สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน

ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่พี่แฮนด์คิดว่าน้อยคนนักที่จะรู้ถึงวิธีการหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ครบถ้วน อย่างเช่นการสร้างโบสถ์ กล่าว กันว่าการสร้างโบสถ์นั้นจะต้องพิถีพิถันเลือกพื้นที่เป็นพิเศษ http://winne.ws/n12352

2.5 หมื่น ผู้เข้าชม
สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนแหล่งภาพจาก www.gerryganttphotography.com

         ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่พี่แฮนด์คิดว่าน้อยคนนักที่จะรู้ถึงวิธีการหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ครบถ้วน อย่างเช่นการสร้างโบสถ์ กล่าว กันว่าการสร้างโบสถ์นั้นจะต้องพิถีพิถันเลือกพื้นที่เป็นพิเศษ พื้นที่นั้นจะต้องบริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทินทั้งปวง อันที่จริงนั้นการก่อสร้างใด ๆ ก็ตามในพระพุทธศาสนา มักจะมีการเลือกพื้นที่ที่สะอาดบริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น

        แม้ แต่องค์พระเจดีย์เองก็ปรากฏกล่าวถึงในตำนานโบราณเสมอว่า ในการเลือกที่สร้างนั้นต้องพิจารณาแม้เนื้อดิน ตลอดจนกลิ่นและสีของดินด้วยซ้ำไป เช่น ที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ถูปวงศ์ ตำนานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น

        ที่กล่าวมานี้เป็น การเลือกชนิดดินในทางด้านวัตถุเท่านั้น ดังได้กล่าวมาแล้ว สำหรับการสร้างโบสถ์นั้นต้องพิจารณาถึง ความบริสุทธิ์ของพื้นดินให้ลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้น สถานที่ที่จะสร้างโบสถ์จะต้องมีความบริสุทธิ์ในการใช้สอยก่อนหน้านี้มาด้วยเช่น

-ไม่เคยเป็นสุสานหรือเคยเป็นเชิงตะกอนมาก่อน

-ไม่เคยเป็นที่ประหาร

-หรือไม่เคยเป็นที่ใดๆ ที่มีการใช้งานที่เป็นอัปมงคลมาก่อน

        โบสถ์ ที่สร้างในน้ำในกรณีที่ต้องการความ บริสุทธิ์ของพื้นที่ปลูกสร้างเป็นพิเศษ ตัวโบสถ์จะต้องอยู่ห่างจากฝั่ง ชั่วระยะวักน้ำสาดไม่ถึง และเมื่อพระภิกษุ ข้ามจากฝั่งมายังโบสถ์แล้ว จะต้องชักสะพานออกไม่ให้มีสิ่งเชื่อมต่อระหว่าง ฝั่งกับตัวโบสถ์และในการสร้างโบสถ์ใหม่ทุกครั้ง พระสงฆ์จะต้องประกอบพิธีถอนความไม่บริสุทธ์ิใดๆ ที่อาจมีในพื้นที่นั้นเสียก่อน

       ในการสวดถอนของคณะสงฆ์นั้น พระภิกษุจะห่างกันในระยะหัตถบาสจนเต็มพื้นที่ที่จะต้องการสวดถอน ถ้าไม่อาจหาพื้นดินบริสุทธิ์ได้ก็จะกระทำสังฆกรรมกันกลางน้ำ โดยชักสะพานหรือสิ่งที่ทอดข้ามติดต่อระหว่างโบสถ์น้ำหรืออุทกเขปกับฝั่งออก เพื่อตัดความเชื่อมโยงระหว่างพื้นดินที่ไม่บริสุทธิ์กับแพ หรือเรือที่ใช้ทำสังฆกรรม ในกรณีที่ใช้โบสถ์เก่าก็มักจะทำให้บริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ ด้วยการสวดและผูกสีมาทับซ้อนของเดิม ดังนั้นเราจึงเห็นวัดโบราณบางวัด มีหลักสีมาสองหรือสามหลัก

ลูกนิมิต

สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนแหล่งภาพจาก เว็บไซต์พุทธะ

ใบสีมาและ ลูกนิมิต

         เมื่อ การสร้างโบสถ์ขึ้นเป็นอาคารสำเร็จเรียบร้อยแล้ว สงฆ์ยังจะต้องทำพิธีผูกพัทธสีมา คือตั้ง “ใบสีมา” เป็นเครื่องหมายเขตบริสุทธิ์ล้อมรอบอาคารที่เป็นตัวโบสถ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีผูกพัทธสีมาแล้วจึงถือว่าใช้โบสถ์นั้นทำสังฆกรรมได้ วัตถุที่ใช้กำหนดเขตสีมานั้นเรียกว่า “นิมิต” ซึ่งเป็นวัตถุที่นำมาวางเป็นเครื่องหมายให้คนเห็นเป็นหลักฐาน เช่นเดียวกับการกำหนดหมุดโฉนดที่ดินในปัจจุบัน ในอดีตนั้นเมื่อพระสงฆ์ประกาศเขตอุโบสถและ ไม่มีผู้ค้านกรรมสิทธิ์แล้วจึงฝังลูกนิมิตเป็นที่หมาย และนิมิตนั้นต้องไม่เป็นสิ่งที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ปัจจุบันนี้จึงนิยมฝังลูกหินกลมลงในดิน ตรงที่ที่ต้องการกำหนดเขต

        ใบ สีมา ก็คือเครื่องหมายแสดงให้รู้ว่าใต้ดินตรงนั้นมีลูกนิมิตฝังอยู่ในพุทธบัญญัติ เดิมได้กำหนดไว้ว่านิมิตอาจใช้แสดงได้ด้วยวัตถุ ๘ ชนิด คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ หรือแอ่งน้ำ

         แต่ในปัจจุบัน นี้ไม่มีความสะดวกที่จะใช้สิ่งเหล่านี้ กำหนดเขตสิ่งปลูกสร้าง เพราะที่ดินสำหรับสร้างวัดมีขนาดเล็ก ต้องการกำหนดจุดที่แน่นอนเพื่อป้องกันกรณีพิพาท จากเจ้าของที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ในสมัยพุทธกาลนั้นอาจกำหนดจากสิ่งที่ระบุไว้ในพุทธบัญญัติได้เพราะ ที่ดินส่วนใหญ่ยังว่างเปล่าปราศจากเจ้าของครอบครอง การกำหนดเขตอารามก็ชี้เอาสิ่งที่มีขนาดใหญ่เป็นที่หมายได้สะดวก

         สำหรับ การใช้ใบเสมา ๒ ใบซ้อน ปักเป็นอาณาเขตกระทำสังฆกรรม รอบโบสถ์นั้น มีทางสันนิษฐานว่าโบสถ์เดิมเป็นโบสถ์ ที่ใช้ในการทำสังฆกรรมของนิกายหนึ่ง ต่อมาเมื่อสงฆ์ในวัดนั้นเปลี่ยนเป็นนิกายอื่น จึงได้มีการผูกใบเสมาขึ้นใหม่ซ้อน กับเสมาเดิม หรือในอีกกรณีหนึ่ง วัดเดิมซึ่งเป็นวัดที่ราษฎรสร้างขึ้น ได้รับการอุปถัมภ์เป็นวัดหลวง จึงมีการผูกเสมาหลวงขึ้นใหม่ซ้อน กับเสมาเดิม

          ถือกันว่าเขตสีมา นี้เป็นเขตที่สำคัญสุดของวัด เพราะในการกระทำสังฆกรรมในบางกรณี คณะภิกษุหรือสงฆ์ผู้ประกอบพิธีเท่านั้นจึงจะเข้าไปในเขตสีมาได้ ผู้อื่นจะย่างกรายล้ำเข้าไปไม่ได้เลย หากมีผู้ละเมิดแล้ว สังฆกรรมนั้นจะไม่สมบูรณ์ จะต้องทำใหม่

          ดังนั้นบางวัดที่เข้มงวด ในเรื่องนี้จึงนิยมผูกสีมา ไว้ชิดกับตัวโบสถ์ที่ริมผนังด้านนอกเสียทีเดียว เพื่อขจัดปัญหา แต่ก็มีบางวัดที่ทำสีมาติดกับกำแพงรอบนอก ล้อมเอาพุทธาวาสเป็นเขตสีมาไว้ทั้งหมด ดังเช่นวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ในกรุงเทพมหานคร สีมาที่กำหนดเขตไว้กว้างเช่นนี้นิยมเรียกกันว่า “มหาสีมา” 

สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนแหล่งภาพจาก th.wikipedia.org

         ดังนั้นเมื่อจะกระทำสังฆกรรมกันครั้งใด ก็มักจะปิดประตูเขตพุทธาวาสไว้ทั้งหมดจนกว่าจะเสร็จพิธีสังฆกรรม เขตสีมานั้นกำหนดแนวจากหลักสีมาที่ตั้งไว้ล้อมรอบตัวอาคารที่เป็นโบสถ์ เพราะโดยทั่วไปโบสถ์มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นหลักสีมาจึงจำเป็นจะต้องมีอย่างน้อย ๔ หลัก เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ครบถ้วน แต่ถ้าเป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ ก็อาจกำหนดให้มีได้มากกว่า ๔ หลักได้ เช่นอาจมีได้ถึง ๘ หรือ ๑๐ หลักเพื่อให้กำหนดแนวเขตได้ชัด โดยเฉพาะหลักสีมาที่อยู่กลางด้านหน้าของโบสถ์นั้นถือว่า เป็นสีมาสำคัญ นิยมเรียกกันว่า “สีมาชัย” (เสมานี้จะได้รับการบูชาจากผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบททุกครั้ง)

          ในบางกรณีนั้น อาจกำหนดหลุมนิมิตเพิ่มขึ้นอีกหลุมหนึ่ง ภายในโบสถ์ที่หน้าพระประธานตรงจุดที่พระพุทธปฏิมาทอดพระเนตรลงสู่พื้นโบสถ์ โบสถ์ก็เช่นเดียวกับวิหาร ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมซึ่งแตกต่างกันไป ตามภูมิภาคและประเทศ

          การสร้างโบสถ์บางแบบในอดีตมีลักษณะปิดทึบ ไม่มีช่องลมและหน้าต่าง มีแต่ประตูเข้าออกเพียงด้านหน้าด้านเดียว โบสถ์แบบนี้เป็นแบบที่อับทึบไม่ถูกสุขลักษณะก็จริง แต่ก็เป็นที่นิยมสร้างกันสำหรับวัดที่มีประวัติขลังทางอาคม ส่วนมากโบสถ์ที่มีลักษณะเช่นนี้มักจะเป็นโบสถ์ของวัดฝ่ายอรัญวาสี โบสถ์ชนิดนี้เรียกว่า “โบสถ์มหาอุตม์” มีวิธีการสร้างโบสถ์ในลักษณะเช่นนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเล็ดลอดเข้าไปในระหว่างกระทำพิธีกรรมได้ และเพื่อช่วยให้พระภิกษุที่ประกอบพิธีมีสมาธิแน่วแน่ เพราะตัวโบสถ์จะป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี

         โบสถ์ก็เช่น เดียวกับวิหาร มักนิยมสร้างกำแพงแก้วล้อมรอบนอกสีมา การทำกำแพงแก้วนั้นเข้าใจว่าทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับเกียรติของอาคาร ในคติเดียวกับการทำกำแพงแก้วล้อมรอบวิหารซึ่งสันนิษฐานว่า มีที่มาจากสุขาวดีสูตรของมหายาน 

สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อานิสงส์ของการทำบุญสร้างโบสถ์

โบสถ์มีความสำคัญ และจำเป็นสำหรับ ๒ งานใหญ่ของสงฆ์ คือ

         ๑. เป็นที่ทำสังฆกรรมหรือพิธีของสงฆ์ หรือพูดย่อๆ คือโบสถ์เป็นเหมือนจำลองเอาอายตนนิพพานมาไว้บนพื้นมนุษย์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรมกัน ด้วยความรู้สึกเหมือนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นพระภิกษุทุกรูปต่างต้องชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าโบสถ์ เพื่อทำสังฆกรรม เพราะฉะนั้นผู้สร้างโบสถ์จึงได้รับบุญงบแรกนี้ นับเป็นบุญใหญ่ทีเดียว

         ๒. โบสถ์ใช้เป็นที่สำหรับบวชพระ ในพระวินัย กำหนดว่าพระต้องบวชในโบสถ์ บวชนอกโบสถ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นโบสถ์จึงเหมือนกับเป็นที่ยกระดับจิตใจของคน คือยกระดับจากคนธรรมดาให้เป็นพระ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ผู้สร้างโบสถ์ถวายไว้ในพระศาสนา จึงได้บุญนี้อีกงบหนึ่ง

         บุญ ๒ งบนี้มีอานิสงส์ว่าเกิดไปกี่ภพกี่ชาติจะมีบุญติดตัวไป ว่าจะทำความดีเมื่อไหร่ หรือจะกลั่นกาย วาจา ใจ ให้ใสหมดกิเลสเมื่อไหร่ก็สามารถทำได้ง่ายกว่าคนอื่น

พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

อ้างอิง https://blog.eduzones.com/rangsit/103132 ที่มา http://www.dhammajak.net/

อุโบสถวัดพระธรรมกาย

สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อุโบสถวัดพระธรรมกาย

สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อุโบสถวัดพระธรรมกาย

สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน
สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน

เชิญร่วมสร้างวิหารพระไตรปิฎกรอบอุโบสถวัดพระธรรมกาย

สร้างโบสถ์บุญเยอะมากจริงหรือ? มาดูขั้นตอนการสร้างอุโบสถและอานิสงส์การสร้าง ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน
แชร์