เหตุแห่งความทะยานอยากของมนุษย์ คืออะไร ???

การกระทำอันเป็นบาป เช่น การฆ่ากัน, การทะเลาะกัน, การแก่งแย่ง, การว่ากล่าว, การพูดส่อเสียด, การพูดเท็จเป็นต้น จิตของคนเราถูกอวิชชาครอบงำ ผูกต่อกัน เป็นลูกโซ่ของความอยาก พร่องอยู่เป็นนิตย์ http://winne.ws/n14896

1.5 พัน ผู้เข้าชม
เหตุแห่งความทะยานอยากของมนุษย์ คืออะไร ???แหล่งภาพจาก 7meditation.blogspot.com

ส่วนประกอบความทะยานอยาก  ของคนเราอาศัย ความพอใจ จึงเกิด ความอยาก

อาศัย ความอยาก จึงเกิด การแสวงหา

อาศัย การแสวงหา จึงเกิด ลาภ

อาศัย ลาภ จึงเกิด การตกลงใจ

อาศัย การตกลงใจ จึงเกิด ความรักใคร่ผูกพัน

อาศัย ความรักใคร่ผูกพัน จึงเกิด การพะวง

อาศัย การพะวง จึงเกิด การยึดถือ

อาศัย การยึดถือ จึงเกิด ความตระหนี่

อาศัย ความตระหนี่ จึงเกิด การป้องกัน

อาศัย การป้องกัน จึงเกิด อกุศลธรรม

กุศลธรรม - อกุศลธรรม (จิตที่ฉลาด มีปัญญา มีเหตุผล สงบเย็น - จิตที่ไม่ฉลาด ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัวฟุ้งซ่าน) 

การกระทำอันเป็นบาป เช่น การฆ่ากัน, การทะเลาะกัน, การแก่งแย่ง, การว่ากล่าว, การพูดส่อเสียด, การพูดเท็จเป็นต้น จิตของคนเราถูกอวิชชาครอบงำ ผูกต่อกัน เป็นลูกโซ่ของความอยาก พร่องอยู่เป็นนิตย์

ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกนี้ หาทางดับความพอใจละความทะยานอยากซึ่งเป็นสันดานที่นอนเนื่อง อยู่ภายในจิตของตนเอง โดยวิธีการศึกษาเรื่องของปฏิจจสมุปบาท อันเป็นธรรมวิชชา ของพระพุทธเจ้า เป็นตัวดับอกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งอกุศลธรรมเป็นปัจจัยให้มนุษย์ เราตกอยู่ในกองทุกข์ที่เร่าร้อนก็จะดับ ความสงบใจ ความอิ่มใจ ความพอดีก็จะเกิดขึ้น ภายในจิตของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม 

ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมสัจจะที่จำเป็นสำหรับพุทธบริษัทที่จะต้องศึกษา เพราะปฏิจจสมุปบาท คือแนวทางที่จะเรียนรู้เข้าใจถึงสภาพจิตของมนุษย์เราด้วยการ ปฏิบัติธรรม คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยการใช้สติปัญญาพิจารณากาย , เวทนา, จิต, ธรรม เพื่อให้รู้ทุกข์ ให้รู้เหตุเกิดของทุกข์ ให้รู้การดับทุกข์ ให้รู้ปฏิปทาที่ จะให้ถึงความดับทุกข์ได้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรมจนเกิดวิชชา เพราะวิชชาเกิด อวิชชาจจึงดับ 

ปฎิจจสมุปบาท แยกออกเป็นหลายรูปแบบหลายนัย เมื่อแจงออกมาแล้วทำให้ ผู้ปฎิบัติเกิดความเข้าใจ จนเกิดปํญญาเป็นวิชชาขึ้นมาได้ โดยการปฎิบัติไปตามวงจร ของปฎิจจสมุทปบาท คือ เข้าสู่การดับเป็นขั้นตอน ไปจนเกิดวิชชารู้แจ้งในสังสารวัฎ หายสงสัยในเรื่อง การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย จนเกิดญาณปัญญา รู้ทุกข์ เห็น ทุกข์เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ของความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เข้าใจจน พาตัวเองออกจากวงจรของปฎิจจสมุปบาทได้ สามารถดับกิเลส ตัณหา อุปทานได้หมด จนถึงมรรค 4 ผล 4 นิพาน 1 คือ เข้าถึงการดับ เป็นอรหัตตมรรค อรหัตตผล เข้าสู่ นิพานอันเป็นยอดแห่งคุณธรรมของเทวดา และมนุษย์

พระพุทธเจ้า

ทรงรู้ว่า "อวิชชา" คือ ตัวตัวเหตุของความทุกข์ อวิชชา คือจิตที่ไม่รู้จิตในจิต ตัวเองหลงจิตจึงจึงทรงใช้มรรคอริยสัจ คือ ตัวรู้ ตัววิชชา (วิชชา คือจิตที่รู้จิต) เข้าประหารอนุสัยที่นอนเนื่องในสันดาน จนพระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในโลกทั้ง สาม รู้จักตัวตนว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงรูปธาตุ นามธาตุ

อวิชาจึงดับด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ทรงเข้าถึงการดับโดยแท้จริง ดับสภาพ ปรุงแต่งของสังขารด้วยมรรคสัจ ทรงประหารอวิชชา ทรงพ้นจากบ่วงของการเกิด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง จนเป็นวิชา เป็นแสงแห่ง คุณธรรมที่สว่างอยู่ในจิตใจของผู้ปฎิบัติ โลกของผู้ปฎิบัติจึงสงบร่มเย็นอยู่จนปัจจุบันนี้

วิชชาของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดับทุกข์ เป็นยาดับโรคของความอยากซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ของความหลงในวัฎฎสังสารของมนุษย์

การเกิดของปฎิจจสมุปบาท

สาเหตุของการเกิดปฏิจจสมุปบาทเพราะว่า 

อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร 

สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ 

วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป 

นามรูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ 

สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ 

ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา 

เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา 

ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน 

อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ 

ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ 

ชาติ เป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส 

ความเกิดของกองทุกข์ทั้งหมดนี้เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาท" 

ปฏิจจสมุปบาทจะดับได้เพราะ 

อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ 

สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ 

วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ 

นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ 

สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ 

ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ 

เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ 

ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ 

อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ 

ภพ ดับ ชาติ จึงดับ 

ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vimokkha.com/paticcat.htm

แชร์