หลายคนสงสัย ทำบุญต้องมีพิธีกรรม เวิ่นเว้อเว่อร์วังอลังการแบบนี้เชียวเหรอ ?

หลายคนยังสงสัยว่า ทำไมทำบุญต้องมีพิธีกรรม เวิ่นเว้อเว่อร์วังอลังการ มันมีประโยชน์อันใด ประโยชน์จะเกิดตอนไหน? http://winne.ws/n14178

1.1 พัน ผู้เข้าชม

เป็นคำถามในใจของหลายคนที่ยังไม่เข้าใจพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ว่าทำไมต้องทำเว่อร์วังลังการเกินไปไหม ทำไปเพื่ออะไรวันนี้

แอดมินจะขอนำบทความดี ๆ จากเพจพระอาจารย์สุริยา นาควีโร ที่ตอบคำถามนี้ได้ชัดเจนเลยทีเดียว

ขอวิสัชนา ดังนี้ ...

ปกติการเกิดของบุญ จะเกิดสมบูรณ์เมื่อ บุญนั้นทำสำเร็จแล้ว เช่น ฝากเงินเพื่อนเป็นทอดๆไปทำบุญ บุญนั้นจะสำเร็จก็ต่อเมื่อปัจจัยนั้นไปถึงมือผู้รับเรียบร้อย ดังนั้น การฝากเงินไปทำบุญ 100 บาท กับโอนเงินเข้าบัญชีทำบุญ 100 บาท ได้บุญเท่ากัน ต่างกันแค่ระยะเวลา กับวิธีการเท่านั้น 

ประโยชน์ของพิธีกรรม คือ ทำให้เกิด "ภาพ" มากมายขึ้นในใจ ไล่ตั้งแต่ภาพ "สวด" "ร้อง" "ฆ้อง" "ป่าว" "ประกาศ" "พูด" "ขุด" "แบก" "ตอก" "หาม" "แห่" "เดิน" "ประเคน" "ถวาย" ฯลฯ ก็แล้วแต่จะให้มีพิธีการอะไรบ้าง 

ซึ่งภาพเหล่านี้จะมีประโยชน์ ในการเอาไปใช้ในการตรึกระลึกถึงบุญได้เป็นอย่างดี เพราะการนึกด้วยภาพ ง่ายกว่าการนึกแบบไม่มีภาพ การนึกถึงบุญบ่อยๆ ก็ได้บุญบ่อยๆ นึกทุกวันก็ได้บุญทุกวัน การนึกถึงบุญ คือการเอาบุญใหม่ไปดึงบุญเก่าๆในอดีตทั้งที่จำได้ จำไม่ได้ ในอดีตชาติอันไกลโพ้นให้มารวมกัน เพื่อจะได้มีกำลังส่งผลทันในชาตินี้ นอกจากนั้นภาพบุญ จะถูกนำไปใช้ครั้งสุดท้ายแต่ "สำคัญ" ที่สุดในชีวิต คือ ตอนกำลังใกล้จะตาย 

เพราะตอนกำลังจะตาย ที่เขาเรียกว่า "ศึกชิงภพ" ในขณะที่ร่างกายกำลังจะหมดเรี่ยวแรง หัวต่อกายกำลังจะหลุดออกจากกัน จิตจะเกิดภาพขึ้น 3 ชนิด คือ ...

1. กรรมารมณ์ คือ ภาพการกระทำของเราทั้งหมด ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งกรรมดี กรรมชั่ว จะมาฉายให้เห็น เช่นภาพ ทำบุญทำทาน ทอดกฐิน ผ้าป่า ฆ่าปลา ฆ่าไก่ เป็นต้น 

2. กรรมนิมิตตารมณ์ คือ ภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายจะมาปรากฏให้เห็น เคยใช้ครกทำส้มตำถวายพระ ก็อาจจะเห็นภาพครกกับสาก เคยใช้มีดฆ่าปลา ก็เห็นมีด เป็นต้น 

3. คตินิมิตตารมณ์  คือ ภาพคติ ที่จะไปเกิด เช่น เห็นภาพสุนัข ก็แสดงว่าจะไปเกิดเป็นสุนัข เห็นไฟนรกก็แสดงว่าจะไปเกิดในนรก เป็นต้น

ภาพทั้งสามอย่างนี้หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นภาพการทำความดี ใจก็จะผ่องใส ถ้าเป็นภาพทำความชั่ว ใจก็จะเศร้าหมอง

การหมั่นสะสมภาพดีๆเยอะๆย้ำๆซ้ำๆ ไว้ในใจ จึงมีประโยชน์ ในการเอามาใช้ดังกล่าว โดยเฉพาะตอนก่อนตาย เพราะต่อให้พลั้งเผลอทำชั่วมาตลอดชีวิต ถ้าก่อนตายสามารถนึกภาพดีๆได้ กรรมนั้นก็จะเป็น "ชนกกรรม" หรือ กรรมนำไปเกิดก่อน (กรรมไม่ดี ก็ยังอยู่ แต่ให้ผลทีหลัง ซึ่งหากสามารถสั่งสมบุญต่อยอดเพิ่มได้ในภายหลัง อกุศลกรรมนั้น ก็อาจจะตามไม่ทัน เป็นอโหสิกรรมไปได้)

ยกตัวอย่าง คนเคยตำส้มตำถวายสังฆทานพระ 1 หมื่นรูป เกิดพลั้งพลาด ตกนรกไป ขณะนายนิรบาลกำลังทรมาณตนอยู่นั้น บังเอิญได้ยิน เพื่อนสัตว์นรก กำลังถูกทุบหัว โป๊กๆ อยู่ เกิดนึกถึงบุญ เป็นเสียงตำส้มตำของตนได้ บุญนั้นก็อาจจะช่วยตัดรอนให้พ้นจากการถูกทรมาณในนรกทันที

ดังนั้น การทำบุญ จึงต้องไม่เบื่อพิธีกรรม เพราะแม้มันอาจจะเวิ่นเว้อ แต่ก็มีประโยชน์กว่าทำแบบ "ลวกๆ" เยอะเลย

หลายคนสงสัย ทำบุญต้องมีพิธีกรรม เวิ่นเว้อเว่อร์วังอลังการแบบนี้เชียวเหรอ ?

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10212355527304911&id=1281720771

แชร์