การฟอกเงินนั้น เป็นกฎหมายอาญา ต้องดูทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน:วัดพระธรรมกายผิดหรือเปล่า ??

เกือบ 20 ปีที่ผ่านมา สมัยเรียนปริญญาตรี ตอนนั้นวัดพระธรรมกายมีข่าวเยอะมาก จริงหรือเท็จก็ไม่ทราบแน่ชัด ก็เลยอยากมาวัดฯ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นกับตา http://winne.ws/n12457

652 ผู้เข้าชม
การฟอกเงินนั้น เป็นกฎหมายอาญา ต้องดูทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน:วัดพระธรรมกายผิดหรือเปล่า ??แหล่งภาพจาก บนเส้นทางการสร้างบารมี

ทนายวัด (ใจ ) ตอนที่ 7 ฟอกเงิน เป็นอย่างไร ??

วันพฤหัสบดี ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2560

         เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายไม่เที่ยงธรรม  ชาวบ้านตาสีตาสา ผู้ไม่รู้กฎหมาย จึงต้องให้ทนายมาอธิบายว่า จะทำบุญทั้งที ทำไมต้องมีมารผจญ แล้วหลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่ ซึ่งเป็นพระผู้บริสุทธิ์ จะรู้มั้ยว่าใครเป็นโจร

        เกือบ 20 ปีที่ผ่านมา สมัยเรียนปริญญาตรี ตอนนั้นวัดพระธรรมกายมีข่าวเยอะมาก จริงหรือเท็จก็ไม่ทราบแน่ชัด  ก็เลยอยากมาวัดฯ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นกับตา      

        จากตอนที่แล้ว ได้อธิบายเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายฟอกเงินไปแล้วนะครับ ซึ่งคนที่จะกระทำความผิดข้อหาฟอกเงิน เงินนั้นต้องมาจากการกระทำทั้ง 21 ความผิด จากนั้นก็เอาเงินที่ได้จากการกระทำความผิด ไปครอบครอง , เปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิด , จำหน่าย , จ่าย , โอน จึงจะเป็นความผิดที่เกี่ยวกับการฟอกเงินนะครับ  ดั

        กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินนั้น เป็นกฎหมายอาญาครับ  ต้องเป็นความผิดหรือไม่กฎหมายพิจารณาถึง “องค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน”  ซึ่งอ่านแล้วก็ทำให้งงนะครับ ว่าอะไรคือ “องค์ประกอบภายนอก และอะไร คือ องค์ประกอบภายใน”

องค์ประกอบภายนอก คือการพิจารณาจากข้อกฎหมาย  ซึ่งข้อกฎหมายการฟอกเงินผมได้อธิบายไปในตอนที่แล้ว 

มารู้จักองค์ประกอบภายใน  ซึ่งองค์ประกอบภายในนั้นก็คือ  “เจตนา”

        การพิจารณาความผิดทางอาญานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเจตนาในการกระทำความผิด  หากการกระทำนั้น ขาดเจตนา  ก็อาจเป็นการกระทำโดยประมาท หรือไม่มีความผิดเลยก็ได้

         การทำบุญตามวัดวาอารามต่าง ๆ คนที่มาทำบุญ ย่อมมีเจตนาที่จะทำบุญนะครับ  และพระสงฆ์ก็รับถวายมาจากเจตนาการทำบุญ  ซึ่งหลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่  คงจะไม่สามารถทราบได้นะครับว่าเอาเงินมาจากไหน และไม่มีความจำเป็นต้องไปถามเรื่องที่มาของเงินด้วยครับ

        เพราะอะไรที่หลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่  ไม่จำเป็นต้องไปถามว่าเงินมาจากไหน  ตอบได้ง่ายมากเลยครับ  ก็หลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่ มีเจตนารับถวายปัจจัยจากการทำบุญ  แล้วถ้าเงินที่ หลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่ รับถวายมานั้น เอาไปสร้างศาสนสถาน หรือใช้ประกอบกิจของสงฆ์ด้วยแล้วล่ะก็  ยิ่งชัดเจนเลยว่าเป็นเงินทำบุญ

การฟอกเงินนั้น เป็นกฎหมายอาญา ต้องดูทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน:วัดพระธรรมกายผิดหรือเปล่า ??

ดังนั้น  เงินทำบุญก็คือเงินทำบุญนะครับ ไม่ควรให้ใครมาเปลี่ยนเป็นเงินอย่างอื่น

        เรื่องนี้สำคัญมาก เนื่องจากกรณีของวัดพระธรรมกาย และหลวงพ่อธัมมชโยฯ นั้น  จะเป็นบรรทัดฐานของสังคมต่อไป  เพราะว่า คดีแต่ละคดีถ้าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ถือว่าเป็นบรรทัดฐานของกฎหมายทันที  ซึ่งนั่นหมายความว่า วัดทุกวัดทั่วประเทศจะทอดกฐินหรือทอดผ้าป่าทั้งที ก็มีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายฟอกเงิน

        ก็การทอดกฐินหรือผ้าป่านั้น ใครจะไปรู้ว่าต้นกฐิน 1 ต้น  มีเงินของใครบ้าง  แล้วทอดกฐินสักครั้งหนึ่ง  มีจำนวนคนมาทำบุญตั้งเยอะแยะ ไม่มีใครรู้เรื่องหรอกนะครับ

       กรณีของวัดพระธรรมกาย และหลวงพ่อธัมมชโยฯ จึงสำคัญมากๆ จะให้การทำบุญเป็นเป็นบรรทัดฐานของการผิดกฎหมายฟอกเงินไม่ได้นะครับ  มิฉะนั้นแล้วหลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่ จะอยู่กันอย่างไร จะเปิดตู้ทำบุญสักที ก็ต้องกลัวว่าผิดกฎหมายฟอกเงินหรือเปล่า  มันใช่เรื่องซะที่ไหน!

        สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้โอกาส  ผมได้ยินอย่างนั้นมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก ๆ บางครั้งบางทีเวลาที่ทำอะไรผิดมา รู้สึกกังวลใจ  ก็อยากมาทำบุญ นั่งสมาธิที่วัดถูกมั้ยครับ  คนบางคนกลับตัวกลับใจ มีความสำนึกผิดชอบชั่วดี ก็มาทำบุญที่วัด  แบบนี้หลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่  ไม่ผิดกฎหมายฟอกเงินกันทั่วบ้านทั่วเมืองหรอครับ  

         เรื่องแบบนี้ควรต้องแยกแยะนะครับ  การทำบุญนั้นไม่ใช่หน้าที่ของคนดี  การทำบุญเป็นเรื่องของทุก ๆ คน  เจตนาทำบุญก็คือทำบุญ  จะไปแยกแยะเงินทำบุญ เห็นว่าจะไม่สมควรเอานะครับ พระสงฆ์องค์เจ้าเขาไม่รู้เรื่องด้วยหรอก

การฟอกเงินนั้น เป็นกฎหมายอาญา ต้องดูทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน:วัดพระธรรมกายผิดหรือเปล่า ??

        อีกตัวอย่างก็ได้นะครับ  แพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยเพราะมีเจตนาช่วยเหลือ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนักมากๆๆๆๆ ปรากฏว่ามาถึงมือแพทย์แล้วเสียชีวิตทันที  แบบนี้พนักงานสอบสวนจะตีความเจตนาของแพทย์อย่างไรครับ ระหว่าง “เจตนา-ประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย” หรือ “ไม่มีความผิด เพราะไม่มีเจตนาฆ่า แต่มีเจตนารักษา”  

        เพราะฉะนั้น  เจตนาทำบุญคือการทำบุญนะครับ พนักงานที่รับหน้าที่ดูแล ควรต้องรู้จักแยกแยะเจตนาที่แท้จริงซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน ในการใช้กฎหมายด้วย  รู้จักใช้หลักนิติรัฐ นิติธรรม เสียบ้างนะครับ  ไม่ใช่ว่าจะตีความเอาแต่ตัวเองฝ่ายเดียว จะมีผลกระทบกับประชาชนทั้งประเทศหรือไม่ก็ไม่สนใจ  

         จะดีหรือชั่ว อยู่ที่ตัวทำ  ทุกคนที่เป็นชาวพุทธก็ล้วนอยากทำบุญ ด้วยกันทั้งนั้น " เพราะชาวพุทธ..อยู่ได้ด้วยการให้ "  ดังนั้นก็ไม่สำควรที่จะสร้างบรรทัดฐานให้ทุกคนกลัวการทำบุญ พระสงฆ์ นักบวชทั้งหลายก็ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  จึงมีผู้คนมากมายมาเลื่อมใสศรัทธา  แล้วจะให้พระสงฆ์ หรือนักบวชทั้งหลายต้องมากลัวการรับถวายปัจจัยจากญาติโยมทำไมครับ

          จะทำผิดกฎหมาย ต้องมีเจตนากระทำความผิดเป็นองค์ประกอบ หลวงพ่อธัมมชโยฯ รับถวายปัจจัย  เพราะสาธุชนเลื่อมใสศรัทธามากมาย  สาธุชนทุกคนมีเจตนามาทำบุญ  หลวงพ่อท่านก็มารับถวายปัจจัยตามเจตนาของญาติโยม  เพราะฉะนั้นเจตนาของหลวงพ่อธัมมชโยฯ จึงบริสุทธิ์ ไม่ครบองค์ประกอบของกฎหมายที่จะเป็นความผิดฟอกเงินแต่อย่างใดนะครับ

         ผมอยากเขียนมากกว่านี้นะครับ  เหมือนว่าคนอ่านกำลังจะมันส์กับบทความ  แต่ก็ต้องยอมรับครับว่า ถ้ายาวจนเกินไปบางคนอาจไม่อยากอ่าน  ก็เอาแค่นี้ก่อนนะครับ

บทความต่อไป ผมจะมาอธิบายกฎหมายเรื่องการรับของโจรบ้าง  ขอให้ติดตามอ่านกัน  นอกจากนั้นขอให้หลวงพี่ หลวงน้า หลวงตา หลวงปู่  มาติดตามอ่านกันด้วย เพราะเรื่องแบบนี้ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้นะครับ  สำหรับเรื่องการฟอกเงินขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้  พบกันใหม่บทความหน้า

“พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว”

 ทนายวัด (ใจ)

19 มกราคม 2560

แชร์