นักวิชาการสสค.เปิด 10 ทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการในอีก 4 ปีข้างหน้า

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานโลกว่า ในการประชุมเวิร์ดอีโคโนมิคฟอรั่มในปีนี้ (World Economic Forum 2016) ที่กำลังเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ที่เมืองดาวอส http://winne.ws/n15512

1.1 พัน ผู้เข้าชม
นักวิชาการสสค.เปิด 10 ทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการในอีก 4 ปีข้างหน้าThe iCon Global

นักวิชาการสสค.เปิด 10 ทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการในอีก 4 ปีข้างหน้า “ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน-การคิดวิเคราะห์-ความคิดสร้างสรรค์”จับตาการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก ชี้โลกเข้าสู่ยุค‘ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4’ แนะมาตรการ 3 ระยะที่รัฐบาลต้องรองรับผลกระทบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา 

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานโลกว่า ในการประชุมเวิร์ดอีโคโนมิคฟอรั่มในปีนี้ (World Economic Forum 2016) ที่กำลังเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วาระการประชุมสำคัญของผู้นำจากทั่วโลกในปีนี้คือการเตรียมความพร้อมกำลังคนและระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อรองรับความท้าทายจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของโลกครั้งสำคัญจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 ด้านได้แก่ 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) 

พันธุวิศวกรรม (Genetics) 

นาโนเทคโนโลยี 

การพิมพ์สามมิติ และ

ไบโอเทคโนโลยี ส่งผลต่อการผลิตและการจ้างงานในอัตราเร่งที่น่ากังวลอย่างมาก 

ดร.ไกรยส กล่าวว่า รายงานอนาคตของการทำงาน ที่เวิร์ดอีโคโนมิคฟอรั่มทำการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในรอบทศวรรษที่ผ่านมาและทำนายความต้องการของตลาดแรงงานในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่จะมีทั้งคุณและโทษต่อตลาดแรงงาน เพราะนอกจากจะสร้างโอกาสการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังเปลี่ยนวิธีการทำงานและทำลายตำแหน่งงานจำนวนมาก 

ปรากฏการณ์ที่เด่นชัดที่สุดคือบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่สุด 500 อันดับแรกของประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่าครึ่งหนึ่งหายไปจากการจัดอันดับภายในเวลาเพียง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่แทนที่มนุษย์ ทำให้เกิดภาวะการถูกเลิกจ้างงาน รวมทั้งผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวไม่ทันต้องปิดกิจการลงเป็นจำนวนมาก ขณะที่ทักษะแรงงานที่นายจ้างต้องการสูงที่สุด 10 อันดับแรกในปี 2020 ได้แก่ 

ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 

การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ 

การจัดการบุคคล การทำงานร่วมกัน 

ความฉลาดทางอารมณ์ 

รู้จักประเมินและการตัดสินใจ 

มีใจรักบริการ การเจรจาต่อรอง และ 

ความยืดหยุ่นทางความคิด 

ดร.ไกรยส กล่าวว่า การปรับตัวของแต่ละประเทศตามที่เวิร์ดอีโคโนมิคฟอรั่มแนะนำมี 3 ระยะดังนี้ 

1) ในระยะสั้นประเทศต่างๆควรเร่งปรับทักษะการทำงานของกำลังแรงงานที่มีอยู่โดยเฉพาะทักษะที่ไม่เป็นที่ต้องการเป็นทักษะที่นายจ้างต้องการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 

2) ในระยะกลางรัฐบาลควรปฏิรูประบบการศึกษาครั้งใหญ่ โดยดึงผู้ประกอบการในตลาดแรงงานทำงานร่วมกับระบบการศึกษาเพื่อให้ทักษะกำลังคนตรงกับความต้องการในตลาดแรงงาน และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และ 

3) ในระยะยาวรัฐบาลควรสนับสนุนการลงทุนเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนากำลังคนและการส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้รัฐบาลสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงและตัดสินใจปรับยุทธศาสตร์ของประเทศได้ทันเวลา 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/77853

นักวิชาการสสค.เปิด 10 ทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการในอีก 4 ปีข้างหน้า
แชร์