ทำไมต้องขนทรายเข้าวัดและทำในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ?

‘ขนทรายเข้าวัด’ เราต้องขนเข้าวัด เพราะมีความเชื่อในการถอดรองเท้าไว้นอกวัด ทำให้เมื่อเข้ามาในตัววัด ต้องเดินเท้าเปล่าขึ้นไปบนวิหาร http://winne.ws/n14877

6.7 พัน ผู้เข้าชม

ประเพณีขนทรายเข้าวัดและพิธีก่อกองทรายในเทศกาลสงกรานต์

ทำไมต้องขนทรายเข้าวัดและทำในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ?

ขนทรายเข้าวัด’ คืออะไร?แล้วทำไมเราต้องขนเข้าวัด ?

เมื่อพูดถึงสงกรานต์ หลายคนอาจจะคิดถึงเทศกาลเล่นน้ำ สาดน้ำ อันเลื่องชื่อระดับโลกของไทยเราเป็นแน่ แต่คุณลืมไปหรือเปล่า ว่ากิจกรรมวันสงกรานต์นั้น นอกเหนือจากการเล่นน้ำแล้ว การเข้าวัด ทำบุญ ก็นับว่าเป็นกิจกรรมสำคัญหลักๆ ที่อยู่คู่มากับเทศกาลตั้งแต่อดีตเลยก็ว่าได้!

ทุกคนคงจะเคยได้ยินคำที่ว่า "ทำบุญ ขนทรายเข้าวัด "ในวันสงกรานต์ กันมาบ้างแล้ว แต่มันเกี่ยวอะไรกับการทำบุญในวันสงกรานต์บ้างนะ แล้วเราจำเป็นต้องทำหรือเปล่า ?

ประเพณีขนทรายนี้ เป็นมายังไงกัน?ในสมัยก่อน มีเรื่องเล่าขานกันว่า ทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้ว เวลาเดินออกจากวัดจะมีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำของจากวัดออกไปด้วย จึงมีความเชื่อในเรื่องของการขนทรายเข้าวัด หรือการก่อพระเจดีย์ทราย เพื่อเป็นการคืนทรายให้กับทางวัดนั่นเอง

การขนทรายอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน นิยมขนทรายในวันที่ 14 เมษายน แต่ที่จังหวัดน่าน บางแห่งก็นิยมขนทรายในวันที่ 15 เมษายน

แต่ถึงอย่างไรแล้วแต่ การก่อพระเจดีย์ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำในสมัยนั้น เพราะเมื่อถึงตอนเย็นๆ ชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำ แล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ นอกจากจะเป็นการพบปะ ได้พูดคุยกันในชุมชนแล้ว ยังช่วยให้ชาวบ้านมีความสามัคคี ช่วยเหลือ และมีกิจกรรมร่วมกัน

เมื่อขนทรายเข้าวัดแล้ว บางครั้ง ทรายก็จะล้นวัด พระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิม ฉะนั้นแล้ว เวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น เพราะจะสร้างความลำบากให้พระเณร หรือชาวบ้านที่มาอาสาช่วยเหลือได้ในภายหลัง

สาเหตุที่ต้องขนทรายเข้าวัดนอกจากความเชื่อเรื่องของการนำทรายออกจากวัด แล้วชาวบ้านต้องนำมาคืนแล้ว การขนทรายเข้าวัด ยังมีสาเหตุหลายประการ คือ

เมื่อวัดมีการก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น โบสถ์ วิหาร ในอดีต สมภารจึงขอแรงชาวบ้านที่ยังหนุ่มและสาวช่วยกันขนทรายเข้ามากองไว้ เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันที่ชาวบ้านว่างงานการทั้งหลาย และน้ำในแม่น้ำแต่ละสายแห้งขอดเขินเนินทราย สามารถนำทรายขึ้นฝั่งได้ง่าย ชาวบ้านก็จะลงแรงนำทรายดังกล่าวมาไว้ เพื่อให้ทางวัดได้ใช้ในการก่อสร้างต่อไปคนสมัยก่อนไม่นิยมสวมรองเท้าเข้าวัด 

เพราะมีความเชื่อในการถอดรองเท้าไว้นอกวัด ทำให้เมื่อเข้ามาในตัววัด ต้องเดินเท้าเปล่าขึ้นไปบนวิหาร และถ้าหากวัดที่มีทรายมาก จะช่วยให้เท้าเปล่าๆ ของญาติโยมทั้งหลายไม่เปื้อนไปด้วย ถือเป็นการอำนวยความสะดวกอีกหนทางให้กับผู้เข้าวัด และง่ายต่อการทำความสะอาดนั่นเอง

วัดเป็นสถานที่รื่นรมย์ที่เรียกกันว่าอาราม การมีทรายอยู่ในวัดมาก ทำให้วัดสะอาดน่าอยู่ ประชาชนจึงนิยมขนทรายเข้าไปในวัดกันเสมอมาวัดที่มีทรายมากป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น หรือมีหญ้าขึ้นบ้างก็ถอนง่ายกว่าหญ้าที่ขึ้นบนดินล้วนๆ วัดจึงนิยมนำทรายเข้าวัด เพื่อป้องกันหญ้าขึ้น 

จะเห็นได้ว่า การขนทรายเข้าวัดนั้น แม้ส่วนนึงจะเป็นความเชื่อเรื่องบาปบุญ การนำของออกจากวัด แต่แท้จริงแล้วล้วนมีกุศโลบายอันแยบคายอยู่ และเมื่อถึงในยุคปัจจุบัน การขนทรายเข้าวัดก็ได้ลดความนิยมลดลง เนื่องจากทรายใม่ใช่สิ่งของที่หายาก ขนย้ายยากอีกต่อไป

ไม่ใช่แค่ขนทรายเข้าวัด แต่การทำบุญวันสงกรานต์ ยังมีอย่างอื่นอีก!ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นปีใหม่ไทย แต่ก็นับได้ว่า เป็นอีกหนึ่งวันที่เหมาะกับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ด้วยการทำสิ่งดีๆ อย่าง การทำบุญอีกด้วย แล้วสงกรานต์นี้ จะทำบุญอย่างไรกันดีนะ ?

ทำบุญตักบาตร และปล่อยนกปล่อยปลาในอดีต เมื่อถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะพากันตื่นแต่เช้ามืด เตรียมหุงข้าวต้มแกง เพื่อนำไปทำบุญที่วัด ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่สีสันสดใสโดยการทำบุญในช่วงสงกรานต์นี้ จะทำขนมพิเศษ 2 อย่าง ได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือกะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญอย่างวันปีใหม่อีกด้วย

ส่วนการทำบุญ ด้วยการปล่อยนกปล่อยปลานั้น คือการแพร่ขยายพันธุ์สัตว์ให้คงอยู่ไปชั่วลูกชั่วหลาน แต่ในปัจจุบัน การซื้อสัตว์ไปปล่อยในตัววัดอาจจะไม่ได้บุญเท่าที่ควร รวมไปถึงบางวัดงดเว้นการปล่อยนกปล่อยปลาจากพ่อค้าแม่ค้าหัวหมอ คุณสามารถลองเปลี่ยนไปไถ่ชีวิตโคกระบือ อาจจะให้ผลที่ดีกว่า"ทำบุญอัฐิ"

วันสงกรานต์นั้น เนื่องจากครอบครัวได้พบปะหร้อมหน้ากันแล้ว จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การทำบุญอัฐิได้รับความนิยมกันในวันสงกรานต์ ส่วนมากจะนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิ ก็จะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้ว ก็เผากระดาษแผ่นนั้น ซึ่งการทำบุญอัฐินั้น จะทำในวันไหนก็ได้สุด แต่จะนัดหมายกัน"สรงน้ำพระ"มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่ไทย โดยชาวบ้านจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ เพื่อความเป็นสิริมงคล บางแห่งมีการอัญเชิญพระพุทธรูปแห่แหนไปรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้สรงน้ำกันอย่างทั่วถึง หรือจะอัญเชิญพระพุทธรูปจากหิ้งบูชาในบ้านมาทำพิธีสรงน้ำกันในหมู่ญาติพี่น้องก็ได้

หรือชาวบ้านจะได้ไปชุมนุมกันที่วัด นิมนต์พระในวัดมายังสถานที่ประกอบพิธี การรดน้ำควรรดที่มิอของท่าน ไม่ควรตักราดเหมือนกับเป็นการอาบน้ำจริงๆ น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำฝนหรือน้ำสะอาดผสมน้ำอบไทย เมื่อสรงน้ำแล้วพระท่านก็จะให้ศีลให้พรเพื่อความเป็นสิริมงคล

นอกจากเล่นน้ำสงกรานต์แล้ว ไหนๆ ก็วันหยุดยาวทั้งที อย่าลืมหาโอกาสไปทำบุญ เข้าวัด เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นการเตือนสติของตัวเองกันด้วยล่ะ แล้วปีใหม่ไทยนี้ คุณจะได้เริ่มต้นชีวิตด้วยสิ่งดีๆ อย่างแน่นอน!

Cr.Panyawa...#//////////////////line@ศูนย์อบรมเยาวชนเพชรบุรี


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1802929136691945&id=1557276754590519

ประเพณีขนทรายเข้าวัดและพิธีก่อกองทรายในเทศกาลสงกรานต์

ทำไมต้องขนทรายเข้าวัดและทำในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ?

ประเพณีขนทรายเข้าวัดและพิธีก่อกองทรายในเทศกาลสงกรานต์

ทำไมต้องขนทรายเข้าวัดและทำในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ?

ประเพณีขนทรายเข้าวัดและพิธีก่อกองทรายในเทศกาลสงกรานต์

ทำไมต้องขนทรายเข้าวัดและทำในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ?

ประเพณีขนทรายเข้าวัดและพิธีก่อกองทรายในเทศกาลสงกรานต์

ทำไมต้องขนทรายเข้าวัดและทำในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ?
แชร์