เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดในป่าด้วย “อุปกรณ์เทคโนโลยี” เพียงไม่กี่ชิ้น จากผู้รอดชีวิตดิจิตอล

นอกจากการสอนให้ผู้ชมใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแล้ว Andy Quitmeyer ยังต้องการให้คนดูได้รู้จักกับธรรมชาติมากขึ้น และอยู่กับมันให้ได้โดยไม่ทำลาย http://winne.ws/n15957

1.4 พัน ผู้เข้าชม

 “อุปกรณ์เทคโนโลยี”สามารถใช้เอาตัวรอดในสถานการณ์คับขันได้

           ปัจจุบันนี้เราส่วนใหญ่อยู่กับเทคโนโลยีแทบจะตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งหรือตอบข้อความ ใช้ค้นหาแผนที่ และการใช้ในการติดต่อสื่อสารกับทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

           แต่รู้มั้ยว่านอกจากติดต่อสื่อสารแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถใช้เอาตัวรอดในสถานการณ์คับขันได้ด้วย อย่างเช่นการเอาตัวรอดในป่า

ทดสอบให้เห็นด้วยการเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลที่สุดในป่าเป็นเวลา 4 วัน

            Andy Quitmeyer ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้ทดสอบให้เห็นด้วยการเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลที่สุด โดยพกเพียงแค่ชิ้นส่วนของเทคโนโลยีที่เราใช้ในชีวิตประจำวันติดตัวไปเท่านั้น

            ในการเดินมางครั้งนี้ Quitmeyer เอาไปแค่แล็ปท็อปและกล้องดิจิตอลเท่านั้นเพื่อความอยู่รอด จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเขาถึงมักจะเรียกตัวเองว่า “ผู้รอดชีวิตดิจิตอล”

            และเพื่อให้ผู้คนได้เห็นว่าเขาเอาตัวรอดอย่างไรด้วยอุปกรณ์นี้ มีทีมงานติดตามไปด้วยเพื่อบันทึกวิดีโอการใช้ชีวิตในป่าของเขา เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครหลายๆ คน

เริ่มต้นด้วยการสร้างที่ดักยุง ตามด้วยทำเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

            Quitmeyer ถูกนำไปปล่อยทิ้งไว้ในป่าเป็นเวลา 4 วัน เขาเริ่มต้นด้วยการสร้างที่ดักยุงโดยใช้ขดลวดและกล้องดิจิตอล

            หลังจากนั้นเขาก็ทำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยอาศัยพลังงานจากแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ๆ เพื่อทำให้หลอดไฟทำงาน และทำเข็มทิศจากแล็ปท็อปด้วย

เอาตัวรอดได้ด้วยการหาพืช ผลไม้และของป่าประทังชีวิต

            ตลอดทั้ง 4 วันนี้ Quitmeyer เดินทางไปทุกหนทุกแห่งจากเกาะทะเลทรายสู่ป่าน้ำแข็งอลาสก้า ที่สำคัญคือตลอดเวลาการเดินทางเขาไม่ได้รับอาหาร น้ำ และการช่วยเหลือใดๆ เลย

            แต่เขาสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยการหาพืช ผลไม้และของป่าประทังชีวิต นอกจากนี้เขายังนำอาหารบางชนิดมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าด้วย

สาธิตวิธีการซ่อมเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ในป่า

            ส่วนความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีนอกจากการสื่อสารนี้ Quitmeyer บอกว่าเขาค้นพบในขณะที่เริ่มซ่อมอุปกรณ์เทคโนโลยีตอนที่เป็นนักชีววิทยาภาคสนาม

            ก่อนที่จะทำการถ่ายทอดผ่านรายการนี้ Quitmeyer เคยมีช่องยูทูปของตัวเองด้วย โดยจะสาธิตวิธีการซ่อมเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ในป่า จนกลายเป็นช่องทางที่ทำให้เขามีรายการทีวีเป็นของตัวเอง

สิ่งที่ยากที่สุดคือต้องตัดสินใจว่าจะนำอุปกรณ์ชิ้นไหนติดตัวไปด้วย

            Quitmeyer บอกว่า “สิ่งที่ยากที่สุดคือผมต้องตัดสินใจว่าจะนำอุปกรณ์ชิ้นไหนติดตัวไปด้วยเวลาเข้าป่า เพราะต้องมั่นใจว่ามันจะใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ครับ”

             “ครั้งแรก ผมพกอุปกรณ์น้ำหนัก 40 กิโลกรัมใส่กระเป๋าเข้าป่า แล้วก็ได้เรียนรู้ว่ามันไม่คุ้มค่าเลย เพราะผมไม่ได้ใช้ทุกชิ้นแถมยังเป็นอุปสรรค์ต่ดการเดินทางด้วย แต่ตอนนี้ผมไม่ทำแบบนั้นแล้ว ผมจะเอาไปให้น้อยที่สุดแต่ต้องใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด”

รู้จักกับธรรมชาติมากขึ้น และอยู่กับมันให้ได้โดยไม่ทำลาย

              แม้ว่าจะเขาจะมีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี แต่การถ่ายทำที่ผ่านมาเขามักจะใช้เทคโนโลที่แตกต่างกันเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาจจะดูเสี่ยงไปสักหน่อยแต่มันก็ทำให้เขาได้ฝึกฝนตัวเองไปด้วย

              นอกจากการสอนให้ผู้ชมใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแล้ว Quitmeyer ยังต้องการให้คนดูได้รู้จักกับธรรมชาติมากขึ้น และอยู่กับมันให้ได้โดยไม่ทำลาย

ที่มา       :          mashable

By          :          เหมียวขี้ส่อง           /          29/05/2560

                           เว็บ catdumb.com            /           เรื่องราวรอบโลก

Andy Quitmeyer ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดในป่าด้วย “อุปกรณ์เทคโนโลยี” เพียงไม่กี่ชิ้น จากผู้รอดชีวิตดิจิตอล
เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดในป่าด้วย “อุปกรณ์เทคโนโลยี” เพียงไม่กี่ชิ้น จากผู้รอดชีวิตดิจิตอล
แชร์