บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายกว่าที่คิด ผิดกฎหมาย คนขายและคนเสพติดคุก

กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกาพบว่า บุหรี่ไฟฟ้า ที่จะส่งผ่านสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายแบบละออกฝอยโดยไม่ต้องมีการเผาไหม้หรือการลุกไหม้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่สวยหรู และทันสมัย คล้ายซิการ์ ปากกา สีสันสวยงาม ปรุงรสชาติต่างๆ เช่น รสเชอร์รี่ ช็อกโกแลต วนิลา http://winne.ws/n12458

1.1 พัน ผู้เข้าชม
บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายกว่าที่คิด ผิดกฎหมาย คนขายและคนเสพติดคุก

          มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดเสวนา เรื่อง บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายมากกว่าที่คุณคิด นำเสนอข้อมูลข้อ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยข้อมูลเอกสาร THE FACTS on E-Cigalette Use Among Youth and Young Adults ของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกาพบว่า บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์รูปแบบใหม่ ที่จะส่งผ่านสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายในรูปแบบละอองฝอยโดยไม่ต้องมีการเผาไหม้หรือการลุกไหม้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่สวยหรู ดึงดูดใจและทันสมัย คล้ายซิการ์ ปากกา สีสันสวยงาม ปรุงรสชาติต่างๆ เช่น รสเชอร์รี่ ช็อกโกแลต วนิลา

           ซึ่งใน 2-3 ปีมานี้ วัยรุ่นของสหรัฐฯ มีอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในกลุ่มเยาวชนระดับประถมปลายและมัธยม และใช้อย่างต่อเนื่องในระยะ 30 วัน ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลหลัก คือ ความอยากรู้ อยากลอง ชอบรสชาติและเข้าใจผิดว่าละอองฝอยปลอดภัยเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ อีกทั้งอุตสาหกรรมยาสูบใช้เทคนิค ล่อตา ล่อใจ รวมถึงการสร้างค่านิยมวัยรุ่นแบบใหม่

           ในรายงานระบุด้วยว่า ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เรื่องการได้รับสารนิโคตินในวัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพราะทำให้วัยรุ่นเกิดการเสพติดได้ง่ายและส่งผลทำลายสมองส่วนคิดชั้นสูงของวัยรุ่น

           จากผลสำรวจการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทย อายุ 13-15 ปี ครั้งล่าสุดในปี 2558 พบว่า เยาวชนชายสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ4.7 และเยาวชนหญิงร้อยละ 1.9 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้บารากู่ ปารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2557 หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้าหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบสินค้าเหล่านั้นรวมถึงพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้านั้นด้วย นอกจากนี้ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกคำสั่งห้ามขาย และห้ามให้บริการบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า และตัวยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. 2558 กรณีพบผู้ฝ่าฝืนต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ขายหรือให้บริการเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งนำเข้ามาขาย ต้องรับโทษเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า


ที่มาข่าวสุขภาพจาก สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ขอขอบคุณภาพและแหล่งข่าวจาก http://health.mthai.com

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ http://health.mthai.com/health-news/14739.html

แชร์