หมอจุฬาเปิดใจรื้อบัตรทอง - ดันร่วมจ่ายแก้ประชาชนไม่ดูแลตัวเอง VS หมอชนบท ชี้ บัตรทองทำคนเข้าถึงการรักษาสูงขึ้น

ฟังหมอกับหมอเถียงกันครับ ฝั่งนึงบอกบัตรทองทำคนตาย อีกฝั่งชี้บัตรทองทำคนไทยหาหมอเยอะดีแล้ว ฝั่งนึงบอกต้องรื้อ อีกฝั่งถามว่าคนอยากรื้อทำไมไม่ไปดูงบราชการที่แพงกว่าบัตรทองเยอะ ฟังแล้วคิดเพื่อตัดสินใจครับ เพราะนี่คือเรื่องของเรา ไม่ใช่เขาไม่กี่คน http://winne.ws/n16290

590 ผู้เข้าชม

ที่มาFb. Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

   โดย นพ.อภิวัฒน์ ได้กล่าวว่า ตนไม่ได้เชียร์ให้ยกเลิกบัตรทอง บัตรทองเป็นสิ่งมหัศจรรย์ไทยแลนด์ มีคุณค่าต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทยมาก แต่มองว่ามีปัญหาต้องแก้ไข ตอนนี้ในโลกออนไลน์โจมตีตน บอกว่าใช้ฟรีทำให้คนป่วยไปโรงพยาบาลบ่อย ไม่ดูแลตัวเอง ตนเป็นคนพูดเร็วต้องขอโทษจริงๆ อาจทำให้คนเข้าใจผิด แต่ตนพูดว่าหลาย ๆ อย่างถ้าประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตัวเอง สุขภาพก็จะดีขึ้น อย่างเช่นการได้ยา ถึงแม้จะป่วย แต่ได้ยายิ่งน้อยยิ่งดี เช่นเป็นเบาหวาน ออกกำลังกายด้วย ก็มีความต้องการใช้ยาน้อยลง แล้วมีหลาย ๆ อย่างที่รัฐไม่มีเครื่องมือควบคุม เช่นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง ผู้ป่วยเบาหวานได้ยาอินซูลินเป็นหมื่น ให้ไปใช้เป็นเดือน แต่อีกอาทิตย์ทำหาย กลับมาเอาใหม่ ฟรีด้วย ตรงนี้มันไม่มีมาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/nfedlion/2017/06/08/entry-1

“นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ”: ขอดเกล็ดระบบสุขภาพ “เมือง-ชนบท” ลักลั่น

หมอชนบทหนุ่ม จำแนกปมเหลื่อมล้ำระหว่างเมือง-ชนบท เป็น 3 ปัญหาใหญ่ ได้แก่ 1.การเข้าถึงบริการ ซึ่งต้องพิจารณาหลายมิติ แยกย่อยได้เป็น (1)จำนวนบุคลากรทางการแพทย์แตกต่างกันในเมือง-ชนบท โดยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ คือเมื่อเศรษฐกิจดี-มีการขยายงานในชุมชนเมือง แพทย์จากชนบทย่อมไหลเข้าไปทำงานในภาคเอกชน ทางกลับกันหากเศรษฐกิจแย่แพทย์ก็จะอยู่โรงพยาบาลสังกัดรัฐมากขึ้น

“ประเด็นแรก สถานบริการเอกชนส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเมือง แพทย์จะไปกระจุกตัวตามเขตเมืองจนไม่มีแพทย์ให้บริการคนไข้ในชนบท” คุณหมอเกรียงศักดิ์อธิบายความ

ส่งผลให้เกิดปัญหามิติสอง คือจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ต่อสัดส่วนประชากรในเมือง-ชนบทแตกต่างกันประมาณ 8-9 เท่า ผลสำรวจล่าสุดระบุชัดว่านางพยาบาลในภาคตะวันออกน้อยกว่าภาคกลางเป็นสัดส่วน 84% กับ 24%

“และหากลงลึกเฉพาะภาคตะวันออก แพทย์-พยาบาลมักกระจุกตัวในเขตเทศบาล เท่ากับว่าชาวบ้านในชุมชนห่างไกลในภาคตะวันออก นอกจากจะด้อยโอกาสกว่าชาวเมือง ยังต้องด้อยกว่าชาวบ้านเขตเทศบาลอีก”

“ทิศทางนโยบายรัฐบาลคือการขยายความเจริญจากเมืองสู่ชนบท ระบบสุขภาพ การสร้างโรงพยาบาลก็ยึดตามระบบมหาดไทย ปัญหาคือบางจังหวัดมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่น้อยมาก ไม่เพียงพอให้บริการ เมื่อมีเฉพาะโรงพยาบาลขนาดเล็ก จำนวนเตียงก็น้อย บุคลากรก็น้อย งบประมาณก็น้อย”

“น่าสนใจว่าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย(โรงเรียนแพทย์) 10 แห่งทั่วประเทศ ได้รับงบสนับสนุนรวมกันมากกว่าโรงพยาบาลชุมชนร่วม 500 แห่งทั่วประเทศ

ที่มาhttps://www.isranews.org/isranews-article/5479-2012-02-16-06-36-13.html

แชร์