เมื่อวินิจฉัยตามหลักธรรมกรณี คดี "รับของโจรและฟอกเงิน" ของหลวงพ่อธัมมชโย หมดสิทธิ์เป็นไปได้

เบื้องต้น ควรทราบหลักการสำคัญของอทินนาทานก่อนว่า มีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการกำหนดว่า เป็นอทินนาทาน อย่างไร เพื่อใช้เป็นหลักในการตัดสินอธิกรณ์ที่เกี่ยวด้วยการถือทรัพย์สิน และความเป็นอทินนาทานวินิจฉัยเรื่องการ รับของโจร และฟอกเงิน http://winne.ws/n14165

1.4 พัน ผู้เข้าชม
เมื่อวินิจฉัยตามหลักธรรมกรณี คดี "รับของโจรและฟอกเงิน" ของหลวงพ่อธัมมชโย หมดสิทธิ์เป็นไปได้แหล่งภาพจาก เสรีชน : เสรีธรรม


เมื่อวินิจฉัยตามหลักธรรมกรณี คดี "รับของโจรและฟอกเงิน" ของหลวงพ่อธัมมชโย หมดสิทธิ์เป็นไปได้

เบื้องต้น ควรทราบหลักการสำคัญของอทินนาทานก่อนว่า มีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการกำหนดว่า เป็นอทินนาทาน อย่างไร เพื่อใช้เป็นหลักในการตัดสินอธิกรณ์ที่เกี่ยวด้วยการถือทรัพย์สิน และความเป็นอทินนาทานวินิจฉัยเรื่องการ รับของโจร และฟอกเงิน ของพระสงฆ์

องค์ของอทินนาทาน (องค์ประกอบในการตัดสินว่า เป็นอทินนาทาน คือถือเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินที่เขาไม่ได้ให้ โดยอาการเป็นขโมย) 

       ๑. ปรปริคฺคหิตํ ทรัพย์นั้นมีเจ้าของ (คือถือกรรมสิทธิ์อยู่) 
       ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน คือเขายังไม่สละกรรมสิทธิ์ (ถ้าเขาให้ ก็ถือว่าเขาสละสิทธิ์ในการยึดครอง) 
       ๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก มีไถยจิต คือมีเจตนาจะลัก 
       ๔. อุปกฺกโม พยายามลัก 
       ๕. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น

ปโยค (ความพยายาม) ของอทินนาทาน มี ๖

       ๑. สาหตฺถิกปโยค ลักด้วยตนเอง
       ๒. อาณตฺติกปโยค ใช้ผู้อื่นลัก (กำหนดเวลา)
       ๓. นิสฺสคฺคิยปโยค ลักโดยทิ้งสิ่งของที่เสียภาษีให้พ้นเขตแดน
       ๔. ถาวรปโยค ลักโดยถาวร คือสั่งให้คนอื่นลักเวลาไหนก็ได้ เมื่อเขาลักได้มา (ตลอดที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นอทินนาทาน)
       ๕. วิชฺชามยปโยค ลักโดยใช้วิชาความรู้ในทางที่ผิด เช่น สกดให้เจ้าของหลับ, ลักทาง ATM 
       ๖. อิทฺธิมยปโยค ลักด้วยฤทธิ ด้วยเดช เช่น ดำดิน เหาะขึ้นฟ้า ไปลัก

ลักษณะการได้ทรัพย์นั้นมา (อวหาร) จะได้ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
       ๑. เถยยาวหาร โดยการขโมย 
       ๒. ปสัยหาวหาร โดยข่มขี่ ปล้นเอาซึ่ง ๆ หน้า โดยใช้กำลังประทุษร้าย 
       ๓. ปฏิจฉันนาวหาร ลักซ่อน ลักด้วยการปกปิดซ่อนเร้น เห็นของเขาตกอยู่แกล้งเอาวัตถุอื่นปิดไว้ไม่ให้เจ้าของเขาเห็น เป็นต้น หรือ… คอรัปชั่น กินตามน้ำ ไม่เสียภาษี, หนีภาษี…ปกปิดข้อมูล ของหนักไม่ถึงกิโลฯ บอกว่าได้กิโล, หรือของเขาได้น้ำหนักมาก ก็บอกว่าได้น้ำหนักน้อย…เป็นต้น 
       ๔. ปริกัปปาวหาร ลักโดยกำหนดของที่จะลัก เช่นตั้งใจลักกางเกง ไปยกกล่องมา ปรากฎว่าในกล่องไม่มีกางเกง มีแต่กระโปรง เปลี่ยนใจใหม่ว่า กระโปรงก็เอา, หรือกำหนดขอบเขตที่จะลัก ลักตามขอบเขตนั้น 
       ๕. กุสาวหาร ลักโดยสับสลาก สับเปลี่ยนสิ่งของ, สับเปลี่ยนชื่อของตนเอง เป็นต้น

หมายเหตุ : ข้อว่าด้วยอทินนาทานนี้ มีนัยะที่พิสดารอย่างมาก…ที่เป็นรายละเอียด ต้องศึกษาจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกาอรรถกถา เป็นคัมภีร์อธิบายพระวินัยปิฎกอย่างละเอียด, เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาแปลมคธเป็นไทย ของบาลีชั้นประโยค ป.ธ.๖ – ๗ ) ถ้าจะเรียนแบบง่าย ๆ ก็ต้องเรียนตามหลักสูตรของอภิธรรมชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกตรี (กัมมจตุกกะ)                                                    

เมื่อวินิจฉัยตามหลักธรรมกรณี คดี "รับของโจรและฟอกเงิน" ของหลวงพ่อธัมมชโย หมดสิทธิ์เป็นไปได้

วินิจฉัยเรื่องการ รับของโจร และฟอกเงินของหลวงพ่อธัมมชโย หรือไม่ ?
DSI ได้แจ้งข้อกล่าวหากับพระธัมมชโย ว่า 
       – รับของโจร
       – ฟอกเงิน

       การวินิจฉัยว่ารับของโจร ตามหลักวินัย ต้องเอาองค์ของอทินนาทาน เข้าไปจับ คือ ภิกษุที่จะลักสิ่งของ ต้องเข้าองค์ประกอบดังนี้

       ๑. ทรัพย์นั้น (เงิน) มีเจ้าของ (โดยหลักการทั่วไปต้องถือว่ามีเจ้าของ แม้ตกอยู่ หรือวางอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ก็ยังถือว่ามีเจ้าของ)
       ๒. รู้ว่าทรัพย์ (เงิน) นั้น เจ้าของยังหวงแหน คือยังไม่ได้สละให้ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ยกให้ (ประเคน), มอบให้ (กล่าววาจา), เซ็นต์ใบสั่งให้….เป็นต้น 
       ๓. มีจิตคิดจะลัก คือมีเจตนาถือเอาทรัพย์นั้นโดยที่เจ้าของเขายังไม่ได้ให้ (ตามข้อ ๒)
       ๔. มีความพยายาม ใช้ความพยายาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใช้มือ ใช้เท้า ใช้วาจาหว่านล้อม ใช้ยานพาหนะ หรือใช้วิชาอาคมต่าง ๆ ในการพยายามลักทรัพย์นั้น
       ๕. ได้ทรัพย์นั้นมา ด้วยความพยายามนั้น

       – ภิกษุรับสิ่งของที่เขาให้ เขาถวายให้ มอบให้ ไม่ผิดองค์อทินนาทาน เพราะไม่ได้ถือเอาโดยพละการ, รับเอาทรัพย์ที่เขาสละแล้ว (บริจาค) 
       – ในอาบัติปาราชิก สิกขาบทว่าด้วยข้ออทินนาทาน (ลักทรัพย์) นี้ เป็นสจิตตกะ คือต้องมีเจตนาในการที่จะลักทรัพย์ เมื่อทรัพย์นั้น เจ้าของเขาเอามาถวาย จึงถือว่าเขาได้ให้แล้ว ถ้าทรัพย์นั้น เป็นของไม่บริสุทธิ์ ก็ถือว่า ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้ (ทายก) 

        ในชั้นของผู้รับ (ปฏิคคาหก) ไม่จัดว่า “ไม่บริสุทธิ์” เพราะผู้รับไม่อาจล่วงรู้ได้ว่า ทรัพย์ที่มีผู้นำมาถวายนั้น เป็นของบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์…ฯ (มุ่งหมายเอาการได้มาของทรัพย์สินนั้น) ความบริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ (ปฏิคคาหก) ท่านมุ่งหมายเอา ความเป็นผู้บริสุทธิ์โดยศึล สมาธิ ปัญญาของตัวพระภิกษุ เท่านั้น 
       – ในกรณีนี้ การจะปรับอาบัติถึงปาราชิก (ขาดจากความเป็นภิกษุ) ในชั้นต้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะไม่ครบองค์ประกอบของอทินนาทาน ในส่วนลึก ๆ ก็ต้องพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน…อย่างที่เคยวินิจฉัยไว้แล้ว 
       
       ในทางวินัยบัญญัติ ไม่มีเจตนาลักขโมย หรือยักยอก…ก็ไม่เป็นอาบัติปาราชิก ถ้ามีเจตนาลักขโมย ยักยอกเข้าตามหลักเกณฑ์องค์ประกอบ ก็เป็นอาบัติปาราชิก…ฯ 

ที่มา: http://dhamma.serichon.us/ปกิณกะ/วินิจฉัยเรื่องการ-รับขอ/

แชร์