อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borassus flabellifer L. วงศ์ : Palmaeชื่อสามัญ : Palmyra palm, Lontar palm ,Fan palm, Brab palmชื่ออื่น : ตะนอด (เขมร) โหนด (ใต้) ตาลโตนด ตาล ตาลใหญ่ (กลาง) ถาล (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ทอถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) http://winne.ws/n15398

3.1 พัน ผู้เข้าชม

ต้นตาล

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาแหล่งภาพจาก OKnation


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Borassus flabellifer  L. วงศ์ :  Palmaeชื่อสามัญ : Palmyra palm, Lontar palm ,Fan palm, Brab palmชื่ออื่น : ตะนอด (เขมร) โหนด (ใต้) ตาลโตนด ตาล ตาลใหญ่ (กลาง) ถาล (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ทอถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตาลนา ปลีตาล(เชียงใหม่)

          ลักษณะทั่วไป : ลักษณะทั่วไป ตาล (ตะโหนด) เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ลำต้น เดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม – ดำ ซึ่งจะมีกาบขอบใบติดอยู่ประมาณ 5 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง มีเสี้ยนสีดำอัดกันแน่นด้านในสูงประมาณ 15 เมตร และจะมีใบออกที่ยอด 

        ลักษณะ ใบ คล้ายพัดปลายใบแหลมสีเขียว ระหว่างใบจะมีก้านใบแข็งและเชื่อมติดกันคล้ายรูปตัววี ลักษณะก้านใบสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เช่นเดียวกับใบขอบก้านใบคล้ายฟันเลื่อย แต่จะป้านกว่า ความยาวประมาณ 1.5 – 2 เมตร การเรียงตัวของใบอัดกันแน่นเป็นเกลียว เมื่อใบแก่เต็มที่จะร่วงหล่นทั้งก้านและใบ รสชาติ รสหอมสุขุม    

         ประโยชน์ :  น้ำหวานจากงวงตาลนำมาเป็นน้ำตาลมะพร้าว ทำเครื่องดื่มที่ เรียกว่าน้ำตาล เนื้อจากผลมีสีเหลืองใช้แต่งสีอาหาร อาทิ ขนมตาล เมล็ดยังอ่อนกินเป็นอาหารหวาน ที่เรียกว่า ลอนตาล เมล็ดแก่เมื่อนำมาเพาะให้งอกภายในเมล็ดมีคัพภะ เรียกว่า จาวตาลนำมาเชื่อมกินเป็นของหวาน ใบมุงหลังคา ลำต้นใช้ทำเสาหรือหลักสำหรับจอดเรือ ทำครกตำข้าวก็ได้ ทำพื้นไว้นั่งนอนได้ 

         ใบนำมาเป็นวัสดุจักสานอุปกรณ์เครื่องใช้ประจำบ้านได้หลายอย่าง เช่นพัดใบตาล ตะกร้าใส่ของ งอบ ฝาบ้าน หลังคา ฯลฯ เป็นยาถ้านำมาคั่วให้เหลืองแล้วนำมาบดจนเป็นผง ใช้สูบหรือเป่า มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตใบตาล สรรพคุณช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายของสตรีหลังคลอดบุตร (ที่มา: https://sites.google.com/site/khwamru12345322/phanthu-mi/-tntal)

บ้านใบตาล อายุประมาณ 100 ปี

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

บ้านใบตาล (โตนด) ที่ตั้ง  เลขที่ 40 หมู่ 6 ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ  ไม่ทราบข้อมูล  ผู้ครอบครอง นางสาวอุบล บุญรัตน์ ปีที่สร้าง  ไม่ทราบชัด (อายุประมาณ 100 ปี) ปรับปรุงฟื้นฟูแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554

ประวัติ

          บ้านใบตาลได้ถูกใช้งานต่อกันสามชั่วอายุคนโดยประมาณอายุบ้านมากกว่าหนึ่งร้อยปี บ้านหลังนี้เคยได้รับการซ่อมแซมฝาใบตาลครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณสามสิบปีที่ผ่านมาจึงทำให้บ้านใบตาลผุพังลงตามกาลเวลา ส่งผลต่อคุณภาพการอยู่อาศัย ของเจ้าของบ้าน โดยในหลายครั้งคุณอุบลและญาติพี่น้องร่วมชายคาเคยนึกที่จะรื้อบ้านใบตาลหลังนี้ทิ้ง และนำวัสดุก่อสร้าง ที่พอจะเหลืออยู่มาทำการก่อสร้างเป็นบ้านทรง “ก ไก่”ง่ายๆ แทน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2554 – 2555 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (อุเทนถวาย) การเคหะแห่งชาติ เจ้าของบ้าน ชาวบ้าน และองค์การบริหารส่วนตำบลรำแดงได้ร่วมกันทำการบูรณะและปรับปรุงฟื้นฟูบ้านใบตาลตามหลักวิชาการ โดยใช้กระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูตามหลักการสากล คือ

         1. การบันทึกรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมบ้านใบตาลก่อนการปรับปรุงฟื้นฟู 

         2. การวิเคราะห์ปัญหาดั้งเดิมของบ้านร่วมกับเจ้าของบ้าน เพื่อออกแบบบ้านที่จะปรับปรุงฟื้นฟูผนวกกับประโยชน์ใช้สอยใหม่เข้าไป เช่น ห้องน้ำ – ส้วม และดำเนินการเขียนแบบก่อสร้าง

         3. อบรมเจ้าของบ้านและช่างพื้นบ้านก่อนดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟูตามหลักวิชาการโดยเน้นการพึ่งพาตนเอง 

         4. ถอดบทเรียนสรุปเป็นองค์ความรู้ และจัดทำสื่อเผยแพร่ไว้บริเวณด้านหน้าของบ้านใบตาล และบนเว็บไซต์ บ้านใบตาลเป็นบ้านหลังคาจั่วสองจั่ว เชื่อมเข้าหากันด้วยรางรองน้ำฝนแบบดั้งเดิมในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โครงสร้างทั่วไปเป็นไม้เนื้อแข็ง ฝาผนังทำด้วยใบจากต้นตาลโตนด โครงเคร่าไม้ไผ่ โดยฝาทั้งหมดเอียงสอบเข้าสู่ภายในเล็กน้อย พื้นบ้านใบตาลเป็นพื้นไม้เคี่ยม (ไม้เนื้อแข็งพื้นถิ่น) ใต้ถุนยกสูงวางโครงสร้างบนฐาน (ตีนเสา) ซีเมนต์ อย่างเรือนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในอดีต ที่ปัจจุบันจะไม่สามารถพบเจอในสภาพที่สมบูรณ์ได้เช่นหลังนี้

       ด้วยกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบทำให้ชาวบ้านบริเวณรอบ ๆ ที่ทราบข่าว รวมถึงหน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้แบบปฏิบัติการณ์จริง จนทำให้บ้านหลังนี้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ยังใช้งานได้ตามวิถีปัจจุบัน ส่งผลต่อความภาคภูมิใจต่อเจ้าของบ้าน และชุมชนรำแดง ตลอดจนเป็นการยกระดับทัศนคติของชาวบ้านให้คิดว่าบ้านพื้นถิ่นดั้งเดิมเป็นที่อยู่อาศัยที่มีคุณค่า มีความงาม และสามารถอาศัยประโยชน์จากพืชพรรณธรรมชาติ เช่น ใบตาล

บ้านใบตาล อายุประมาณ 100 ปี

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

          ดร.จเร สุวรรณชาต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา และคณะนักวิจัย เล็งเห็นความสำคัญในการรักษาอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น “บ้านใบตาล” ในระดับชาติดังกล่าวไม่ให้เลือนหาย จึงเกิดความคิดที่จะออกแบบบ้านใบตาลโดยริเริ่มนวัตกรรมจากเรื่องเล็กๆ ที่สามารถทำได้ก่อนเช่น การออกแบบฝาที่ทำจากใบตาลโตนดโดยเน้นคุณลักษณะ ในการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืช 

          สามารถสืบทอดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตามภูมิปัญญาดั้งเดิม สู่สากลผลิตด้วยแรงงานในท้องถิ่นบนแนวคิดการสร้างงาน สร้างคน ลดความเลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย ขนส่งได้โดยสะดวก และติดตั้งได้ง่าย รวดเร็ว ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ง่าย มีโอกาสเติบโตทางช่องทางการตลาด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้านมีการยืดหยุ่นในการประกอบ เป็นวัสดุจากธรรมชาติ และสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน โครงสร้างบ้านโดยทั่วไปใช้วัสดุเป็นไม้เนื้อแข็งตามธรรมชาติ ที่สามารถหาได้ง่ายในเขตภูมิประเทศ

         สำหรับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างจะถูกประกอบด้วยวิธีการเข้าไม้แบบโบราณพร้อมกับการร้อยน็อต เพื่อความมั่นคงแข็งแรง ฝาผนังภายนอก และภายในใช้แผ่นผนังสำเร็จรูปจากใบตาลโตนดที่ถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง และประสานกันด้วยระบบทางพิกัด ทำให้วัสดุแผ่นผนังสามารถเรียงต่อกันทั้งแนวตั้ง และแนวนอนได้อย่างลงตัวอีกทั้งเจ้าของบ้านจะมีความสุข และสนุกต่อการเลือกแบบแผ่นผนัง ทั้งแผ่นผนังทึบ แผ่นผนังโปร่งแสง หรือแผ่นช่องลมหรือแม้กระทั่งแผ่นผนังชนิดทนน้ำที่ทำมาจากคอนกรีตผสมกับใยจากก้านต้นตาลโตนด ยิ่งไปกว่านี้เจ้าของบ้านจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบผนังหลังจากการติดตั้งแล้วเสร็จในภายหลังได้ตามความชอบใจ 

บ้านใบตาล อายุประมาณ 100 ปี

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ในส่วนโครงสร้างหลังคาได้ใช้แนวคิดให้โครงสร้างหลังคามีระบบที่ง่ายสามารถปรับเปลี่ยนได้ทั้งแบบหลังคาหน้าจั่วหรือหลังคาปั้นหยาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ซึ่งบ้านจากใบตาลโตนดไปตั้งอยู่ ด้วยศิลปะในการจัดวางผังอย่างอิสระทำให้กลุ่มอาคารมีความงดงามความเหมาะสมกับผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นเรือนสำหรับชาวประมง เรือนสำหรับชาวสวน หรือเรือนที่ตั้งบนพื้นราบทั่วไป หรือการผสมผสานด้วยรูปแบบที่อิสระในการเรียงของผนัง การจัดวางและหลังคาดังกล่าว จะทำให้บ้านแต่ละหลังมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร 

        ทั้งนี้จากการทดสอบการก่อสร้างบ้านจากใบตาลโตนดซึ่งใช้เวลาเพียง 5 วัน แต่บ้านที่สร้างจากใบตาลโตนดนี้กลับมีความคงทนกว่า 15 ปีด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ขับเคลื่อน และพัฒนาชุมชน บนวิถีชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ ที่สามารถหาวัสดุได้ในท้องถิ่น และดำเนินการได้โดยชาวบ้านเอง จึงนับเป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างความมั่นคงในด้านการอยู่อาศัย ด้วยวัฒนธรรมการใช้ประโยชน์จากต้นตาลโตนด และยังเป็นการสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน และสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านวัสดุทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนเป็นบ้านทางเลือกสำหรับผู้ประสบภัยอีกด้วย (ที่มา: http://www.banmuang.co.th/news/education/39428)

บ้านใบตาล อายุประมาณ 100 ปี

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

บ้านใบตาล อายุประมาณ 100 ปี

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

บ้านใบตาล อายุประมาณ 100 ปี

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

บ้านใบตาล อายุประมาณ 100 ปี

อัศจรรย์ !! บ้านใบตาล(โตนด) อายุกว่า 100 ปี แห่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก: http://asaconservationaward.com/index.php/2016-06-13-15-22-54/home2556/320-2016-09-08-06-13-07

แชร์