2 เทคนิคการผ่อนบ้านให้หมดเร็ว อยากให้บ้านเป็นของเราเร็วขึ้นดีไหม ?

ความสุขอย่างหนึ่งของคนที่เป็นหนี้จากการซื้อบ้านก็คือการได้เห็นยอดหนี้คงเหลือลดลง โดยเฉพาะถ้าหากสามารถลดยอดหนี้ลงได้มากกว่าที่ควรจะเป็นหรือสามารถปลดหนี้ได้ก่อนกำหนดก็ถือว่าเป็นเรื่องวิเศษสุดๆ คำถามก็คือจะทำอย่างไรให้ยอดหนี้ลดลงเร็วๆ http://winne.ws/n15243

682 ผู้เข้าชม
2 เทคนิคการผ่อนบ้านให้หมดเร็ว อยากให้บ้านเป็นของเราเร็วขึ้นดีไหม ?แหล่งภาพจาก Promprieng mountain view - WordPress.com

          ความสุขอย่างหนึ่งของคนที่เป็นหนี้จากการซื้อบ้านก็คือการได้เห็นยอดหนี้คงเหลือลดลง โดยเฉพาะถ้าหากสามารถลดยอดหนี้ลงได้มากกว่าที่ควรจะเป็นหรือสามารถปลดหนี้ได้ก่อนกำหนดก็ถือว่าเป็นเรื่องวิเศษสุดๆ  คำถามก็คือจะทำอย่างไรให้ยอดหนี้ลดลงเร็วๆ และชำระหนี้หมดไวๆ เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไวก็คือใช้หนี้ให้มากกว่าที่กำหนดไว้  ซึ่งก็คือมากกว่าจำนวนเงินชำระต่องวดที่ระบุไว้ในสินเชื่อนั่นเอง  ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีจำนวนเงินไปหักชำระเงินต้นมากขึ้น ซึ่งก็คือการไปหักยอดหนี้ออกโดยตรงเลยล่ะ  ซึ่งเราได้พิสูจน์ให้ชมไปแล้วในครั้งก่อนในบทความเรื่อง โปะหนี้บ้านให้หมดไวอย่างได้ผล โดยพบว่าการโปะหนี้บ้านนั้นช่วยให้ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้น และเสียดอกเบี้ยทั้งหมดลดลงได้จริง

         อย่างไรก็ตามเคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไวนั้นสามารถทำได้ทั้งการกระจายเงินเพื่อชำระเงินเกินในแต่ละงวดด้วยจำนวนเงินน้อยๆ อาจจะเป็นการชำระเกินทุกงวด หรือจะเป็นการชำระเกินด้วยจำนวนเงินมากๆ เพียงก้อนเดียว ด้วยการโปะเพิ่มปีละครั้งก็สามารถทำได้เช่นกัน  แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองวิธีการเป็นการโปะเงินเข้าไปด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กัน แต่ทั้ง 2 วิธีการนั้นให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน  และในครั้งนี้ DDproperty จะนำมาเปรียบเทียบให้เห็นกัน

2 เทคนิคการผ่อนบ้านให้หมดเร็ว อยากให้บ้านเป็นของเราเร็วขึ้นดีไหม ?

ตัวอย่าง

         ที่เรานำมาเปรียบเทียบในครั้งนี้เป็นการผ่อนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 3,500,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี หรือ 360 งวด  ซึ่งจะตัดตอนมาแสดงการผ่อนสินเชื่อในช่วงเวลาสองปีแรก (งวด 1-24) โดยกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 3 ต่อปี  สำหรับการผ่อนชำระในปีที่ 1 นั้นจะเหมือนกันทั้งสองทางเลือก แต่ประเด็นความแตกต่างจะเกิดขึ้นในปีที่ 2 ของการผ่อนชำระ โดยในทางเลือกที่ 1 นั้นจะเพิ่มจำนวนเงินผ่อนชำระต่องวดในทุก ๆ งวด (งวดที่ 13-24) ให้มากขึ้นกว่าจำนวนเงินชำระต่องวดในปีแรก (งวดที่ 1-12)  

         ในขณะที่ทางเลือกที่ 2 นั้นจำนวนเงินชำระต่องวดจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในงวดสุดท้าย (งวดที่ 24) เพียงงวดเดียว  แต่ทั้งสองทางเลือกนั้นจำนวนเงินที่ชำระเกินทั้งหมดจากจำนวนเงินที่กำหนดให้ชำระขั้นต่ำจะรวมแล้วไม่แตกต่างกัน  สิ่งที่แตกต่างกันคือช่วงเวลาที่ชำระเงินออกไป  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความแตกต่างของยอดหนี้คงเหลือและจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วทั้งหมด ณ สิ้นงวดที่ 24  โดยการเปรียบเทียบนั้นยังคงใช้ตารางการผ่อนสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก ซึ่งเราเคยอธิบายหลักการผ่อนสินเชื่อแบบลดต้นลดดอกไว้ในบทความ รู้จักวิธีผ่อนบ้านแบบลดต้นลดดอก

2 เทคนิคการผ่อนบ้านให้หมดเร็ว อยากให้บ้านเป็นของเราเร็วขึ้นดีไหม ?ขอบคุณภาพจาก cm2property

ทางเลือกที่ 1 ชำระเกินทุกงวด

           ผ่อนสินเชื่อบ้าน วงเงินกู้ 3,500,000 บาท โดยในปีแรก (งวดที่ 1-12) นั้นผ่อนชำระ 10,500 บาทต่องวด จากนั้นในปีที่ 2 (งวด 13-24) ให้ชำระเกิน โดยเพิ่มจำนวนเงินขึ้นอีก 3,000 บาท ในทุก ๆ งวด ซึ่งเท่ากับชำระ 13,500 บาทต่องวด  รวมจำนวนเงินที่ชำระเกินตลอดปีที่ 2 (งวดที่ 13-24) ทั้งหมด 12 งวดเท่ากับ 36,000 บาท  โดยในช่วงเวลา 2 ปีนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี  แสดงการผ่อนสินเชื่อสำหรับทางเลือกที่ 1 ได้ตามตารางด้านล่าง

ทางเลือกที่ 2 โปะเพิ่มปีละครั้ง

           ผ่อนสินเชื่อบ้านที่วงเงินกู้เท่ากับทางเลือกที่ 1 คือ 3,500,000 บาท โดยในปีแรก (งวดที่ 1-12) นั้นผ่อนชำระ 10,500 บาทต่องวด และในปีที่ 2 นั้นงวดที่ 13-23 (จำนวน 11 งวด) ยังคงผ่อนชำระเท่าเดิมคืองวดละ 10,500 บาท แต่ให้ชำระเกินในงวดสุดท้ายของปีที่ 2 (งวดที่ 24) เพิ่มขึ้นอีก 36,000 บาท  (ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่ชำระเกินทั้งหมดของทางเลือกที่ 1) รวมเงินที่จะชำระในงวดที่ 24 เท่ากับ 46,500 บาท  ในช่วงเวลา 2 ปีนี้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี เช่นเดียวกันกับทางเลือกที่ 1  โดยแสดงการผ่อนสินเชื่อตามทางเลือกที่ 2 ได้ดังตารางด้านล่าง  

ชำระเกินทุกงวดและโปะเพิ่มปีละครั้งเหมาะสมกับใคร

          การชำระเกินทุกงวดนั้นเหมาะสมกับคนที่มีรายได้และรายจ่ายค่อนข้างคงที่  ทำให้สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้าได้ค่อนข้างแม่นยำ  จึงไม่ค่อยมีความเสี่ยงมากนักหากจะกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อชำระส่วนเกินเพิ่มขึ้นไปอีกในแต่ละงวด  ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการรอนำเงินก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว เช่น เงินโบนัส ซึ่งมีไม่กี่ครั้งในแต่ละปีมาโปะยอดหนี้

          ส่วนวิธีการโปะเงินจำนวนมากนั้นเหมาะสมกับอาชีพที่รายได้ไม่คงที่ และไม่สม่ำเสมอ เช่น พนักงานขาย หรืออาชีพอิสระ ที่จะได้รับค่าจ้างหรือค่าคอมมิสชั่น เมื่อปิดงานหรือปิดการขายได้เป็นครั้งไปจึงอาจไม่สามารถชำระเกินได้ทุกงวด

          อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีแสดงให้เห็นว่าเราควรจ่ายเงินเกินเพื่อชำระเงินต้นทุกครั้งที่มีโอกาส ไม่ว่าจะชำระเกินด้วยจำนวนน้อยๆ แต่บ่อยๆ หรือโปะด้วยจำนวนเงินมากแต่นาน ๆ ครั้ง  เพราะทั้งสองวิธีสามารถช่วยลดยอดหนี้ได้โดยตรงและเห็นผลได้อย่างชัดเจน

เขียนโดย เชษฐพล มานิตย์ 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/เตรียมตัวก่อนขาย/เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไว-ชำระเกินทุกงวด-vs-โปะเพิ่มปีละครั้ง

แชร์