จับมือ10พันธมิตรใช้อี-คอมเมิร์ซต่อยอดธุรกิจชุมชนเริ่มที่ค้าส่งค้าปลีกต้นแบบ114ร้านทั่วประเทศ

จะนำโมเดลการพัฒนาร้านค้าส่งค้าปลีกเป็นต้นแบบมาใช้ เพราะเป็นโมเดลที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการสินค้า เริ่มที่ร้านค้าส่ง-ค้าปลีกต้นแบบในพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 114 ร้านค้า และร้านค้าเครือข่ายอีกกว่า 5,000 แห่ง เป็นจุดช่วยกระจายสินค้า http://winne.ws/n15389

1.1 พัน ผู้เข้าชม
จับมือ10พันธมิตรใช้อี-คอมเมิร์ซต่อยอดธุรกิจชุมชนเริ่มที่ค้าส่งค้าปลีกต้นแบบ114ร้านทั่วประเทศแหล่งภาพจาก Prachachat Mobile

พาณิชย์ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนทั้งระบบ จับมือ 10 พันธมิตร ใช้อี-คอมเมิร์ซต่อยอดธุรกิจแบบครบวงจร เพื่อสร้างรายได้ผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบทั่วประเทศ 114 ร้าน ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า และเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบธุรกิจในชุมชน ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน    

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (Local  Economy) ว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำโครงการ “ความร่วมมือการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น” เพื่อสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก  เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้ชุมชน  โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการ SME ผู้ประกอบการรายใหม่ (Startup) รวมทั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในแต่ละท้องถิ่น โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำธุรกิจ และส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ  

แนวทางคือ จะนำโมเดลการพัฒนาร้านค้าส่งค้าปลีกเป็นต้นแบบมาใช้ เพราะเป็นโมเดลที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการสินค้าในสต๊อก สามารถลดต้นทุน ลดเวลา และสินค้าคงเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังขยายโอกาสทางการตลาดด้วยระบบการค้าออนไลน์แบบครบวงจร  โดยขอความร่วมมือ ร้านค้าส่ง-ค้าปลีกต้นแบบในพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 114 ร้านค้า และร้านค้าเครือข่ายอีกกว่า 5,000 แห่ง เป็นจุดช่วยกระจายสินค้า และเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในชุมชน เพื่อให้ธุรกิจมีความเข้มแข็ง สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร บูรณาการแพล็ตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ ของหน่วยงานภาครัฐ โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานกลาง รวบรวมข้อมูลของแต่ละแพล็ตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ  เช่น ข้อมูลของผู้ประกอบการ ช่องทางการติดต่อ คุณสมบัติผู้ซื้อ/ขาย เป็นต้น เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าชุมชนเอสเอ็มอี ผู้ส่งออก ผู้ซื้อที่เป็นผู้บริโภคปลายทาง ผู้ซื้อที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตต่อ และผู้ซื้อในต่างประเทศ 

รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้สมาชิก แพล็ตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ ต่าง ๆ ที่เป็นผู้ขายสินค้า/บริการออนไลน์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์แสดงสถานะตัวตน และขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Verified) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการซื้อขายผ่านร้านค้าออนไลน์ 
 

ที่มา: http://news.voicetv.co.th/business/487584.html

แชร์