จับตา! กฎหมายรัฐธรรมนูญ ม.77 ที่ให้ฟังเสียงประชาชนก่อนออกกฎหมาย แล้วรัฐจะยอมฟังหรือไม่ ?

วานนี้ (8เม.ย.) นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ตอบคำถามกรณีที่หลายฝ่ายมีความกังวลเกี่ยวกับหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ระบุถึง ม.77 ว่าด้วยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น http://winne.ws/n14734

726 ผู้เข้าชม
จับตา! กฎหมายรัฐธรรมนูญ ม.77 ที่ให้ฟังเสียงประชาชนก่อนออกกฎหมาย แล้วรัฐจะยอมฟังหรือไม่ ?

หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญไปเมื่อวันที่ 6 เมษายน ผลกระทบโดยตรงก็คือ ม.77 ที่ให้ฟังเสียงประชาชนก่อนออกกฎหมายรัฐจะฟังจริงหรือไม่?

วานนี้ (8เม.ย.)นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ตอบคำถามกรณีที่หลายฝ่ายมีความกังวลเกี่ยวกับหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ระบุถึง ม.77 ว่าด้วยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิด เกี่ยวกับการตรากฎหมาย หรือการประเมินผลกระทบในทางที่ดีหรือไม่ดี ตรงนี้จะทำให้เสียเวลา หรือทำให้เกิดความวุ่นวายกล่าวว่า เป็นเรื่องดีเสียอีกที่จะได้รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะสังคมเราถ้ามีความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน คงไม่มีใครที่อยากได้ฝ่ายเดียว  และเชื่อว่าความเห็นต่างจะสามารถหาข้อยุติได้

เนื้อหาของม.77 เป็นการเปิดพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนผ่านกฎหมายใดก็ตามโดยรายละเอียดระบุว่า

มาตรา ๗๗ รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดำเนินการให้ประชาชน เข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผย ผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณา ในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว

รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จำเป็น พึงกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการดำเนินการตาม ขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน และพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง

ตัวแทนของสนช.ที่มีหน้าที่ผ่านกฎหมายโดยตรงอย่าง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) กล่าวว่าเมื่อมีการประกาศใช่้รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว หากกระทรวงใดจะเสนอกฎหมาย ต้องผ่านกฤษฎีกาตรวจสอบ ก่อนส่งมาที่ สนช. หากไม่สมบูรณ์ต้องส่งกลับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข แล้วเสนอ คณะรัฐมนตรีก่อนส่งมา สนช.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง วิปสนช.ก็จะทำหน้าที่ตรวจทานว่าตรงตามม.77หรือไม่ แล้วจึงนำไปทำประชาพิจารณ์รับฟังเสียงต่อไป

ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีแจงว่า การออกมาตรา 44 ของคสช. นั้นก็สามารถทำได้หลังจากนี้ต้องดำเนินการรับฟังความเห็นประชาชนตาม ม.77 ที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า ไม่ต้อง สิ่งที่จะยกเว้นออกไป คือ การออกพระราชกำหนด การใช้อำนาจตาม ม.44 แม้จะเป็นการออกกฎหมาย แต่เป็นมาตราที่กำหนดในมาตรา 265 เป็นเอกเทศต่างหาก และอาจจะเหนือกว่า ม. 77 ด้วยซ้ำไป

หรือสรุปว่า ม.44 สามารถออกมานำไปใช้ได้โดยไม่ต้องฟัง ม.77 ของรัฐธรรมนูญใหม่ที่ต้องเปิดรับฟังประชาชน

ที่มา : http://news.voicetv.co.th/thailand/478728.html

แชร์