เตรียมรับมือกับ E-sport

Blognone ร่วมกันสมาคมไทยE-sport (TESA) ได้จัดงานเสวนา G=AME (Animation, Marketing, Engineering) เพื่อร่วมกันหาคำตอบและแสดงทัศนะเกี่ยวกับเกมโดยเชิญ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้ปาฐากถาพิเศษ "เกมในฐานะงานอดิเรกของคนรุ่นใหม่" http://winne.ws/n14091

563 ผู้เข้าชม
เตรียมรับมือกับ E-sport

เมื่อวันเสาร์ 18 มีนาคม 2560 ทีผ่านมา Blognone ร่วมกันสมาคมไทยอีสปอร์ต (TESA) ได้จัดงานเสวนา G=AME (Animation, Marketing, Engineering) เพื่อร่วมกันหาคำตอบและแสดงทัศนะเกี่ยวกับเกม ว่าเป็นอุตสาหกรรมความบันเทิงและดิจิทัลคอนเทนต์แขนงหนึ่งที่มีมูลค่ามหาศาล และต้องใช้ศาสตร์หลายสาขาผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะ-แอนิเมชัน-การเล่าเรื่อง ด้านวิศวกรรม และการตลาดเพื่อให้เกมประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ

อย่างไรก็ตามเกมกลับถูกมองจากสังคมว่าเป็นสิ่งมอมเมาและทำให้เสียคน ซึ่งก็เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงและมีข้อชี้แนะมากมาย ซึ่ง ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ให้เกียรติมากล่าวปาฐกถาเปิดงาน ก็ได้แสดงทัศนะพร้อมแนะนำเอาไว้ด้วยเช่นกันว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกม รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครองและครู ต้องมีส่วนร่วม ช่วยกันดูแลและชี้นำให้เด็ก ที่มีวุฒิภาวะไม่มากพอ ให้สามารถรับมือและอยู่ร่วมกับเกมได้อย่างปกติ เนื่องจากเกมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เตรียมรับมือกับ E-sport

ดร. ชัชชาติให้เหตุผลว่า เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเกมมีการพัฒนาและก้าวหน้าตามหลักของ Moore's Law ของ Gordon E. Moore อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Intel ซึ่งเคยอธิบายไว้ในปี 1965 ว่าทรานซิสเตอร์บนแผงวงจร จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 2 ปี ทำให้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา วงการเกมพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จนในปัจจุบันมีการพัฒนาไปสู่กีฬาแขนงหนึ่งแล้ว และเป็นกระแสที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

อดีตรัฐมนตรีคมนาคมชี้ว่า ในเมื่อเกมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกคนในวงการ ในฐานะ stakeholder ควรจะก้าวไปพร้อมๆ กัน ทุกฝ่าย รวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองและครู ควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับ ดูแลและช่วยเหลือเด็กๆ ที่อาจจะมีวุฒิภาวะไม่เท่าผู้ใหญ่ ให้สามารถรู้ทันเกมและจัดการตัวเอง ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เราเห็นในข่าว

สิ่งที่สำคัญคือต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับเด็ก ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและที่สำคัญคือต้องให้ความคาดหวังที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะถึงแม้วงการอีสปอร์ต จะมีเงินรางวัลมหาศาล ล่อตาล่อใจ แต่คนที่ได้นั้นกลับเป็นส่วนน้อย เด็กต้องเข้าใจว่าถ้าจะเดินทางนี้ โอกาสไม่ได้เยอะอย่างที่คิดนัก

( ขอบคุณที่มาและภาพประกอบจาก postjung.com)

ทีนี้เราลองมารู้จักกับ E - Sport กันค่ะว่าคืออะไร ตามได้ในบทความข้างล่างนี้ค่ะ

เตรียมรับมือกับ E-sport

E-sport หรือ Electronic Sport คือ เกมคอมพิวเตอร์ที่มีการนำมาเป็นกีฬาแข่งขันกันนั่นเอง

หลายคนมองว่า“เกม” ไม่มีประโยชน์ เล่นไปแล้วได้อะไร อีกทั้งยังอาจเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมดังจะเห็นได้จากกระแสข่าวต่างๆ ที่เกิดจากเด็กติดเกม แต่รู้หรือไม่ว่าเกมหากผู้เล่นเล่นอย่างสร้างสรรค์ จะพบว่าเกมนั้นก็ให้ประโยชน์เหมือนกัน...

“เกม”บางคนเล่นเพื่อความสนุกสนาน คลายเครียด หรือเพื่อหามิตรภาพแต่ก็มีผู้เล่นที่เรียกตัวเองว่า “เกมเมอร์” เล่นเกมเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองโดยการผันตัวเองเป็นนักกีฬา E-Sport เข้าร่วมการแข่งขัน E-Sportsซึ่งมีเงินรางวัลที่สูงมากเมื่อเทียบกับการแข่งขันประเภทอื่นๆโดยปัจจุบันนี้ เกมมันอาจไม่ใช่แค่เกมอีกต่อไปแล้วแต่มันกลายเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า E-Sport ซึ่งหลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้มาก่อนแต่อาจยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร? มารู้จักกับกีฬา E-Sportกันค่ะ

แล้วE-Sport คืออะไร?

คุณอัลเลนซู ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เกม บริษัท การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า E-Sports ที่ประเทศไทยเพิ่งเข้ามาได้ไม่นานยกตัวอย่างเช่น บริษัทการีน่าได้เข้ามาในประเทศไทยประมาณ 4-5 ปี โดยนำเกม HON (Heroes of Newerth) เข้ามา และจัดการแข่งขันซึ่งถือเป็นเกมแรกที่ทำให้หลายคนได้รู้จัก E-Sport

“เหมือนเราเล่นกีฬาทั่วไปบางคนอาจเล่นเพื่อฆ่าเวลา บางคนเล่นเพราะความชอบส่วนตัวบางคนเล่นเพราะเป็นกิจกรรมที่ร่วมทำกับเพื่อนแต่บางคนเขาอาจมีเป้าหมายสูงสุดกว่านี้อีก คือเขามีฝีมือและมีความสามารถดังนั้นจึงมีการแข่งขันของ E-Sport เกิดขึ้นเพื่อที่จะสร้างเวทีให้คนที่มีฝีมือมาแสดงออกฝีมือของเขา”

คุณอัลเลนกล่าวต่อว่า E-Sport บางคนอาจยังไม่เข้าใจว่าคืออะไรปัจจุบันนี้ E-Sport เป็นกิจกรรมที่พัฒนาค่อนข้างไวที่ต่างประเทศโดย E-Sport ที่มีผู้เล่นมากที่สุดคือเกม LOL (League of Legends) โดยมีผู้เล่นทั่วโลกประมาณ 70 ล้านคน แต่สำหรับประเทศไทยจะเป็นเกม Hon ซึ่งทั้งสองเกมนี้เป็นแนวเกม MOBA ที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็น E-Sport

ด้วยสังคมไทยในขณะนี้ยังไม่เปิดกว้างในเรื่องของเกมมากเท่ากับต่างประเทศอาจยังไม่เข้าใจว่า E-Sportคืออะไรแตกต่างจากต่างประเทศที่สังคมจะมองว่า E-Sport เป็นกีฬาทั่วไปซึ่งอาจเป็นเพราะว่าประเทศไทยยังอยู่ในจุดที่พัฒนาอยู่ซึ่งในตอนนี้จะเห็นได้ว่าเริ่มจะมีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการแข่งขัน E-Sport หรือบางมหาวิทยาลัยก็เริ่มมีชมรมที่เกี่ยวกับE-Sport ขึ้น

คุณอัลเลนซู ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เกม บริษัท การีน่า ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด

เตรียมรับมือกับ E-sport

แล้วความแตกต่างระหว่างE-Sport ของไทยกับต่างประเทศ?

คุณอัลเลนกล่าวว่า E-Sport ที่ต่างประเทศคนที่เข้าร่วมการแข่งขันจะแข่งขันอย่างจริงจัง ทุกคนจะมองว่าเป็นอาชีพแบบหนึ่งและอาจมีเงินเดือนด้วย และมีเงินรางวัลที่สูงมาก แต่ที่ประเทศไทยอาจยังไม่ได้พัฒนาถึงระดับนั้น แต่ก็เริ่มต้นที่จะมีแล้วโดยสิ่งที่แตกต่างอาจจะเป็นภาพลักษณ์ จะสังเกตว่าที่ต่างประเทศ นักกีฬา E-Sport เขาสามารถที่จะออกไปข้างนอกแล้วถ้าเจอคนมีคนถามว่าทำงานอะไรอยู่ เขาสามารถบอกได้ว่าเป็นนักกีฬา E-Sport ของเกมนี้ทุกคนอาจจะเข้าใจว่านี่เป็นอาชีพของเขา แต่ถ้าประเทศไทยมีคนถามว่าทำงานอะไรแล้วเราบอกว่าเป็นนักกีฬา E-Sportของเกมนี้ ทุกคนอาจจะงงว่าเป็นเกมแล้วทำไมถึงเรียกว่าอาชีพ สรุปคือความเข้าใจของสังคมต่างกันอยู่จุดนี้ตนคิดว่าค่อนข้างสำคัญ แต่คิดว่าอีกประมาณ 2-3 ปี ทางสังคมของประเทศไทยจะเข้าใจว่าจริงๆ แล้ว E-Sport เป็นประเภทของอาชีพหนึ่ง

“จะสังเกตว่าที่ประเทศไทย ผู้ใหญ่ผู้ปกครอง หรือพ่อแม่ อาจารย์ เขาจะรู้สึกว่าเด็กคนนี้ติดเกมหรือเปล่าซึ่งความรู้สึกอาจไปทางด้านลบมากกว่า แต่จริงๆ ปัจจุบันนี้มันไม่ใช่อยู่แล้วซึ่งเราถือว่า E-Sport เป็นกีฬาประเภทหนึ่งและคนที่เล่นเกมเขาก็ฝึกซ้อมเล่นเกมจริงจัง ไม่ใช่แค่ว่าความสุขอย่างเดียวคนที่เล่นเกมถึงระดับนักกีลา E-Sport  เขาสามารถจะสร้างรายได้ให้ตัวเองได้สูงเช่น ทีม NeoES.MRR ที่เพิ่งชนะการแข่งขัน E-Sport รายการ HoNTour World Finals 2016 ซึ่งทางทีมเขาได้เงินรางวัล 2 ล้านบาท ผมมองว่าเงินรางวัล 2 ล้านบาทก็เป็นเงินรางวัลค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกีฬาประเภทอื่นของประเทศไทย”

แล้วทำไมเงินรางวัลถึงสูงมาก? อาจมากกว่าการแข่งขันอีกหลายๆ ประเภท

คุณอัลเลนกล่าวว่า ถ้าประมาณ 5-10 ปีที่แล้ว ก็มีการแข่งขันของเกมอยู่แต่เงินรางวัลอาจแค่อยู่ในหลักพัน เพราะช่วงนั้นตลาดยังไม่โตขนาดนี้และจำนวนของผู้เล่นอาจไม่เยอะแต่ด้วยปัจจุบันทุกคนเข้าใจแล้วว่าเกมเป็นกิจกรรมที่มีคนเล่นเป็นจำนวนมาก และก็มีตลาดที่ใหญ่มากเพราะว่าเงินรางวัลก็ต้องไปกับตลาดและจำนวนของผู้เล่นเกมด้วย อาทิ กีฬาฟุตบอลจะเห็นว่านักกีฬาก็จะมีค่าตัวที่สูงมากเพราะว่าทางกีฬาเองก็ต้องการเงินรางวัลที่สูงมาเป็นแรงดึงดูดอยากให้คนที่มีความสามารถมาแข่งขันเพื่อจะสร้างเวทีให้คนที่มีฝีมือมาแสดงออกซึ่งทาง E-Sport ก็เช่นกันตนเชื่อว่าคงจะมีผู้เล่นที่มีฝีมือดีหลายคน แต่บางทีอาจไม่มีโอกาสได้มาแสดงออกแต่ถ้าการแข่งขันมีเงินรางวัลที่สูง ก็จะเป็นเวทีของผู้เล่นที่มีฝีมือผู้เล่นเหล่านั้นก็จะมีแรงจูงใจมาแข่งขัน

เตรียมรับมือกับ E-sport

ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นนักกีฬาE-Sport?

คุณอัลเลนกล่าวว่า ทุกคนอาจเข้าใจผิดว่าคนที่เป็นนักกีฬา E-Sport จะต้องชอบเล่นเกมอย่างเดียวและเล่นเกมทั้งวันแต่ความจริงแล้วก็เหมือนนักกีฬาทั่วไปคือคนที่เป็นนักกีฬา E-Sport จะต้องฝึกซ้อมและทำตามกฏระเบียบแต่แตกต่างกันตรงที่นักกีฬา E-Sport จะต้องซ้อมเล่นเกมนอกนั้นทุกอย่างก็คล้ายๆ กันคือต้องมีระเบียบวินัย และต้องมีโค้ช มีทีมผู้จัดการเพราะว่าต้องมีคนให้แนวทางที่ชัดเจนว่าจริงๆ ตั้งทีมต้องทำอะไรบ้างต้องซ้อมอะไรบ้าง และต้องสามารถบริหารเวลาได้ดี

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือผู้เล่นต้องเลือกเกมที่จะเล่นอย่างจริงจังต้องดูว่าเกมที่เล่นอยู่มีอนาคตหรือไม่ เพราะว่าปัจจุบันนี้มีเกมเยอะมากแต่เกมไหนที่มีอนาคตเกมไหนที่ผู้พัฒนาตั้งใจจะพัฒนาต่อไปเพื่อสร้างเวทีให้โอกาสคนที่ยังเล่นเกมอยู่

สำหรับในเรื่องของสปอนเซอร์ส่วนใหญ่เกมที่มีชื่อเสียง จะมีสปอนเซอร์อยู่แล้ว บางทีอาจเป็นบริษัทเป็นแบรนด์ของตัวพีซีหรืออุปกรณ์ต่างๆซึ่งเขาก็จะหาทีมที่มีฝีมือและพยายามที่จะสนับสนุน ส่วนทีมใหม่ๆที่ยังไม่มีใครรู้จัก อาจต้องไปแข่งขันและสร้างผลงานขึ้นมาเพราะเวลาสปอนเซอร์จะสนับสนุนทีมไหน จะมองว่าทีมนี้มีอนาคตหรือเปล่ามีฝีมือหรือเปล่า

“นักกีฬา E-Sport ประเทศไทยกับต่างประเทศยังมีความแตกต่างค่อนข้างเยอะโดยที่ต่างประเทศจะมีเงินเดือน ค่าตัวค่อนข้างสูงแต่ที่ประเทศไทยก็มีบางทีมที่มีเงินเดือนเหมือนกัน”

คุณอัลเลนกล่าวต่อว่า สมัยก่อนทุกคนอาจมีความคิดว่าเกมเป็นแค่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์อย่างเดียวเล่นแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่จริงๆ แล้วอยากจะให้ทุกคนพยายามที่จะเปลี่ยนความคิดซึ่งปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมเกมเติบโตมากเปิดเวทีให้ผู้เล่นที่มีฝีมือมาแสดงความสามารถตนอยากให้มองถึงความใฝ่ฝันของคนเล่นเกมคนหนึ่งที่มีฝีมือและรู้สึกว่าชอบเกมจริงๆและมีความตั้งใจอยากเป็นนักกีฬา E-Sport แล้วเขาได้มีโอกาสไปแข่งขันและได้รับเงินรางวัล

“ผมมองว่าปัจจุบันเกมเป็นอนาคตเป็นโอกาส อย่าคิดเพียงแค่ว่าอนาคตเขาจะเป็นนักแข่งของเกมอย่างเดียเขาอาจจะมีความสามารถอีกด้านหนึ่ง เช่น อาจพูดอยู่หน้ากล้องสามารถเป็นนักพากย์เกมได้ด้วย ซึ่งนักพากย์เกมก็เป็นอาชีพที่มีอนาคตเหมือนกันและอาจมีค่าตัวสูงมาก”

เตรียมรับมือกับ E-sport

แนวทางพัฒนาให้E-Sport เป็นที่รู้จักมากขึ้น?

คุณอัลเลนกล่าวว่า ปัจจุบันนี้ทางการีน่าก็จัดการแข่งขัน E-Sport ตลอดอยู่แล้ว และก็ตั้งมาตรฐานค่อนข้างสูงสามารถที่จะให้สังคมเข้ามาสัมผัสว่าจริงๆ E-Sport เป็นอย่างไร อนาคตของนักกีฬา E-Sport หน้าตาจะเป็นอย่างไรเพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือทางการีน่าจะเป็นช่องทางที่ให้ผู้เล่นมีโอกาสไปแข่งที่ต่างประเทศและไปพิสูจน์ตัวเองไม่ว่าจะติดต่อพาร์ทเนอร์ทั้งของไอที เกมมิ่งเกียร์ ฯลฯเพื่อจะหาสปอนเซอร์ให้กับทีมที่มีความสามารถ เพื่อให้เขาฝึกฝนตัวเองต่อไป

นอกจากนี้การีน่าก็พยายามผลักดันE-Sport โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนซึ่งที่ผ่านมาก็เคยจัดงานร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแน่นอนว่าทีมที่ชนะของการแข่งขันสามารถที่จะได้รับทุนการศึกษาซึ่งต่างประเทศก็เป็นเช่นนี้ และจุดนี้เองที่ประเทศไทยไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแต่ในปีนี้เราก็เริ่มร่วมมือกับหลายๆ มหาวิทยาลัย

ด้านคุณเสถียรบุญมานันท์ ประธานกรรมการ บริษัท นีโอลูชั่น เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัดและเป็นผู้สนับสนุนกีฬา E-Sportในประเทศไทยเจ้าแรกที่ให้เงินนักกีฬาไปแข่งขันที่ต่างประเทศกล่าวว่า E-sport ในต่างประเทศไปไกลแล้วยกตัวอย่างที่แฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี มีงานชื่อ ESL One Frankfurt 2016ซึ่งในการเข้าร่วมงานไม่ฟรีเหมือนที่ประเทศไทย โดยมีค่าตั๋ว 21.9 ยูโร จนถึง 299 ยูโรแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีผู้เข้าร่วมงาน 3 วัน รวมกันได้ถึง 120,000 คนและนักกีฬาที่นั่นสามารถทำเงินกันได้สูงมาก บางรายการเงินรางวัลสูงถึง 50 ล้านบาท แต่ทว่าในสังคมไทยพอฟังคำว่าเกมหรือคำว่า E-sport แทบจะไม่มีใครรู้จักเลยหลายคนจะมองเป็นสิ่งที่แย่ไปแล้ว

“นีโอลูชั่นเป็นเจ้าแรกในประเทศไทยที่ให้เงินกับนักกีฬาE-sport ไปแข่งขัน โดยเริ่มสนับสนุนนักกีฬา E-sport ตั้งแต่เมื่อ 7 ปี ที่แล้วและทุกวันนี้ก็ยังทำเหมือนเดิม เพราะผมเชื่อว่าเกมมีส่วนดี”

ขอบคุณที่มาและภาพประกอบ : pptvthailand.com/news/ไลฟ์สไตล์/33314

แชร์