ใช้ระบบกล่าวหา!กว่า 300 คดีวัดพระธรรมกาย ทำไปเพราะลืมขั้นตอนการสืบสวน ใช่หรือไม่ ?

​การแจ้งข้อกล่าวหาว่า “วัดพระธรรมกาย” และ “มูลนิธิธรรมกาย” ว่ากระทำผิดทางอาญามากกว่า 300 คดี จนท.ตร.ได้ทำการสืบสวน และการสอบสวน ผู้ถูกกล่าวหา ชอบด้วยกฎหมายและด้วยความเป็นธรรมหรือไม่? http://winne.ws/n13151

1.3 พัน ผู้เข้าชม
ใช้ระบบกล่าวหา!กว่า 300 คดีวัดพระธรรมกาย ทำไปเพราะลืมขั้นตอนการสืบสวน ใช่หรือไม่ ?แหล่งภาพจาก Google Sites

“กฎหมายประเทศกลาแลนด์เป็นระบบกล่าวหา ก็แจ้งข้อกล่าวหาไว้ก่อน แล้วให้ไปแก้ตัวเอาที่ศาล”

​         น่าจะเป็นวาทะแห่งปีที่ผ่านมา ที่ทุกท่านได้ทราบกันเป็นอย่างดีว่า เป็นวาทะที่แสดงถึงการลุแก่อำนาจของผู้มีอำนาจในกลาแลนด์

        ​การแจ้งข้อกล่าวหาว่า “วัดพระธรรมกาย” และ  “มูลนิธิธรรมกาย” กระทำผิดทางอาญามากกว่า 300 คดี เป็นการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยมิชอบและผู้ถูกกล่าวหาได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่รัฐด้วยความเป็นธรรมหรือไม่?

​       หลักกฎหมายในการแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 วรรค 2 กำหนดว่า “การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น”

     ​  ครับก็เป็นที่ชัดเจนว่าหลักกฎหมายมีความยุติธรรมอยู่ ที่กำหนดให้ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะแจ้งข้อกล่าวหา  ต้องมีหลักฐานพอสมควรก่อนว่า “ผู้ถูกถูกกล่าวหา” ได้กระทำความผิด เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงได้ค้นคว้าพบว่า กรมตำรวจเองก็มีหลักให้ความยุติธรรมในเรื่องนี้     

ใช้ระบบกล่าวหา!กว่า 300 คดีวัดพระธรรมกาย ทำไปเพราะลืมขั้นตอนการสืบสวน ใช่หรือไม่ ?แหล่งภาพจาก หน้าแรกข่าว - Sanook.com

       โดยมีบันทึกข้อความของกองคดี กรมตำรวจ  ที่ 0503/6968  วันที่  22  มีนาคม 2517 เรื่อง  การแจ้งข้อหาคดีอาญาให้ผู้ต้องหาทราบดังนี้ ในกรณีมีผู้มาร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในคดีอาญา  ในโอกาสแรกที่พนักงานสอบสวนพึงกระทำ ในเมื่อผู้ต้องหายังไม่ได้ปรากฏตัวต่อพนักงานสอบสวน ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 134  คือควรทำการสืบสวนเสียก่อน   เมื่อฟังได้ว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นจึงดำเนินการสอบสวนต่อไป  ( ตามนัยความเห็นของอธิบดีกรมอัยการ  ในบันทึกที่ 3557/2504  ลง  8 สิงหาคม 2504  ซึ่งได้สำเนามาให้ทราบด้วยแล้ว ) แปลง่ายๆ คือ ”ให้สืบสวน” เสียก่อน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดจริงจึงจะแจ้งข้อกล่าวหาและทำการ “สอบสวน” เพื่อความเข้าใจขออธิบายคำว่า “สืบสวน” กับ “สอบสวน”ดังนี้ครับ ​

ใช้ระบบกล่าวหา!กว่า 300 คดีวัดพระธรรมกาย ทำไปเพราะลืมขั้นตอนการสืบสวน ใช่หรือไม่ ?แหล่งภาพจาก SlidePlayer

“การสืบสวน” หมายความถึง 

       การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อทราบรายละเอียดแห่งความผิด ​“ การสืบสวน” จึงมีได้ทั้งก่อนการกระทำผิดและหลังกระทำผิด

 “การสอบสวน” หมายความถึง 

        การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ​ “การสอบสวน” จะมีได้เฉพาะกรณีหลังกระทำผิดเท่านั้น

        ​ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกาย ทั้งที่ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการกระทำความผิดของวัดหรือไม่ ​จึงเข้าลักษณะกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติของกรมตำรวจด้วยประการทั้งปวง 

       มีข้อกล่าวหาตัวอย่างตามที่เคยเขียนไปแล้ว มีลักษณะดังกล่าว เช่น คดีที่ตำรวจอ้างว่าพบว่ามีการนำเอาเศษเสาเข็มคอนกรีตจำนวน 3 ท่อนมาวางเรียงขวางถนนไว้ และมีการกล่าวหาว่ามีผู้เอาตะปูเรือใบมาโรยขวางถนน ตำรวจยังไม่ทำการ “สืบสวน” ก่อนว่าเหตุเกิดเมื่อไร ,ใครเป็นคนทำ ,มีหลักฐานอย่างไร อาจจะเป็นการกระทำของผู้ไม่หวังดีต่อวัดหรือผู้ที่ต้องการให้เกิดข้อกล่าวหาก็ได้  แต่ตำรวจ ก็แจ้งข้อหาว่าเป็นการกระทำของ”วัดพระธรรมกาย” เอาไว้ก่อน

​       ที่สำคัญคือ “วัด”เป็นนิติบุคคล  ซึ่งจะรับผิดก็แต่เฉพาะความผิดอันเกิดขึ้นจากการกระทำตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น  

ใช้ระบบกล่าวหา!กว่า 300 คดีวัดพระธรรมกาย ทำไปเพราะลืมขั้นตอนการสืบสวน ใช่หรือไม่ ?แหล่งภาพจาก JANTHAI Blog

        การวางเสาเข็มหรือวางตะปูเรือใบ “วัด” เดินไปทำไม่ได้  ทำได้เฉพาะบุคคลธรรมดา แต่ตำรวจก็ยังแจ้งข้อหาเพื่อ ให้ไปแก้ตัวเอาในศาลตามเจตนาของเจ้านาย มีเรื่องน่าขำที่ขำไม่ออกกรณีหนึ่งคือ ตำรวจ “สืบสวน” ได้ความว่า มีพื้นที่แห่งหนึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ”มูลนิธิธรรมกาย” และพยายามจะตั้งข้อกล่าวหาเพิ่มให้ “มูลนิธิธรรมกาย” อีก 

       ทั้งที่พื้นที่นั้นมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล เหตุที่สงสัยเพียงเพราะมีการตั้งชื่อสถานที่เหมือนกับสถานที่ของ “มูลนิธิธรรมกาย” มีการจัดโครงการปฏิบัติธรรมโดยกลุ่มของ “วัดพระธรรมกาย” มีกัลยาณมิตรและผู้สนใจโครงการปฏิบัติธรรมของ ”วัดพระธรรมกาย” ไปใช้บริการเป็นประจำ ​เมื่อตำรวจสงสัยแบบนี้ ทำให้ผมสงสัยว่า

​       “ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ” ที่วัดพระธรรมกายเคยใช้บริการจัดกิจกรรมที่นั่นจะเป็นของวัดพระธรรมกายด้วยไหม?

      ​“โรงแรมสวนบัว จ.เชียงใหม่” ที่วัดพระธรรมกายเคยใช้บริการจัดกิจกรรมที่นั่นจะเป็นของวัดพระธรรมกายด้วยไหม?

      ​“รีสอร์ท หลายแห่ง” ที่วัดพระธรรมกายเคยใช้บริการจัดกิจกรรมจะเป็นของวัดพระธรรมกายด้วยไหม?

​       หรือตำรวจยุคนี้แยกแยะความเป็น “เจ้าของกับผู้ใช้”  และ “ผิด/ถูก” ไม่ออกจริง ๆ ​

  "พรุ่งนี้วันมาฆบูชา มาปฏิบัติธรรมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันนะครับ"

เรียบเรียงโดย คนสองยุค ตอนที่ 9

วันศุกร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

แชร์