โลกกำลังจะสะเทือนเพราะจีนจะเปิดตัว "เส้นทางสายไหมใหม่" สุดยอดเมกะโปรเจกต์เชื่อมจีนเข้ากับยุโรปและแอฟริกา

แต่โครงการนี้ไม่ผ่านไทย ทั้งที่เราเคยถูกวางตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน-อาเซียน แล้วตอนนี้ ไทยอยู่ตรงไหนในเส้นทางสายไหมใหม่? http://winne.ws/n15612

1.6 พัน ผู้เข้าชม

โลกกำลังจะสะเทือนเพราะจีนจะเปิดตัว "เส้นทางสายไหมใหม่" สุดยอดเมกะโปรเจกต์เชื่อมจีนเข้ากับยุโรปและแอฟริกาผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสื่อสาร

แต่โครงการนี้ไม่ผ่านไทย ทั้งที่เราเคยถูกวางตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน-อาเซียน แล้วตอนนี้ ไทยอยู่ตรงไหนในเส้นทางสายไหมใหม่?

เส้นทางสายไหม เป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าและสานสัมพันธ์อารยธรรมหลักของโลกจากจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรปเข้าด้วยกัน ผ่านการเดินทางของพ่อค้า นักบวช ศิลปิน และแรงงาน ในระยะทางกว่า 6,000 กิโลเมตร เส้นทางเก่าแก่นี้เคยสร้างความร่ำรวยทั้งทางศิลปวัฒนธรรมและเงินทองให้กับจีนมาตั้งแต่ 2,000 กว่าปีที่แล้ว และตอนนี้ เส้นทางสายไหมกำลังถูกปลุกให้มีชีวิตอีกครั้ง ไม่ใช่แค่เพื่อเงินทอง แต่รวมถึงอิทธิพลทางการเมืองของจีนในฐานะมหาอำนาจเอกของโลก

โลกกำลังจะสะเทือนเพราะจีนจะเปิดตัว "เส้นทางสายไหมใหม่" สุดยอดเมกะโปรเจกต์เชื่อมจีนเข้ากับยุโรปและแอฟริกา

การรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมใหม่เป็นโครงการใหญ่ของจีนที่ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 แต่การผลักดันอย่างจริงจังเกิดขึ้นในปี 2013 เมื่อนายสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ขึ้นสู่อำนาจ หนึ่งในนโยบายแรกๆที่เขาพูดถึง ก็คือ "อี๋ไต้อี๋ลู่" หรือ "One Belt One Road" (OBOR) ซึ่งเป็นการสถาปนาระเบียงเศรษฐกิจขนาดยักษ์ 2 แห่ง

1. เส้นทางสายไหมทางบก เดินตามรอยเส้นทางสายไหมเก่า เชื่อมจีนกับยุโรปผ่านเอเชียกลางโดยรถไฟและถนน

2. เส้นทางสายไหมทางทะเล เชื่อมจีนเข้ากับอาเซียนและแอฟริกา ตะวันออกกลาง ก่อนจะวกขึ้นยุโรป โดยใช้เรือเดินสมุทร

นอกจากการสร้างท่าเรือน้ำลึกและระบบราง จีนยังเสนอสร้างท่อส่งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และระบบโทรคมนาคมในเส้นทางนี้ด้วย โดยจีนประกาศว่าจะมีการลุงทุนสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 35 ล้านล้านบาทในโครงการนี้ จนถูกนำไปเทียบกับ Marshall Plan หรือการลงทุนขนาดใหญ่ที่สหรัฐฯอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือพันธมิตรในยุโรปหลังจบสงครามโลกครั้งที่สอง เสริมสร้างความแข็งแกร่งของฝ่ายตนเองและสถาปนาระบบการค้าเสรีที่กลายเป็นระเบียบเศรษฐกิจของโลกมานานหลายทศวรรษ ครั้งนี้ จีนก็กำลังเกินตามรอยเดียวกัน ใช้เงินมหาศาลพัฒนาประเทศพันธมิตร และก่อกำเนิดระเบียบเศรษฐกิจใหม่ที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง หรือหากมองย้อนกลับไปในอดีตไกลกว่ายุคสงครามโลก อาจเรียกได้ว่าจีนไม่ต่างจากอังกฤษและยุโรปยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้อาณานิคมเป็นตลาดระบายสินค้าเพื่อแก้ปัญหาซัพพลายล้นเกินในประเทศ




โลกกำลังจะสะเทือนเพราะจีนจะเปิดตัว "เส้นทางสายไหมใหม่" สุดยอดเมกะโปรเจกต์เชื่อมจีนเข้ากับยุโรปและแอฟริกา

ใครได้ประโยชน์?

จีน    แน่นอนว่าโต้โผใหญ่อย่างจีนได้ประโยชน์เต็มๆ รัฐบาลจีนได้ขยายอิทธิพลทางการเมือง และได้ลดความตึงเครียดทางการเมืองภายในจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ นักธุรกิจจีนได้ประโยชน์จากการมีตลาดใหม่มากมายในต่างแดน และได้โอกาสในการส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจในฐานะบรรษัทข้ามชาติที่ได้มาตรฐานทัดเทียมสากล คนงานจีนได้งานทำมากขึ้นจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ในประเทศ

ชาติกำลังพัฒนาในเอเชียกลาง-อาเซียน

จีนระบุว่า 65 ประเทศในเอเชีย อาเซียน แอฟริกาเหนือ ยุโรป และตะวันออกกลาง อยุ่ในเส้นทางสายไหมใหม่นี้ ส่วนใหญ่ใน 65 ประเทศนี้เป็นประเทศกำลังพัฒนา หลายประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ เช่นลาว เมียนมา รวมถึงประเทศในแอฟริกาและเอเชียกลางอีกหลายประเทศ การลงทุนมหาศาลจากจีนเป็นความเคลื่อนไหวที่ได้จังหวะสอดคล้องกับความต้องการของประเทศเหล่านี้ เพราะเท่ากับมีนายทุนใหญ่มาสนับสนุน โดยอยู่ภายใต้ความเชื่อมั่นที่ว่าผลประโยชน์ที่เกิดกับจีน ย่อมเกิดกับคู่ค้าของจีนด้วย

ยุโรป

แม้ว่ารัฐบาลหลายประเทศในยุโรปจะลังเลที่จะเข้าร่วมการประชุมผู้นำที่จีนจัดขึ้นเพื่อผักดัน OBOR ในระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่แม้แต่อังกฤษก็มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนภายใต้ชื่อ OBOR แล้ว คือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฮิงค์ลีย์ พอยท์ ซี ในซอเมอร์เซ็ต ที่จีนลงทุนให้ถึง 1 ใน 3 และเช่นกัน นอกจากนี้ เอกชนในยุโรปต่างก็กระตือรือร้นที่จะส่งสินค้าเทคโนโลยีและงานดีไซน์ราคาแพงไปขายในจีนและเอเชียผ่านเส้นทางสายไหมใหม่ โดยเชื่อว่าเส้นทางนี้จะอำนวยประโยชน์ให้ยุโรปมากกว่าจีน เนื่องจากสินค้าจากจีนมายังยุโรปจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกที่ชิ้นใหญ่ เปลืองพื้นที่ขนส่ง ในขณะที่สินค้าจากยุโรปไปจีนและเอเชียจะเป็นสินค้าขนาดเล็กที่มีมูลค่าสูง เช่นเวชภัณฑ์และสินค้าแบรนด์เนม  เส้นทางรถไฟอี้อู-ลอนดอน ก็เปิดให้บริการขนส่งสินค้าแล้ว



โลกกำลังจะสะเทือนเพราะจีนจะเปิดตัว "เส้นทางสายไหมใหม่" สุดยอดเมกะโปรเจกต์เชื่อมจีนเข้ากับยุโรปและแอฟริกา

ใครเสียประโยชน์?

สหรัฐฯ   OBOR ของจีน เปรียบเหมือนการรีเซ็ตโลกาภิวัตน์ เวอร์ชั่น 2.0 ในขณะที่นโยบายการค้าระหว่างประเทศล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับเป็น "America Frist" ขับเคลื่อนด้วยการกีดกันการค้า ปกป้องผลประโยชน์ของชาวอเมริกัน ความแตกต่างอย่างหน้ามือเป็นหลังมือนี้ ทำให้สหรัฐฯสูญเสียพันธมิตรและอิทธิพลในการเมืองโลก รวมถึงเสียหน้าอย่างหนัก หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป แน่นอนว่าโลกจะได้เห็นความเสื่อมถอยของมหาอำนาจเอกอย่างสหรัฐฯ และการผงาดขึ้นมาของจีนอย่างเต็มตัว ยังไม่นับว่า TPP เขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงการคานอำนาจจีนของสหรัฐฯ เพิ่งจะล่มไปด้วยน้ำมือของทรัมป์เอง ที่ประกาศถอนตัวจาก TPP ทันทีทีเข้ารับตำแหน่ง

ประชาชนในประเทศที่ร่วม OBOR

แม้ว่ารัฐบาลประเทศที่มีเส้นทางสายไหมใหม่พาดผ่านจะรู้สึกว่าตนเองได้รับประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมโหฬารจากจีน เอกชนจะยินดีที่ได้มีตลาดใหม่ เส้นทางการค้าใหม่ แต่ประชาชนในพื้นที่กลายเป็นฝ่ายที่อาจจะเสียประโยชน์ การพัฒนาเส้นทางรถไฟและถนนในซินเจียง-อุยกูร์เพื่อเชื่อมต่อกับท่าเรือน้ำลึกริมทะเลอาหรับในปากีสถาน ทำให้รัฐบาลปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหนักหน่วงรุนแรงขึ้น โดยอ้างว่าต้องการรักษาเสถียรภาพในพื้นที่ ไม่ให้โครงการพัฒนาเส้นทางสายไหมใหม่ต้องสะดุด ส่วนการสร้างถนนและทางรถไฟในเอเชียกลาง และประเทศอาเซียนอย่างเมียนมาหรือลาว ก็เสี่ยงต่อการเวนคืนที่ดินและไล่รื้อที่โดยประชาชนไม่ได้รับค่าชดเชยที่เหมาะสม เนื่องจากรัฐบาลมีประวัติด้านการไม่เคารพสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว

ชาติกำลังพัฒนาที่ตกขบวน

ชาติอื่นๆที่ไม่ได้มีเส้นทางสายไหมใหม่พาดผ่าน จะกลายเป็นประเทศที่เสียเปรียบเพื่อนบ้านอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะได้ประโยชน์บ้างจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและความเจริญที่กระจายมาจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต่างจากในยุคที่มีการผลักดัน TPP ของสหรัฐฯ ก็มีการคาดการณ์กันว่าประเทศอาเซียนที่ไม่ได้ร่วม TPP จะเสียเปรียบประเทศที่เข้าร่วมอย่างเวียดนามและมาเลเซีย เนื่องจากมหาอำนาจจะหันไปค้าขายกับพันธมิตรที่มีการลงทุนลงแรงร่วมกันไปแล้วมากกว่าประเทศที่เป็นพันธมิตรเพียงหลวมๆนอกโครงการ

โลกกำลังจะสะเทือนเพราะจีนจะเปิดตัว "เส้นทางสายไหมใหม่" สุดยอดเมกะโปรเจกต์เชื่อมจีนเข้ากับยุโรปและแอฟริกา

แล้วไทยอยู่ตรงไหนในเส้นทางสายไหมใหม่?

เส้นทางสายไหมใหม่ของจีนทั้งทางบกและทางทะเลไม่ได้พาดผ่านไทย เส้นทางสายไหมทางบก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว แต่เส้นทางทางทะเล เฉียดใกล้ไทยโดยผ่านเมือท่าในฮานอยของเวียดนาม ลงใต้ไปยังกัวลาลัมเปอร์และจาการ์ตา ออกศรีลังกาไปอินเดีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง เข้าสู่ยุโรปผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

แต่ตามแผนของจีน นอกเหนือจาก 2 เส้นทางหลัก ยังจะมีระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญเกิดขึ้นรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากเส้นทางสายไหมใหม่ถึง 6 จุด และหนึ่งในนั้นก็คือเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมคุนหมิงทางตอนใต้ของจีน เข้ากับสิงคโปร์ เมืองท่าสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยผ่านไทยและมาเลเซีย หรือโครงการ SKRL ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟดาวรุ่งที่จีนฝากความหวังไว้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย อันเนื่องมาจากการที่จีนไม่สามารถล็อบบีรัฐบาลไทยให้รับสัญญาจากทางจีนได้ ทำให้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาคต้องหยุดชะงักและถูกลดทอนความสำคัญลงไป และจีนหันไปทุ่มเทกับการพัฒนาเส้นทางเรือผ่านฮานอย และเส้นทางบกที่ตัดผ่านเมียนมาเข้าสู่อินเดียเพื่อเชื่อมออกสู่เส้นทางสายไหมทางทะเลมากกว่า

แม้ว่าหากมองในแง่ดี ไทยถือว่าเก่งที่ไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามมหาอำนาจอย่างจีนเมื่อเผชิญกับสัญญาการค้าการลงทุนที่ตนเองอาจเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่การที่ไทยไม่ได้ร่วมในเมกะโปรเจ็คล่าสุดของจีน ทั้งที่พยายามสานสัมพันธ์กับจีนมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจอีกฝั่งอย่างสหรัฐฯก็งอนแง่น ทั้งด้วยนโยบาย America First ของทรัมป์ และแผลด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยของไทยเอง ก็ทำให้ประเทศเล็กๆอย่างไทยตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะพลาดขบวนรถไฟทุกขบวน

และกลายเป็นผู้ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่ถูกทิ้งเสียเอง


Cr. Pannika Wanich

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://www.voicetv.co.th/blog/489955.html




แชร์