เราต้อง "ตายเกิด ๆ" อีกยาวนานเท่าใด ? ทำไม ? ถึงต้องตาย-ต้องเกิด...กฎแห่งกรรม คืออะไร ?

ถามหาพ่อของพ่อ:เปรียบเสมือนบุรุษคนหนึ่งปั้นดินทั้งแผ่นดินเป็นก้อนเล็ก ๆ เท่าเม็ดกระเบาจนหมด แล้วนับดินก้อนที่หนึ่งแทนบิดา นับดินก้อนต่อ ๆ มาแทนบิดาของบิดา ไปเรื่อย ๆ จนดินหมดก็ยังไม่สามารถนับบิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นได้หมดสิ้น http://winne.ws/n12398

2.7 พัน ผู้เข้าชม
เราต้อง "ตายเกิด ๆ" อีกยาวนานเท่าใด ? ทำไม ? ถึงต้องตาย-ต้องเกิด...กฎแห่งกรรม คืออะไร ?ขอบคุณภาพจาก หนังสือธรรมะ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาเปรียบเทียบความยาวนานของการเวียนเกิดเวียนตายกับเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราประสบไว้ใน อนมตัคคสังยุต ดังนี้

          1. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุรุษตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ มารวมกันแล้วทำให้เป็นมัด ๆ ละ 4 นิ้ว โดยสมมติว่า มัดนี้เป็นมารดาของเรา มัดนี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับนับจนหมด แต่ก็ไม่สามารถนับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นได้หมดสิ้น

          2. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุรุษคนหนึ่งปั้นดินทั้งแผ่นดินเป็นก้อนเล็ก ๆ เท่าเม็ดกระเบาจนหมด แล้วนับดินก้อนที่หนึ่งแทนบิดา นับดินก้อนต่อ ๆ มาแทนบิดาของบิดา ไปเรื่อย ๆ จนดินหมดก็ยังไม่สามารถนับบิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นได้หมดสิ้น

          3. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนน้ำตาที่หลั่งออกเพราะร้องไห้เสียใจกับการสูญเสียมารดา บิดา พี่น้อง ญาติมิตร บุตรธิดา ความเสื่อมโภคสมบัติ เจ็บปวดเพราะโรคภัย นั้นมีจำนวนมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4

          4. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนน้ำนมของมารดาที่ดื่มมาแล้ว ยังมีมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4

          5. ทรงอุปมาว่า ภูเขาหินแท่งทึบที่มีความกว้าง ยาว สูง อย่างละ 1 โยชน์ ทุก ๆ 100 ปี มีบุรุษนำผ้าบางเบามาลูบจนภูเขาสึกราบเรียบ ความพยายามนี้ยังเร็วกว่าซึ่งความยาวของกัปหนึ่ง

          6. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนเมืองที่ล้อมด้วยกำแพงเหล็กมีขนาด กว้าง ยาว สูง อย่างละ 1 โยชน์ บรรจุเต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด ทุก ๆ 100 ปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดพันธุ์ผักกาดออกจากเมือง 1 เมล็ดจนหมด เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่าความยาวนานของกัปหนึ่ง

          7. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนพระสาวก 4 รูป แต่ละรูปมีอายุยืนครบ 100 ปี สามารถระลึกชาติได้วันละแสนกัป แม้ระลึกชาติทุกวันจนครบอายุ 100 ปี ก็ยังระลึกชาติได้ไม่หมดสิ้น

          8. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนเม็ดทรายที่มีในแม่น้ำคงคาตั้งแต่ต้นสายจนสุดที่ปากอ่าวลงมหาสมุทร แต่กัปที่ผ่านมาแล้วนั้นมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายที่มีอยู่ในแม่น้ำคงคา

          9. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุคคลโยนท่อนไม้ขึ้นบนอากาศ บางครั้งโคนตกลงถึงพื้นก่อน บางครั้งปลายตกลงถึงพื้นก่อน และบางครั้งตกลงทางขวาง ฉันใด ชีวิตของสัตว์ที่เวียนตายเวียนเกิดก็ไม่แน่นอน ฉันนั้น บางชาติเกิดเป็นมนุษย์ บางชาติเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

เราต้อง "ตายเกิด ๆ" อีกยาวนานเท่าใด ? ทำไม ? ถึงต้องตาย-ต้องเกิด...กฎแห่งกรรม คืออะไร ?ขอบคุณภาพจาก Topicstock - Pantip

          10. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุคคลเวียนตายเวียนเกิดตลอด 1 กัป เมื่อนำโครงกระดูกมากองรวมกัน กองกระดูกนั้นใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ก็ไม่พึงหมดไป

          11. ทรงอุปมาว่า เปรียบเหมือนโลหิตของบุคคลที่ไหลออกจากการถูกตัดศีรษะขณะที่เกิดเป็นมนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง ยังมีจำนวนมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4

          12. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นมารดา มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นมารดา

          13. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นบิดา กล่าวคือ เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นบิดา

          14. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นพี่ชายน้องชาย มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นพี่ชายน้องชาย

         15. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นพี่สาวน้องสาว มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นพี่สาวน้องสาว

          16. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นลูกชาย มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นลูกชาย

          17. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นลูกสาว มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นลูกสาว

ดังที่พระพุทธองค์ตรัสอุปมายกตัวอย่างมากมาย จากการศึกษาพบว่า กระบวนการหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสังสารวัฏนั้น คือ

เราต้อง "ตายเกิด ๆ" อีกยาวนานเท่าใด ? ทำไม ? ถึงต้องตาย-ต้องเกิด...กฎแห่งกรรม คืออะไร ?ขอบคุณภาพจาก รักสุขภาพ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า 

        ธรรมชาติของสรรพสัตว์เมื่อเกิดแล้วก็ต้องตาย หนีไม่พ้น ซึ่งก็วนเวียนสู่การเกิดการตายกันมาแล้วอย่างมากมาย ไม่ใช่เกิดตายเพียงครั้งเดียวแต่นับไม่ถ้วน เพราะแม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ผู้ทรงฤทธิ์เดช เหาะเหิน เดินอากาศ สามารถขจัดกิเลสอาสวะได้ ก็ยังต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่นาน กว่าจะพ้นจากชีวิตในสังสารวัฏ แม้ภพชาติสุดท้ายของท่านเหล่านี้ก็ยังจะต้องเผชิญกับกฎแห่งกรรม 

 กฎแห่งกรรม คือ 

        กฎแห่งการกระทำและการให้ผลของกรรม กรรมคือการกระทำที่ประกอบด้วยความจงใจ หรือเจตนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กรรมดี กรรมที่ทำแล้วนำสุขมาให้ และกรรมชั่ว กรรมที่ทำแล้วนำทุกข์มาให้ ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลรองรับกันอย่างนี้จึงเรียกว่า กฎแห่งกรรม ทำให้เสพคุ้นยึดถือยึดติดเป็นอาสวะหรือตะกอนที่นอนเนื่องอยู่ในกมลสันดาน เปรียบเหมือนการสร้างเรือนต่อเติมตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยจนเรือนนั้นเต็มไปด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อนมากมาย ฉันใด ผู้ที่ประกอบกรรมดีชั่วไว้มากเท่าไร ผลกรรมก็มากตามไปด้วย ฉันนั้น    

กิเลส แปลว่า 

       ความเศร้าหมอง หมายถึง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ เมื่อถูกกิเลสครอบงำทำให้สัตว์นั้นไม่เป็นตัวของตัวเองตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลสควบคุมบังคับสัตว์ให้ไปสร้างไปทำสิ่งต่างๆ ได้แก่ กิเลสกาม หมายถึง ความชั่วที่แฝงอยู่ในใจผลักดันให้ทำสิ่งที่ผิดเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ปรารถนา และวัตถุกาม หมายถึง วัตถุอันน่าใคร่น่าปรารถนามี 5 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

สังสารวัฏ วงจรของผู้ที่ยังมีกิเลส

เราต้อง "ตายเกิด ๆ" อีกยาวนานเท่าใด ? ทำไม ? ถึงต้องตาย-ต้องเกิด...กฎแห่งกรรม คืออะไร ?ขอบคุณภาพจาก xn--m3cif1apm3a5c5h6ab0d.dmc.tv

กรรม แปลว่า

         การกระทำ หมายถึง การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทั้งดีและชั่ว

วิบาก แปลว่า 

         ผลที่เกิดขึ้น หมายถึง ผลแห่งกรรม 

         สังสารคือ การเวียนเกิดเวียนตายและผู้ที่สามารถคอยควบคุมบังคับบัญชาให้สรรพสัตว์เวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งชีวิตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ต่างอะไรกับคุกที่ใช้สำหรับคุมขังนักโทษผู้กระทำผิดกฎที่กำหนดไว้ เมื่อทำแล้วก็มีผลคือต้องไปรับผลของการกระทำในภพภูมิต่าง ๆ โดยกรรมของตนที่กระทำไว้จะนำเจ้าของกรรมนั้นไปเกิด ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงและไม่อาจเลือกได้ 

         สังสารวัฏ บางทีก็เรียกว่า วัฏสงสาร หรือวังวนแห่งชีวิต คือ วงจรชีวิตหลังความตายของสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดไปสู่ปรโลก ซึ่งวงจรนี้เองที่เราจะต้องทราบความเป็นมาของมันอย่างถ่องแท้ตามแบบอย่างที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ 

         สังสารวัฏ เป็นวงจรเฉพาะของผู้ที่ยังมีกิเลส มีความพอใจยินดีอยากได้อยากมี มีความยึดติดกับรูปลักษณ์สัมผัสกับสิ่งของที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระของชีวิต 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://book.dou.us/doku.php?id=gl203:1

แชร์