เรื่องเล่า...เมื่อพบแพทย์แผนจีน "เห็นก่อนรู้ หรือ รู้ก่อนเห็น"

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน จะมีเส้นลมปราณหลักอยู่ทั้งหมด 20 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นเชื่อมต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น จมูก ปอด ลำไส้ใหญ่ อวัยวะทั้งสามนี้่จะมีเส้นลมปราณเชื่อมถึงกัน หากอวัยวะอันใดอันหนึ่งถูกกระทบ ที่เหลือก็จะกระเทือนตามไปด้วย http://winne.ws/n13245

951 ผู้เข้าชม
เรื่องเล่า...เมื่อพบแพทย์แผนจีน "เห็นก่อนรู้ หรือ รู้ก่อนเห็น"

เมื่อวาน (31 ส.ค. 2559) พาตัวเองไปหาหมอแผนจีนท่านหนึ่ง ขณะกำลังนอนให้คุณหมอฉีดยาให้ที่บริเวณข้อพับของแขนซ้าย คุณหมอก็เล่าให้ฟังว่า
“เมื่อก่อนหมอคิดว่า ศาสตร์แพทย์แผนจีน เกิดจากการลองผิดลองถูก แต่เพิ่งทราบเมื่อไม่กี่วันนี่เองว่า เกิดจากการฝึกสมาธิของคนจีนในสมัยก่อน จนเห็นระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย"

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน จะมีเส้นลมปราณหลักอยู่ทั้งหมด 20 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นเชื่อมต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น จมูก ปอด ลำไส้ใหญ่ อวัยวะทั้งสามนี้่จะมีเส้นลมปราณเชื่อมถึงกัน หากอวัยวะอันใดอันหนึ่งถูกกระทบ ที่เหลือก็จะกระเทือนตามไปด้วย
 เส้นลมปราณแต่ละเส้นจะมีพลังชีวิตโคจรอยู่ แพทย์จีนเรียกพลังชีวิตนี้ว่า “ชี่” หากพลังชีวิตหรือ “ชี่” นี้ติดขัด ก็จะเกิดอาการป่วย ก็เลยมีการฝังเข็มตามจุดต่างของเส้นลมปราณเพื่อกระตุ้นให้ “ชี่” โคจรได้สะดวกไม่ติดขัด

แต่เส้นลมปราณกับชี่ ที่ว่านี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใดๆ แล้วแพทย์จีนในอดีตเมื่อหลายพันปีก่อน รู้ได้ยังไงล่ะ
อย่างที่บอกในตอนต้น ว่ารู้ได้จากฝึกสมาธิจนเห็นเส้นลมปราณ และเห็นว่าในเส้นลมปราณมีชี่โคจรอยู่ 

เรื่องเล่า...เมื่อพบแพทย์แผนจีน "เห็นก่อนรู้ หรือ รู้ก่อนเห็น"

การถ่ายทอดวิชาแพทย์จีนในยุคแรก อาจารย์จะสอนให้ลูกศิษย์ฝึกสมาธิด้วย แต่วิธีการนี้คงจะช้า

เพราะกว่าลูกศิษย์จะฝึกสมาธิจนเห็นได้เหมือนที่อาจารย์เห็นคงจะใช้เวลานาน จึงบอกชี้ตำแหน่งของเส้นลมปราณต่างๆ ไปเลยว่า มันอยู่ตรงไหนของร่างกาย ลูกศิษย์ก็ท่องจำเอาแล้วเอาความรู้ที่ท่องจำไปรักษาผู้คน

แพทย์จีนในยุคต้นๆ จึงเป็นการเห็นก่อนรู้ แต่ยุคต่อๆ มาเป็นการรู้ก่อน ที่อาจจะเห็นหรือไม่เห็นก็ได้ อยู่ที่ผู้เรียนจะฝึกสมาธิหรือเปล่า

เส้นทางการถ่ายทอดความรู้ของแพทย์จีน เหมือนกับพระพุทธศาสนาเลย เพราะความรู้ในพระพุทธศาสนานั้น เกิดจาก “เห็นก่อนรู้”
เพราะ “ตรัส” แปลว่า “เห็นแจ้ง” ตรัสรู้ จึงแปลว่า “ความรู้ที่เกิดจากการเห็นแจ้ง” 

ความรู้ในพระพุทธศาสนา จึงเป็นสิ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นแจ้ง แล้วนำมาสั่งสอนมนุษย์และเทวดา หลังจากนั้นผู้ที่ศึกษาคำสอนของพระองค์ จะเป็นลักษณะ “รู้ก่อนเห็น” ทั้งสิ้น

หลายร้อยปีผ่านมา จาก “รู้ก่อนเห็น” ก็เริ่มเปลี่ยนไป เป็น “รู้ก่อน” ที่อาจจะเห็นหรือไม่เห็นก็ได้ อยู่ที่ผู้ศึกษาจะฝึกสมาธิหรือเปล่า
ผ่านมา 2559 ปี เศษ จากรู้ก่อน เริ่มกลายเป็น “ไม่รู้”
ถ้าไม่รู้ แล้วบอก “ไม่รู้” ก็ว่าไปอย่าง แต่ไม่รู้ แล้วบอกว่า “รู้” นี่สิ ชักมีปัญหา
หรือศึกษานิดๆ หน่อยๆ แล้วเข้าใจว่าตัวเอง “รู้” ก็มีปัญหาไม่แพ้กัน


Cr. สิรภู

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://dbuddhist.com/miscellaneous_blog015.html

แชร์