฟันผุแบบใหม่ โดยใช้ยากระตุ้นให้เนื้อฟันเกิดการเติบโตจนมาอุดรูที่ผุนั้นได้เอง

มีการเผยแพร่วิธีการดังกล่าวในวารสาร Science Reports โดยการรักษาฟันผุแบบนี้เป็นแนวทางของเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Regenerative medicine) ที่มุ่งเน้นการสร้างเซลล์ใหม่มาซ่อมแซมส่วนที่ได้รับความเสียหายจากโรคต่าง ๆ โดยจะมีการใช้ฟองน้ำขนาดเล็กที่ย่อยสลายได้ ชุบยา Tideglusib ซึ่งกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์สร้างเนื้อฟันเพิ่ม แล้วใส่เข้าไปในโพรงฟันที่ผุ ซึ่งผลการทดลองในหนูพบว่าสามารถซ่อมแซมรูฟันผุที่มีขนาด 0.13 มิลลิเมตรได้

ข่าวดี! อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทันตแพทย์อาจไม่ต้องใช้วิธีอุดฟันเพื่อรักษาฟันผุกันอีกต่อไป

โดยปกติแล้ว ฟันนั้นเป็นอวัยวะที่ซ่อมแซมตัวเองได้น้อย หากเกิดฟันผุขึ้นแล้ว ฟันจะสามารถงอกชั้นเนื้อฟันบาง ๆ ออกมาใต้เคลือบฟันได้นิดหน่อยเท่านั้น ทำให้ทันตแพทย์ต้องรักษาฟันผุด้วยการอุดฟัน โดยใช้วัสดุอมัลกัมสีเงินหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ผสมกับแก้วหรือเซรามิก แต่ก็ไม่คงทนถาวรและในชั่วชีวิตหนึ่งอาจต้องเปลี่ยนหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นให้เนื้อฟันงอกออกมาซ่อมแซมตัวเองโดยได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ จากยาที่ใช้กระตุ้นด้วยนั้น ทำให้ฟันแข็งแรงยิ่งกว่าเดิมและรักษาฟันผุได้อย่างถาวร

ข่าวดี! อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทันตแพทย์อาจไม่ต้องใช้วิธีอุดฟันเพื่อรักษาฟันผุกันอีกต่อไป

ศาสตราจารย์พอล ชาร์ป หนึ่งในคณะผู้วิจัยบอกว่า กำลังเร่งพัฒนาให้วิธีการนี้สามารถรักษารูฟันผุที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเริ่มมีการทดลองในมนุษย์แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานอีกเพียง 3-5 ปีก็จะสามารถนำมาใช้กับคนไข้ทั่วไปได้

ส่วนข้อกังวลที่ว่า การใช้ยากระตุ้นให้ร่างกายมีการแบ่งตัวสร้างเซลล์ใหม่จำนวนมากเพื่อมาซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ อาจเป็นที่มาของโรคมะเร็งได้นั้น ศาสตราจารย์ชาร์ประบุว่า ได้มีการทดสอบใช้ยาในระดับความเข้มข้นสูงเพื่อป้องกันความเสี่ยงในส่วนนี้แล้ว ซึ่งหวังว่าจะรับประกันความปลอดภัยได้ส่วนหนึ่ง


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

http://www.bbc.com/thai/international-38586585?ocid=socialflow_facebook

www.google.co.th

แชร์