คุณจะเชื่อใคร????คนที่พูดเก่งแต่ไม่ทำ หรือ คนที่ทำเก่งแต่ไม่พูด

ดูคนที่การกระทำให้มากกว่าคำพูด จะได้ไม่ลำเอียงตัดสินคนผิดๆ เพราะคนที่พูดเก่ง อาจจะทำอะไรไม่เป็นก็ได้ และคนที่เก่งจริง ตั้งใจทำงานจริง เขาอาจไม่ชอบพรีเซ็นต์ตัวเองก็ได้ http://winne.ws/n15038

4.9 พัน ผู้เข้าชม
คุณจะเชื่อใคร????คนที่พูดเก่งแต่ไม่ทำ หรือ คนที่ทำเก่งแต่ไม่พูด

ดูคนที่การกระทำให้มากกว่าคำพูด จะได้ไม่ลำเอียงตัดสินคนผิดๆ เพราะคนที่พูดเก่ง อาจจะทำอะไรไม่เป็นก็ได้ และคนที่เก่งจริง ตั้งใจทำงานจริง เขาอาจไม่ชอบพรีเซ็นต์ตัวเองก็ได้ 

คนที่เป็นเจ้านายก็ต้องหัดสังเกตลูกน้องให้เป็น ไม่ใช่สนใจแต่คนประจบเอาใจเก่งเท่านั้น

แต่ถ้าใครพูดไม่เก่ง ก็ขอแนะนำให้หัดเพิ่มเติม เพราะเป็นเรื่องจำเป็นในการทำงานและการอยู่ร่วมกัน 

เราจะรอให้คนอื่นเขาเห็นผลงานเอง หรือเข้าใจสิ่งที่เราตั้งใจทำเอาเอง บางทีเขาก็ไม่เห็นเหมือนกันเพราะแต่ละคนก็มีเรื่องเข้ามาในชีวิตมากมายนัก ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องหัดนำเสนอให้เป็นด้วย

ซึ่งคนนำเสนอเป็นไม่จำเป็นต้องพูดน้ำไหลไฟดับ คุยได้ตลอดเวลา แต่ขอให้ฝึกพูดโดยใช้หลักการของวาจาสุภาษิตเพราะ...

“คนฉลาดไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย

คนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด”

คุณจะเชื่อใคร????คนที่พูดเก่งแต่ไม่ทำ หรือ คนที่ทำเก่งแต่ไม่พูด

...องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต...

1. ต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้น เป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความ ต้องเป็นเรื่องจริง 

2. ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะ ที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ

3. พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟัง ถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพ แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด

4. พูดด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมี ความสุข มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำ สุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธมีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด เพราะผู้ฟังอาจรับไม่ได้ ถ้อยคำที่กล่าวด้วยจิตขุ่นมัว แม้เพียงประโยคเดียวอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงอย่างไม่อาจประมาณได้

5. พูดถูกกาลเทศะ แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ และพูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะ ไม่ถูกกาลเทศะ ผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น จะกลายเป็นประจานหรือจับผิดกันไป

- พูดถูกเวลา (กาล) คือรู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไร ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

- พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือรู้ว่าในสถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อม เช่นไรจึงสมควรที่จะพูด หากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร

เช่น มีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ให้ดื่มเหล้า แต่ไปเตือนขณะเพื่อนกำลังเมาอยู่ในหมู่เพื่อนฝูงทำให้เขาเสียหน้า อย่างนี้นอกจากเขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้

ข้อมูลเรื่องวาจาสุภาษิตนำมาจาก 

http://www.kalyanamitra.org/2554/mngkhlchiwit38_detail.php?page=99

Cr.  Fb ชุลีพร ช่วงรังษี

แชร์