ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

16-22 กุมภาพันธ์ พศ.2560นี้ จัดยิ่งใหญ่ “งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560” ยกระดับนวัตกรรม “บึงกาฬ 4.0” เมืองหลวงของยางพาราภาคอีสาน http://winne.ws/n13161

1.2 พัน ผู้เข้าชม
ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

กลับมาอีกครั้งสำหรับ “งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560” งานมหกรรมยางพาราอันดับ 1 ของประเทศไทย จัดขึ้นที่จังหวัดบึงกาฬ เมืองหลวงของยางพาราภาคอีสานต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ภายใต้แนวคิด “บึงกาฬศูนย์กลางยางพารา การท่องเที่ยวก้าวหน้า การค้าก้าวไกล”

การจัดงานในปีนี้นอกจากจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ สอดรับกับสถานการณ์ราคายางพาราที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเต็มไปด้วยสาระความรู้ ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะยกระดับสู่การเป็น “บึงกาฬ 4.0”

ตามนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”

พิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

พิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ บอกว่า การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬปีนี้ มีการเชื่อมโยงที่สำคัญจากทุกฝ่าย ซึ่งสามารถพัฒนารายได้และนวัตกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ ไปสู่ประเทศไทย 4.0 ถ้างานวันนี้สำเร็จ นอกจากจะสร้างไฮไลต์ในการเป็นศูนย์กลางยางพาราแล้ว จะยกระดับเป็นยางพาราบึงกาฬ 4.0 ในอนาคตด้วย

พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เเละประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ผู้ผลักดันและสนับสนุนการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

ขณะที่ พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เเละประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ผู้ผลักดันและสนับสนุนการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ ยืนยันชัดเจนว่า งานยางพาราบึงกาฬปีนี้จะเป็นบึงกาฬ 4.0 แน่นอน เพราะจะมีนวัตกรรมล้ำสมัยมากมาย รวมถึงไฮไลต์สำคัญอย่าง “เครื่องกรีดยางอัตโนมัติ” รุ่นล่าสุดจากประเทศจีน ที่สามารถตอบสนองนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีในการสร้างรายได้ ยิ่งในช่วงที่เเรงงานหายไป

“ปีนี้ทางประเทศจีนจะนำเครื่องกรีดยางอัตโนมัติมาจัดแสดงที่งาน 9 เครื่อง เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ได้น้ำยางสม่ำเสมออยู่ในระดับมาตรฐานของสากล กรีดแล้วมันไม่เข้าเนื้อยางมากจนเกินไป ไม่ทำให้ต้นยางเสียหายหรือเป็นแผล เวลาฝนตกก็สามารถกรีดยางได้โดยที่หน้ายางไม่เปียกน้ำ แล้วยังช่วยประหยัดเวลาและกำลังคนด้วย ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจอยากได้เครื่องกรีดยางจำนวนมากเนื่องจากวันนี้เขาหาแรงงานกรีดยางไม่ได้ โดยราคาผมกำลังพยายามเจรจาจะไม่ให้เกิน 4,000 บาท/เครื่อง แต่มีความคุ้มค่าแน่นอน สามารถคืนทุนได้ในเวลาไม่เกิน 2 ปี” พินิจอธิบาย

นอกจากนวัตกรรมที่จะขับเคลื่อน จ.บึงกาฬ สู่การเป็นบึงกาฬ 4.0 แล้ว งานวันยางพาราในปีนี้ยังยกระดับสู่ความเป็นสากลมากขึ้น โดยมีตัวแทนผู้เกี่ยวข้องด้านยางพาราจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม

พินิจบอกว่า เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งบทบาทงานวันยางพาราจึงมีผลต่อตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดประเทศจีนที่เป็นผู้ใช้ยางพารามากที่สุดในโลก ซึ่งงานในปีนี้จะมีเนื้อหาที่เข้มข้นและมีการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติโดยมีผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพาราจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว มาเลเซีย กัมพูชา อินเดีย และจีนเข้าร่วมด้วย จึงนับเป็นความสำเร็จอย่างมากที่งานระดับภูมิภาคสามารถดึงดูดต่างประเทศเข้าร่วมได้มากแบบนี้ งานวันยางพาราบึงกาฬยังขยายผลต่อเนื่อง ถึงเรื่องการค้า การลงทุน ตลอดจนความร่วมมืออีกมากมาย

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

อีกตัวอย่างความสำเร็จที่มีจุดเริ่มต้นจากความร่วมมือต่อเนื่องในงานวันยางพาราบึงกาฬ สำหรับโรงงานหมอนและที่นอนยางพารา ที่มีการผลักดันโดย นิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ.บึงกาฬ

“ถ้าไม่มีงานวันยางพาราบึงกาฬ คงไม่มีวันนี้ โรงงานหมอนยางพาราก็คงไม่เกิด”

เป็นความในใจของนายก อบจ.บึงกาฬ ที่ปีแรกปฏิเสธเสียงแข็งไม่อยากจัดงานนี้และมองไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อย่างไร แต่วันนี้ นิพนธ์เป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนการจัดงานอย่างเต็มที่

“งานวันยางพาราบึงกาฬเป็นเวทีสำคัญของพี่น้องเกษตรกร ไฮไลต์ของปีนี้คือความสามัคคีของการรวมกลุ่มชาวบึงกาฬในนามชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางฯ จำกัด สร้างโรงงานหมอนและที่นอนจากยางพารา ส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของคนบึงกาฬในการพึ่งพาตัวเองให้ความฝันของชาวสวนยางจะเป็นจริง เมื่อเศรษฐกิจดี คุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็จะดีตามไปด้วย” นิพนธ์ทิ้งท้าย

“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560” คงจะประสบความสำเร็จไม่ได้ หากขาดความร่วมมือจากพันธมิตรสำคัญทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

อย่างการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไม่พลาดมาร่วมงานพร้อมกับการจัดนิทรรศการพิเศษเพื่อให้ความรู้ โดยเน้นเรื่องนวัตกรรมจากการแปรรูปยางพารา เป็นผลิตภัณฑ์จากยางพารา

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

เชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ระบุว่า งานวันยางพาราบึงกาฬเป็นงานที่มีความสำคัญ กยท.มีส่วนร่วมในการดูเเลส่งเสริมการบริหารจัดการยางพาราอย่างครบวงจร โดยจะเข้าไปให้ความรู้กับเกษตรกรภาคอีสานในเรื่องทิศทาง แนวทางของ กยท.ในปี 2560 โดยจะเน้นเรื่องการแปรรูป เพิ่มมูลค่า และเรื่องงานวิชาการ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น หมอนยางพารา ที่นอน และแผ่นยางปูพื้น

“นอกจาก กยท.แล้วในงานนี้ยังมีหน่วยงานที่ทำงานด้านวิจัย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย หรือสถาบันที่มีงานวิจัยเกี่ยวกับยางพารามานำเสนอ ผมว่าวันนี้เรื่องการพัฒนาโดยเฉพาะเรื่องงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น นอกจาก กยท.จะมีมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน หรือนักวิชาการอิสระ จะทำให้งานยางพาราบึงกาฬ เป็นงานสำคัญของประเทศไม่ใช่เฉพาะคนบึงกาฬ หรือคนภาคอีสานเท่านั้น เป็นงานที่ผู้ประกอบการและเกษตรกรทั่วประเทศมามองหาแนวทางยางพาราร่วมกัน” นายเชาว์กล่าว

เฉิน หู้เซิง (โทนี่ เฉิน) ผู้อำนวยการ “บริษัท รับเบอร์ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด” ฝ่ายประเทศไทย

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

อีกหนึ่งพันธมิตรที่สำคัญจากประเทศจีนอย่าง “บริษัท รับเบอร์ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด” ผู้ให้การสนับสนุนและร่วมงานยางพาราบึงกาฬเป็นประจำทุกปี เฉิน หู้เซิง (โทนี่ เฉิน) ผู้อำนวยการ ฝ่ายประเทศไทย บอกว่า งานยางพาราและกาชาดบึงกาฬเป็นเหมือนวันตรุษจีนยางพารา เป็นงานที่ บริษัท รับเบอร์ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัทผู้ประกอบการจากประเทศจีนพลาดไม่ได้ สำหรับปีนี้ได้เชิญชาวจีนจากหลายบริษัท ปีนี้ยังมีโครงการใหม่เป็นการเปิดอีคอมเมิร์ซเพื่อซื้อขายยางพาราผ่านระบบออนไลน์ เป็นอาลีบาบารับเบอร์ ที่สามารถซื้อขายเเละส่งข้อมูลเรื่องราคาระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ยางพาราในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง

พานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เครือมติชน

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

และเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในเครือมติชน พานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ไม่พลาดนำสิ่งดีที่สุดมาร่วมจัดแสดงในงาน ผ่านการจัดเสวนาและนิทรรศการ เพื่อมุ่งหวังพัฒนาเข้าสู่การเกษตร 4.0

“เรามีเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต ทั้งการนำเสนอเครื่องจักรกลที่ลดต้นทุนการผลิต และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากที่สุด ยังมีเรื่องของการแปรรูป และการต่อยอดการแปรรูป เรื่องของการปลูกพืชเสริมในสวนยางพารา ปีนี้มีมานำเสนอมากกว่า 20 ชนิดมาเล่าให้เข้าใจง่ายตามสไตล์เทคโนโลยีชาวบ้านด้วย”

พีระพงศ์ คำชื่น ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ธ.ก.ส.

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาร่วมให้ข้อมูลกับเกษตรกรด้วย

พีระพงศ์ คำชื่น
 ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ธ.ก.ส. ระบุว่า ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ธ.ก.ส.ในปีที่ผ่านมา เรามีทิศทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและยกระดับผู้ผลิต ผู้เพาะปลูก ให้เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งสอดคล้องกับงานวันยางพาราบึงกาฬ ดังนั้นในงานนี้ ธ.ก.ส.จะนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้รับการเพิ่มมูลค่า รวมถึงนำตัวผู้ประกอบการมาพูดคุยกันในบูธนิทรรศการของธนาคาร

“ยังมีที่ปรึกษาเรื่องการให้สินเชื่อเอสเอ็มอีการเกษตร ที่เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ มาให้ความรู้ด้วย หากใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อเอสเอ็มอีการเกษตร รวมถึงเรื่องการเพิ่มมูลค่ายางพารา สามารถมาพูดคุยกันได้ที่บูธ ธ.ก.ส. ในงานวันยางพาราบึงกาฬได้ทุกวัน” พีระพงศ์อธิบาย

เพื่อให้ จ.บึงกาฬก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมยางพาราของภาคอีสาน พร้อมมุ่งสู่การเป็นแหล่งศึกษาพัฒนานวัตกรรมยางพาราระดับประเทศ ปีนี้มีหน่วยงานต่างๆ มาให้ความรู้ด้วย

ผศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาจารย์ประจำ บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

ผศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาจารย์ประจำ บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) บอกว่า เป็นเวลา 3 ปีแล้วที่ มจพ.ได้ร่วมงานวันยางพาราบึงกาฬ สำหรับปีนี้ มจพ.มีนวัตกรรม

ตามแนว Industry 4.0 มานำเสนอ 2 ส่วน คือ นวัตกรรมเพื่อความก้าวหน้า ซึ่งที่บูธ มจพ.ปีนี้จัดเต็มในส่วนของนวัตกรรม ทั้งถนนยางพารา ถนนกันลื่น ถนนเรืองแสง บล็อกปูถนนจากยางพารา และ นวัตกรรมที่เป็นการแก้ไขปัญหา โดยใช้โจทย์จากชาวบ้าน

“ตัวอย่างเช่น โจทย์จากชาวบ้านคือ เวลากรีดยางพาราแล้วฝนตก มีความสูญเสียเกิดขึ้นเยอะมาก เวลาน้ำยางพาราโดนฝน เป็นความสูญเสียที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ปีนี้มีทางออกให้ดูในงานวันยางพาราครั้งแรกเลยว่า น้ำยางโดนน้ำฝนแล้วจะทำอย่างไร? ยังมีไฮไลต์เด่นที่ มจพ.ร่วมกับจังหวัดจัดทำถนนยางพาราต้นแบบที่บึงกาฬ” ผศ.ดร.ระพีพันธ์ทิ้งท้าย

ฐวัฒน์ สมมะโนพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดพี.พี.สยามลาเท็กซ์

ม่วนซื่น งานใหญ่เมืองหลวงยางพาราภาคอีสาน“งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560”

ขณะที่อุทยานการเรียนรู้ยางพารา “รับเบอร์แลนด์ (RubberLand)” ก็มาเปิดอาณาจักรยางพาราที่งานนี้ด้วย

ฐวัฒน์ สมมะโนพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดพี.พี.สยามลาเท็กซ์ ระบุว่า รับเบอร์แลนด์เป็นพิพิธภัณฑ์ยางพาราแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย

เราต้องการให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วยางพาราไม่ได้น่าเบื่อ โดยจะย่อยความรู้ให้เป็นแหล่งบันเทิง โดยในงานยางพาราบึงกาฬปีนี้ รับเบอร์แลนด์จะยกพิพิธภัณฑ์ยางพาราแบบย่อมๆ ไปจัดแสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วยางพาราใช้ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด

“เราอยากจะเป็นจุดเล็กๆ ที่จุดประกายให้นักออกแบบ นักเรียนและนักศึกษาได้เห็นว่าเขาสามารถใช้ทรัพยากรที่มีค่านี้พัฒนาสร้างนวัตกรรมที่เป็นของไทย โดยในงานจะมีกิจกรรมเวิร์กช็อปให้ร่วม ต้องติดตามกันว่าจะเป็นกิจกรรมอะไร” ฐวัฒน์ทิ้งท้าย

เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน “งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560” งานเดียวที่ครบครันทั้งความรู้และความบันเทิง ตลอด 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 16-22 กุมภาพันธ์นี้ ห้ามพลาด

แล้วพบกันที่จังหวัดบึงกาฬ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก: 

http://www.matichon.co.th/news/458983

http://www.bungkan77.com/home/2017/01/งานยางพารา-บึงกาฬ2560/

แชร์