ความในใจนักจิตวิทยา กับ "ความเจ็บปวดของผู้ลี้ภัย" อ่านแล้วคุณจะรักประเทศของคุณมากขึ้น!!

ขึ้นชื่อว่า ผู้ลี้ภัย คงไม่มีใครปรารถนาที่จะต้องพบกับชะตากรรมเช่นนั้น อย่างแน่นอน แต่ด้วยวิบากกรรมใด ในอดีต ที่เคยได้กระทำมาเล่า จึงต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ ที่เรียกว่า "สงคราม" จนทำให้พวกเขา ต้องกลายเป็น "ผู้ลี้ภัย" ไปจนได้ http://winne.ws/n15394

943 ผู้เข้าชม
ความในใจนักจิตวิทยา กับ "ความเจ็บปวดของผู้ลี้ภัย" อ่านแล้วคุณจะรักประเทศของคุณมากขึ้น!!แหล่งภาพจาก UNHCR

ผู้เขียนทำงานในวงการธุรกิจมาได้ระยะหนึ่ง (ประมาณ 7 ปี) ได้ลาออกมาเรียนต่อในสาขาจิตวิทยาซึ่งภายหลังได้มีโอกาสฝึกงานและทำงานกับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรนานาชาติแห่งหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ดูแลผู้ลี้ภัยบนโลกนี้ ได้มีโอกาสทำงานโดยตรงแบบตัวต่อตัวกับผู้ลี้ภัยจากหลายชาติจากหลายทวีป ทั้ง อัฟริกา ตะวันออกกลาง และจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย (เยอะที่สุดคือ ชาวพม่า) ซึ่งกลุ่มใหญ่คือผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ อีกกลุ่มหนึ่งคือผู้ลี้ภัยทางการเมือง

จากงานที่ได้เข้าไปสัมผัสกับชีวิตของผู้ลี้ภัยเหล่านี้โดยตรง ทำให้รับรู้ถึงหลายสิ่งหลายอย่างในมุมที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ นอกเหนือจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ

ต้องบอกก่อนว่างานนี้ผู้เขียนทำงานในฐานะอาสาสมัครเพื่อเป็นส่วนหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับการเรียนทางด้านจิตวิทยาในขณะที่ผู้เขียนกำลังจะเรียนจบจากการศึกษาต่อ

เหตุผลที่ผู้เขียนใช้คำว่า “การทำสิ่งเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่” เป็นเพราะสิ่งที่ทำถ้ามองเผิน ๆ ก็คงไม่ต่างกับการนั่งพูดคุยทั่ว ๆไปกับ มนุษย์ร่วมโลกคนหนึ่ง เวลาที่ผู้เขียนได้ใช้ในการนั่งพูดคุย อยู่กับผู้ลี้ภัยแต่ละคน ซึ่งในเวลาปกติ

พวกเขาคือผู้ที่หนีออกจากประเทศของตนซึ่งไม่สามารถอยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ที่ที่มีครอบครัว ลูก พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน (เนื่องจากผู้ลี้ภัยประเภทนี้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เฉพาะบางอย่าง) หรือ ถ้ามีก็อยู่กันอย่างพลัดพรากหรือได้ตายจากกันด้วยเหตุการณ์อันตราย 

หลายคนเคยถูกทรมานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หลายคนเหมือนอยู่ตัวคนเดียวในดินแดนที่ไม่ใช่บ้าน และเขาก็ไม่มีสิทธิ ไม่สามารถเรียกร้องขอสวัสดิภาพอะไรได้มากมาย เนื่องจากตนเองตกอยู่ในสถานภาพที่ต้องจำยอม ความปลอดภัยในชีวิตคือปัจจัยหลักอันดับแรก ที่พวกเขาต้องการ แต่ก็ไม่สามารถคาดหวังได้ในความเป็นจริง ทุกคนต้องอยู่อย่างหวาดกลัวโดยมีความหวังว่าวันหนึ่งพวกเขาจะได้รับความกรุณาจากประเทศที่สามให้พวกเขาได้ไปตั้งต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง

ความในใจนักจิตวิทยา กับ "ความเจ็บปวดของผู้ลี้ภัย" อ่านแล้วคุณจะรักประเทศของคุณมากขึ้น!!แหล่งภาพจาก MCOT

คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับความรู้สึกหวาดกลัวขั้นรุนแรงเป็นระยะเวลานาน จนหลายคนมีอาการทางจิตประสาท เห็นภาพหลอน รู้สึกถึงอาการทางร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่มีอาการทางร่างกายเกิดขึ้นจริงเมื่อได้รับการตรวจจากแพทย์ อาการดังกล่าวในภาษาทางจิตวิทยา อาจเรียก จิตเภท หรือ Schizophrenia (ใกล้เคียงความผิดปกติของพระเอกเรื่อง The Beautiful Mind)

และสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อตอบกลับการที่ผู้เขียนได้ใช้เวลาพูดคุยกับพวกเขา คือ คำขอบคุณ เช่นเดียวกัน คำขอบคุณที่ผู้เขียนได้รับ มันแตกต่างจากคำขอบคุณอื่น ๆที่ได้รับมาในชีวิต ผู้เขียนได้รับความรู้สึกปลื้มปิติ รู้สึกยิ่งใหญ่และพองโตในหัวใจ ถึงแม้จะรู้ว่า มันเป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กๆน้อยๆ หากแต่ว่ากลับเป็นเหมือนไม้ขีดไฟเล็ก ๆ ที่ทำให้ห้องเย็นและมืดในใจของพวกเขา ส่องสว่างและอบอุ่นในเสี้ยวเวลาเล็กๆ นั้น

ผู้เขียนรู้สึกขอบคุณชะตาชีวิตที่ทำให้เกิดอยู่ในประเทศไทย ที่ทียังมีความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และอิสระที่จะทำอะไรได้อีกหลายอย่าง รู้สึกขอบคุณที่มีประเทศ มีบ้านให้อยู่เป็นหลักแหล่งถาวร มีโอกาสได้รับการศึกษา มีสิทธิในความเป็นประชาชนของประเทศแม้ว่ามันจะไม่สมบูรณ์แบบ มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวและเพื่อนฝูง อย่างไม่โดดเดี่ยวอ้างว้าง 

ผู้คนที่กำลังต่อสู้แย่งชิงอำนาจ หรือเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ อย่างไม่มีขอบเขต หากวันหนึ่งทุกอย่างเปลี่ยนไปเพียงเพราะการแย่งชิงอำนาจที่ไม่มีซึ่งขอบเขต แล้วทำให้ ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และอิสระที่จะทำอะไรได้อีกหลายอย่าง การมีประเทศมีบ้านให้อยู่เป็นหลักแหล่งถาวร มีโอกาสได้รับการศึกษา มีสิทธิในความเป็นประชาชนของประเทศ มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวและเพื่อนฝูง อย่างไม่โดดเดี่ยวอ้างว้าง มันหายไป เราจะไปเรียกร้องกลับคืนมาจากใคร แล้วลูกหลานของพวกเราจะอยู่กันอย่างไร

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/279054

แชร์