ทีมกฎหมายยื่น ขอให้ กกต.ส่งเรื่องให้ศาล รธน.ตีความรัฐมนตรี 9 รายอาจเข้าข่ายสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี

คำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมาย ได้ยื่นขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบสอบความเป็นรัฐมนตรี 9 คนที่อาจเข้าข่ายขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ว่ามีการกระทำเข้าข่ายเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ http://winne.ws/n16244

902 ผู้เข้าชม
ทีมกฎหมายยื่น ขอให้ กกต.ส่งเรื่องให้ศาล รธน.ตีความรัฐมนตรี 9 รายอาจเข้าข่ายสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีแหล่งภาพจาก http://deksocial.com/จ่อสอบ-9-รัฐมนตรี-เข่าข่า/

เปิดคำร้องสาระสำคัญที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นขอให้ กกต.ส่งเรื่องให้ศาล รธน.ตีความรัฐมนตรี 9 รายที่อาจเข้าข่ายสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี กรณีถือหุ้น-เป็นลูกจ้าง พร้อมขอให้นายกฯ มาชี้แจง กกต.

คำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมาย ได้ยื่นขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบสอบความเป็นรัฐมนตรี 9 คนที่อาจเข้าข่ายขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ว่ามีการกระทำเข้าข่ายเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามหมวด 9 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และจะเข้าข่ายเป็นการขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 264 ประกอบมาตราที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ พร้อมทั้งดำเนินการตามมาตรา 170 วรรคสาม ด้วยการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป

จากการตรวจสอบข้อมูลของรัฐมนตรีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อคราวเข้ารับตำแหน่ง พบว่า รัฐมนตรีบางคนที่ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 มีการแจ้งข้อมูลในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินฯ ของรัฐมนตรี ที่อาจเข้าข่ายต้องพ้นจากตำแหน่งตามความในมาตรา 264 วรรคสอง ประกอบมาตรา 170 (5) และมาตรา 98 (3) ดังต่อไปนี้

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา 
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ หุ้นของ บมจ.เออาร์ไอพี หมายเลข 601575945 จำนวน 50,000 หุ้น ได้มาเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2557 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 600,000 บาท  และยังคงไว้ซึ่งความเป็นผู้ถือหุ้น

จากการตรวจสอบจากวิกีพีเดียพบว่า บมจ.เออาร์ไอพี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ในชื่อบริษัท เอ.อาร์. อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จำกัด ในปีพ.ศ. 2553 บริษัทดำเนินการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท เอ.อาร์. อินฟอร์เมชัน แอนด์พับลิเคชัน จำกัด เป็น บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) และเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553 ปัจจุบันบริษัทประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ นิตยสาร COMTODAY, นิตยสาร Business+ และนิตยสาร Eleader ธุรกิจการจัดงานนิทรรศการ งานแสดงสินค้า ได้แก่ งานคอมมาร์ต และการจัดประชุมสัมมนา และธุรกิจสื่อดิจิตอลและสื่ออื่น

 การถือครองหุ้น บมจ.เออาร์ไอพี ของนางกอบกาญจน์ ขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหากยังคงไว้ซึ่งความเป็นผู้ถือหุ้นดังกล่าวมาจนถึงวันที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560  กรณีการถือครองหุ้นดังกล่าวจึงอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 98 (3) และมีผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีตามความในบทเฉพาะกาล มาตรา 264 วรรคสอง 

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ 
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ
 - หุ้นของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU)  จำนวน 16,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 329,600 บาท  
 - หุ้นของ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO)  จำนวน 3,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 459,000 บาท
 - หุ้นของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT)  จำนวน 1,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 260,000 บาท              
 - หุ้นของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH)  จำนวน 10,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 517,500 บาท
 - หุ้นของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC)  จำนวน 2,200 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 1,108,800 บาท              
  - หุ้นของ บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) (TTW)  จำนวน 80,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 872,000 บาท

นายดอน ยังยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2559 กรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2559 ซึ่งแสดงว่า ยังคงไว้ซึ่งความเป็นผู้ถือหุ้นและหุ้นของบางบริษัทมีการได้มาเพิ่มขึ้นในระหว่างดำรงตำแหน่งด้วย โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ

  - หุ้นของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU)  จำนวน 24,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 376,800 บาท  (เพิ่มขึ้น 8,000 หุ้น) 
- หุ้นของ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO)  จำนวน 3,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 597,000 บาท
  - หุ้นของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT)  จำนวน 1,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 347,000 บาท              
  - หุ้นของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH)  จำนวน 10,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 517,500 บาท
 - หุ้นของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC)  จำนวน 2,200 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 1,144,000 บาท              
 - หุ้นของ บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) (TTW)  จำนวน 80,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 896,000 บาท

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อเดือนกันยายน 2558 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2558 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ

              - หุ้นของ บมจ.ซีเค พาวเวอร์ (CKP)  จำนวน 500,000 หุ้น ได้มาวันที่ 18/07/2556 และจำนวน 170,000 หุ้น ได้มาวันที่ 04/06/2558 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 1,715,200 บาท              
              - หุ้นของ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC)  จำนวน 2,000 หุ้น ได้มาวันที่ มากกว่า 7 ปี มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 1,016,000 บาท              
              - หุ้นของ บมจ. ปูนซิเมนต์นครหลวง (SCCC)  จำนวน 200 หุ้น ได้มาวันที่ มากกว่า 7 ปี มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 68,800 บาท

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมช.ศึกษาธิการ 
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ
   - หุ้นของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  จำนวน 37,800 หุ้น ได้มาวันที่ 9-11-52 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 17,463,600 บาท              
   - หุ้นของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT)  จำนวน 6,500 หุ้น ได้มาวันที่ 9-3-47 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 1,274,000 บาท
 

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) 
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ
 - หุ้นของ DTAC  จำนวน 5 หุ้น ได้มาเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 57 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 562.50 บาท               
จากการตรวจสอบข้อมูลจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 12-14/2553 พบว่า

 DTAC หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ประกอบกิจการประเภทให้บริการด้านโทรคมนาคม (โทรศัพท์เคลื่อนที่)ระบบเซลลูล่า บริษัทได้ทำสัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่ากับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตามสัญญาเลขที่ 3/2533 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 (ปัจจุบันการสื่อสารแห่งประเทศไทยแปรสภาพเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546)

การถือหุ้นเพียงจำนวน 5 หุ้น ก็เข้าลักษณะอันต้องห้ามตามความในมาตรา 184 (2) มาตรา 186 และมาตรา 187 ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 12-14/2553 หน้า 32 ที่มีการระบุไว้ว่า

 “รัฐธรรมนูญห้ามการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ต้องห้าม โดยไม่ได้ระบุว่า จะต้องถือหุ้นจำนวนเท่าใดและไม่ได้ระบุว่า จะต้องมีอำนาจบริหารงานหรือครอบงำกิจการหรือไม่ ฉะนั้น การถือหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็ย่อมเป็นการถือหุ้นตามความหมายในรัฐธรรมนูญแล้ว แม้ผู้ถือหุ้นจะไม่มีอำนาจบริหารหรือครอบงำกิจการก็ตาม การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามการถือหุ้นไว้ชัดเจน ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีช่องทางที่จะใช้หรือถูกใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในทางใดทางหนึ่ง”  

ทีมกฎหมายยื่น ขอให้ กกต.ส่งเรื่องให้ศาล รธน.ตีความรัฐมนตรี 9 รายอาจเข้าข่ายสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีแหล่งภาพจาก http://deksocial.com/จ่อสอบ-9-รัฐมนตรี-เข่าข่า/

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน 
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2558 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ
  - หุ้นของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)   จำนวน 25,500 หุ้น ได้มาวันที่ 27 ต.ค. 57 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 507,450 บาท  
  - หุ้นของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 3,666 หุ้น ได้มาวันที่ 27 ต.ค. 57 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 3,775.98 บาท
  - หุ้นของ บริษัท อินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  จำนวน 7,000 หุ้น ได้มาวันที่ 27 ต.ค. 57 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 535,500 บาท

ต่อมา พลเอก ศิริชัยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2559 กรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2559 ซึ่งแสดงว่า ยังคงไว้ซึ่งความเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ดังกล่าว โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ

   - หุ้นของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)   จำนวน 38,250 หุ้น ได้มาวันที่ 27 ต.ค. 57 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 507,450 บาท (เพิ่มขึ้น 12,750 หุ้น) 
 - หุ้นของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 3,666 หุ้น ได้มาวันที่ 27 ต.ค. 57 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 3,775.98 บาท
  - หุ้นของ บริษัท อินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  จำนวน 7,000 หุ้น ได้มาวันที่ 27 ต.ค. 57 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 535,500 บาท

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม 
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ
              
 - หุ้นของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) จำนวน 10,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 4,020,000 บาท
- หุ้นของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) จำนวน 50,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 435,000 บาท
 - หุ้นของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) จำนวน 26,000 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 9,074,000 บาท
 - หุ้นของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) จำนวน 2,521 หุ้น ไม่ระบุวันได้มา มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 207,982.50 บาท

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 กรณีเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 โดยแสดงรายการเงินลงทุน คือ
 - บันทึกข้อตกลงเข้าหุ้นทำธุรกิจที่ดินเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ลงวันที่ 19 พ.ค. 2557 มูลค่ารวม ณ วันแสดงบัญชี 20,000,000 บาท

บันทึกข้อตกลงเข้าหุ้นทำธุรกิจที่ดินเขาใหญ่ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 รวมมูลค่า 20,000,000 บาท นั้น เป็นเอกสารชุดเดียวกันกับของนายอุตตม ที่มีการยื่นเอกสารต่อ ป.ป.ช. ไว้อย่างชัดเจนแล้ว ดังนั้น กรณีเอกสารการลงทุนของทั้งสองคนจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาการเข้าเป็นห้างหุ้นส่วนเพื่อประสงค์จะทำธุรกิจที่ดินและแบ่งปันผลกำไร ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 22 ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท  และไม่มีกฎหมายใดยกเว้นให้รัฐมนตรีเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญได้ กรณีจึงต้องห้ามตามความในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 187 แล้ว

คำร้องของนายเรืองไกร ยังระบุด้วยว่า กรณีการเสนอแต่งตั้งนายอุตตม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสนธิรัตน์  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 นั้น มีข้อสังเกตว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรต้องรู้อยู่แล้วว่า ทั้งสองคนเป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เพราะมีคุณสมบัติที่ขัดต่อมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 เนื่องจากนายอุตตม  เคยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2558 ซึ่งนายอุตตม สาวนายน ได้ยื่นแสดงรายการเงินลงทุนทำธุรกิจที่ดินเขาใหญ่ ไว้ในรายการทรัพย์สินอื่นมาก่อนแล้ว ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจะอ้างว่า ไม่รู้ข้อมูลดังกล่าว คงรับฟังไม่ขึ้น 

และเมื่อควรทราบการลงทุนทำธุรกิจที่ดินเขาใหญ่ของนายอุตตม มูลค่า 5,000,000 บาทแล้ว ก็ต้องทราบต่อไปด้วยว่า การลงทุนดังกล่าว มีนายสนธิรัตน์ ลงทุนด้วยจำนวน 20,000,000 บาท จากเงินลงทุนทั้งหมด 100,000,000 บาท ดังนั้น การเสนอแต่งตั้งทั้งสองคนเป็นรัฐมนตรี จึงขัดต่อมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งเรื่องนี้เคยแจ้งนายกรัฐมนตรีและ ป.ป.ช.ไปก่อนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จะใช้บังคับ แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามที่ร้องเรียนไปแต่อย่างใด และอาจจะมาขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 264 ประกอบมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงขอให้ กกต. เชิญ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาไต่สวนเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมว่า การเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งสองคนนั้น นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีทั้งสองคนที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบตามบทกฎหมายใดด้วยหรือไม่ 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี 
ยื่นข้อมูลต่อ ป.ป.ช. ว่าเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และ กรรมการสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ด้วยนั้น กรณีจึงอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 187 ในส่วนความที่ว่า “รัฐมนตรีต้องไม่เป็นลูกจ้างของบุคคลใด”   ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขอให้ กกต. ตรวจสอบประเด็นดังกล่าวของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่า เข้าข่ายต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี ตามความในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 วรรคสอง ประกอบมาตรา 170 (5) หรือไม่


ที่มา: http://news.voicetv.co.th/thailand/496612.html

แชร์