เมื่อพ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก พ่อแม่ควรรู้ว่าสิ่งที่ลูกจะได้รับ คืออะไร

การลงทุนที่ดีที่สุด คือไม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ถ้าห้ามไม่ได้จริง ๆ ขออย่าใช้อารมณ์ ควรพูดคุยกันด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ จะได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก เพราะถ้าเราตั้งใจเลี้ยงเขาให้ดีทั้งกายและใจแล้ว เขาคือความภาคภูมิใจที่สุดของพ่อแม่มิใช่หรือ ??? http://winne.ws/n14191

886 ผู้เข้าชม
เมื่อพ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก พ่อแม่ควรรู้ว่าสิ่งที่ลูกจะได้รับ คืออะไร

เมื่อพ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก พ่อแม่ควรรู้ว่าสิ่งที่ลูกจะได้รับ คืออะไร 

1. พุ่งประเด็นไปที่ปัญหาเป็นหลัก การส่งเสียงดังอาจจะทำให้ลูกของเราคิดได้ว่าพ่อแม่ของเขานั้นไม่รักกันแล้ว ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในครอบครัว ซึ่งจะมีผลต่อความคิด คำพูด การกระทำของลูกได้

2. หลีกเลี่ยงเรื่องของผู้ใหญ่

เรื่องของผู้ใหญ่ในที่นี่หมายถึง บุคคลที่สามที่เป็นบุคคลในครอบครัวของฝ่ายให้ฝ่ายหนึ่งให้ลูกได้ยินเช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น เพราะเด็ก ๆ ยังมีวุฒิภาวะไม่มากพอที่จะเข้าใจหรือรับฟังปัญหานี้ ถ้าอยากที่จะพูดคุยกันถึงปัญหาเรื่องนี้จริง ๆ แล้วละก็ ควรที่จะไปคุยกันในที่ส่วนตัวสองคนมากกว่าค่ะ

3. เรื่องการตัดสินใจของลูก

ในบางครั้งการตัดสินใจของลูก อาจจะเป็นที่ไม่พอใจของพ่อหรือแม่ โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเห็นด้วยและพร้อมที่จะเคารพการตัดสินใจของลูก หรือไม่เห็นด้วย การที่พ่อแม่ทะเลาะกันด้วยเรื่องนี้ต่อหน้าลูกนั้น อาจจะทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยได้นะคะ ยกตัวอย่างเช่น ที่พ่อหรือแม่ไม่เห็นด้วยนั้นต้องเป็นเพราะไม่รักและไม่เข้าใจเขาแน่ ๆ

4. รีบแก้ปัญหาสรุปจบก่อนที่ทุกอย่างจะบานปลาย

ณ จุดนั้นความสดใสร่าเริงของลูกอาจจะเริ่มลดลง และถ้าหากปัญหาดังกล่าวนั้นยังไม่สิ้นสุด ลูกยังคงเห็นว่า พ่อกับแม่ยังไม่คุยกันทั้งยังมีท่าทีไม่พอใจใส่กันด้วยแล้วนั้น กิริยาเหล่านี้แหละค่ะที่จะยิ่งทำให้ลูกของเรารู้สึกแย่และกลายเป็นเด็กเก็บตัวมากขึ้น

5. ให้แน่ใจว่าลูกรับรู้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นแก้ไขแล้ว

ไม่มีเด็กคนไหนหรอกค่ะที่อยากเห็นพ่อแม่ไม่รักกัน ดังนั้นหากปัญหาของคุณแก้ไขหรือตกลงกันได้แล้วนั้น คุณก็ควรที่จะบอกลูก ๆ ด้วยนะคะว่า พ่อกับแม่เข้าใจกันแล้วนะลูก เราสองคนรักกันเหมือนเดิม และที่สำคัญพวกเรารักลูกมากนะ

    6. พูดคุยกับลูก

    หลังจากที่คุณทะเลาะกันต่อหน้าลูกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรทำก็คือ เข้าไปพูดคุยกับเขาค่ะ ไม่จำเป็นที่คุณจะเข้าไปคุยพร้อมกันสองคน เพราะมันจะดูเป็นทางการจนเกินไป ผลัดกันเข้าไปคุยกับเขา โดยอาจจะเริ่มประโยคที่ว่า “พ่อ/แม่ ขอโทษนะลูก ที่ต้องให้หนูมาเห็นเหตุการณ์ที่พ่อกับแม่ทะเลาะกันเมื่อสักครู่นี้ ไม่ต้องกลัวว่าพ่อแม่จะไม่รักหนูนะจ้ะ พ่อกับแม่ไม่เข้าใจกันนิดหน่อย แต่เดี๋ยวทุกอย่างก็จะเคลียร์และดีขึ้นได้เอง หนูไม่ต้องห่วงนะ” การพูดในลักษณะนี้กับลูก จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองนั้นยังสำคัญอยู่ และเขาก็ไม่ได้สูญเสียใครคนใดคนหนึ่งไป

    7. อย่าบังคับให้ลูกต้องเป็นฝ่ายเลือก

    บังคับให้ลูกเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การบังคับให้ลูกตัดสินใจเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำมาก ๆ ค่ะ เพราะการที่ลูกต้องเลือกทั้ง ๆ ที่่ใจไม่อยากทำนั้น จะไปส่งผลถึงจิตใจของลูกซึ่งอาจจะทำให้พวกเขารู้สึกลำบากใจ และรู้สึกผิดกับอีกฝ่ายที่พวกเขาไม่ได้เลือกได้

    8. หากิจกรรมอะไรให้ลูกทำร่วมกันกับครอบครัว

    หลังจากที่ทะเลาะกันแล้ว ไม่ว่าปัญหาจะจบสิ้นแล้วหรือยัง สิ่งที่พวกเราควรทำก็คือ หากิจกรรมอะไรให้ลูกทำ เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและไม่หมกมุ่นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากจนเกินไป โดยคุณอาจจะพาลูกไปดูหนัง ทานข้าว เล่นเกมส์ ว่ายน้ำ หรือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่มั่นใจว่าลูกจะสามารถลดความเครียดดังกล่าวได้

    จะเห็นแล้วว่า การทะเลาะกันต่อหน้าลูกนั้นเปรียบเสมือดาบสองคม คมแรกก็ส่งผลดีให้กับพวกเขาได้เข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะลูก ๆ รู้แล้วว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะช้าหรือว่าเร็ว และปัญหาก็ไม่ใช่จุดจบของทุกสิ่ง แต่คมดาบสุดท้ายที่อันตรายที่สุดก็คือ ลูก ๆ ของเราอาจจะกลายเป็นเด็กเก็บความรู้สึก ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนปกติ และอาจจะแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อคนในครอบครัว คนรอบข้าง รวมถึงคุณครูและเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน หรือแย่ที่สุดคือ ลูก ๆ หันไปคบเพื่อนที่ไม่ดี หรืออาจจะหันไปพึ่งยาเสพติดเพื่อเป็นที่พักทางใจก็เป็นได้

    ข้อคิดสะกิดใจ การลงทุนที่ดีที่สุด คือไม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ถ้าห้ามไม่ได้จริง ๆ ขออย่าใช้อารมณ์ ควรพูดคุยกันด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบสุภาพต่อกัน จะได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นอีกด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องที่สร้างความไม่มั่นใจในครอบครัวกับลูก ควรคุยกันเพียงสองคนเท่านั้น จะดีที่สุด เพราะถ้าเราตั้งใจเลี้ยงเขาให้ดีทั้งกายและใจแล้ว เขาคือความภาคภูมิใจของพ่อแม่มิใช่หรือ ???

    ที่มา: WomansDay

    ที่มา https://th.theasianparent.com/8-ข้อที่พ่อแม่ควรรู้-หากทะเลาะกันต่อหน้าลูก/2/

    แชร์