ความปรองดอง...เป็นเพียงภาพลวงตาอย่างนั้นหรือ????

คำว่า "เขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ" นี้ หากดูให้ดีๆ นี่ไม่ใช่แค่การสร้างวาทกรรมเพื่อบุกวัดพระธรรมกายเท่านั้น แต่มันคือการทดลองใช้ มาตรา 31 กับมาตรา 67 ก่อนโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้จริงอย่างเป็นทางการ โดยมีดีเอสไอเป็นคนนำล่องให้ดูเป็นตัวอย่าง http://winne.ws/n13301

1.0 พัน ผู้เข้าชม
ความปรองดอง...เป็นเพียงภาพลวงตาอย่างนั้นหรือ????

ดีเอสไอช่วยจำลองภาพการใช้ มาตรา 31 และ 67 ในรัฐธรรมนูญปี 2559 ว่าเปิดช่องให้รัฐสามารถใช้อำนาจเปลี่ยน "คดีทั่วไป" กลายเป็น "คดีภัยต่อความมั่นคงต่อชาติและศาสนา" ได้ทันที และนี่คืออุปสรรคใหญ่ในการแก้ปัญหาปรองดองของประเทศไทย

เพราะเพียงแค่ประกาศใช้คำว่า "เขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ" ภาพจำลองของปัญหาการใช้ มาตรา 31 และมาตรา 67 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2559 ที่เคยเงียบเชียบไปหลายเดือน ก็ลุกเป็นไฟกลับขึ้นมาใหม่ทันที

เพราะก็อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า ปัญหาของมาตรา 31 และ 67 คือ "ตัดความปรองดอง เพิ่มความแตกแยก" ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการแก้ไขปัญหาการปรองดองของประเทศไทยในขณะนี้

- ปัญหาของ มาตรา 31 คืออะไร ?
คำตอบคือ เปิดช่องว่างให้ยัดเยียดข้อหาความเป็นอันตรายต่อรัฐได้ง่าย ซึ่งจะกลายเป็นความแตกแยกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ขึ้นได้ทันที

- ปัญหาของมาตรา 67 คืออะไร ?
คำตอบคือเปิดช่องว่างให้ยัดเยียดข้อหาความเป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาได้ง่าย ซึ่งจะกลายเป็นความแตกแยกทางนิกายและระหว่างศาสนาต่อศาสนาขึ้นได้ทันที

- ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
1. เพราะรัฐมีอำนาจในการกล่าวหา
2. เพราะรัฐมีอำนาจในการชี้นำสื่อ
3. เพราะรัฐมีอำนาจกฎหมายอยู่ในมือ
4. เพราะสังคมไทยขับเคลื่อนตามระบบกล่าวหา
5. เพราะสื่อมวลชนชี้นำสังคมด้วยระบบกล่าวหา

จากเหตุผลทั้ง 5 ข้อนี้ ถ้าประเทศไทยใช้กฎหมายระบบไต่สวน การคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ยังพอตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ การยับยั้งชั่งใจถึงผลได้ผลเสียจึงมีกระบวนการตรวจสอบที่มีส่วนร่วมระหว่างประชาชน สังคม ศาล และรัฐบาล

แต่เนื่องจากประเทศไทยใช้กฎหมายระบบกล่าวหา ซึ่งเปิดช่องให้แก่ผู้มีอำนาจ ใครมีอำนาจก็กล่าวหาคนไม่มีอำนาจให้เป็นอันตรายต่อรัฐและต่อศาสนาได้ทันที (เพราะประชาชนย่อมไม่มีอำนาจใดๆ ในการกล่าวหารัฐอยู่แล้ว ดูได้จากกรณีของครูจอมทรัพย์ ถ้าไม่ได้สื่อมวลชนช่วยหนุนหลัง ไม่มีทางที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ได้)

ความปรองดอง...เป็นเพียงภาพลวงตาอย่างนั้นหรือ????

- ปัญหาความแตกแยกที่แฝงใน รธน. 2559

สิ่งที่ตามมาหลังการถูกกล่าวหาก็คือ ประชาชนถูกมัดมือชกให้เป็นผู้ต้องหาในเรือนจำอย่างไรทางต่อสู้ เพราะสามารถใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ 2559 ในมาตรา 31 และ 67 ดำเนินการจับกุม ตั้งข้อหา ยึดทรัพย์ นำคดีขึ้นสู่ศาล โดยไม่ต้องรอกระบวนการสอบสวนได้ทันที

เพราะเพียงแค่อ้างอำนาจกล่าวหาจาก 2 มาตรานี้ ใครที่ถูกรัฐกล่าวหาก็หมดโอกาสต่อสู้ความจริงทันที การเปิดช่องไว้แบบนี้จึงเป็นอันตราย เพราะเมื่อเป็นกฎหมายย่อมมิได้บังคับใช้อยู่แค่ประชาชนคนเดียว แต่บังคับใช้กับประชาชนทั้งประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ลูกเด็กเล็กแดงที่เพิ่งเกิดมาดูโลกบนผืนแผ่นดินไทย

- วาทกรรมของดีเอสไอ สร้างภาพจำลองปัญหา รธน.2559 ก่อนใช้จริง

เดิมทีนั้น หลายคนยังมองเห็นไม่ชัดว่า รัฐธรรมนูญใหม่มีปัญหากับการปรองดองที่ตรงไหน แต่ทันทีที่ดีเอสไอประกาศใช้คำว่า "เขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ" ขึ้นมา ภาพปัญหาปรองดองในมาตรา 31 กับ 67 ก็ชัดขึ้นทันที

เพราะหากมีการเสนอให้โปรดเกล้า ฯ รัฐธรรมนูญปี 2559 ลงมาใช้อย่างเป็นทางแล้ว ด้วยอำนาจมาตรา 31 กับ มาตรา 67 นี้เอง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รัฐมีอำนาจสามารถเปลี่ยน "คดีความทั่วไป" ให้เป็น "คดีภัยต่อความมั่นคงของชาติและศาสนา" ได้ทันที

เมื่อใดที่ใครก็ตามถูกข้อหาอันตรายต่อรัฐและศาสนานี้ บุคคลนั้น องค์กรนั้น พรรคการเมืองนั้น ศาสนานั้น นิกายนั้น เขาจะเอาอำนาจรัฐ อำนาจกฎหมาย อำนาจสื่อมวลชน อำนาจสังคมที่ไหนไปต่อสู้ข้อกล่าวหา ก็มีแต่ต้องต่อสู้กับรัฐด้วยวิธีจนตรอกของประชาชนเท่านั้นเอง

ดังนั้น คำว่า "เขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ" นี้ หากดูให้ดีๆ นี่ไม่ใช่แค่การสร้างวาทกรรมเพื่อบุกวัดพระธรรมกายเท่านั้น แต่มันคือการทดลองใช้ มาตรา 31 กับมาตรา 67 ก่อนโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้จริงอย่างเป็นทางการ โดยมีดีเอสไอเป็นคนนำล่องให้ดูเป็นตัวอย่างนั่นเอง

ความปรองดอง...เป็นเพียงภาพลวงตาอย่างนั้นหรือ????
แชร์