เผย..คำสอนแบบนี้หรือ ที่ใครบางคนบอกว่า "ผิดและบิดเบือน!"

ก่อนที่คุณครูจะเข้ามาสอนในชั่วโมงแรก เสียงหัวหน้านักเรียนชั้น ม.3/4 ในโรงเรียนวัดแห่งหนึ่ง ประกาศบอกกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน พร้อมกับแบมือเดินไปทุกโต๊ะ "กู ทำด้วย" "นี่มึงทำตั้ง 5 บาทเลยเหรอ" http://winne.ws/n16474

794 ผู้เข้าชม

"อ้าววว ใครจะทำบุญกฐินบ้าง???" 

เสียงหัวหน้านักเรียนชั้น ม.3/4 ในโรงเรียนวัดแห่งหนึ่ง ประกาศบอกกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน พร้อมกับแบมือเดินไปทุกโต๊ะ 

ก่อนที่คุณครูจะเข้ามาสอนในชั่วโมงแรก

แต่ละคนก็ควักเหรียญออกมาทำบุญ 50 สตางค์บ้าง 1 บาทบ้าง  มีอยู่คนหนึ่งชื่อ "วินัย" มีผิวดำ ลุกออกจากโต๊ะ ยิ้มฟันขาว เอาเงินมาใส่ในมือหัวหน้าชั้น 

"กู ทำด้วย"  "นี่มึงทำตั้ง 5 บาทเลยเหรอ" 

หัวหน้าชั้นคิดในใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร

 ตกเย็นของวันนั้น หัวหน้าชั้นพูดกับเพื่อนที่สนิทกัน

 "ทุกทีที่ครูบอกให้กูเรี่ยไรบอกเพื่อน ๆ ให้ทำบุญ กูก็ทำตามครูบอก แต่กูไม่เคยทำหรอกนะ 555"

หัวหน้าชั้นพูดด้วยความภูมิใจ ในความฉลาดที่แสนจะโง่ซะ  ซึ่งเด็กนักเรียนหัวหน้าชั้นคนนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน 

เป็นผู้เขียนเอง....

เผย..คำสอนแบบนี้หรือ ที่ใครบางคนบอกว่า "ผิดและบิดเบือน!"

 3 ปีต่อมา (พ.ศ.2529) ผู้เขียนอยู่ชั้น ปวช.3 เพื่อนอีกคนหนึ่ง เอาวารสารกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกายฉบับที่ 1 มาให้ 

ในนั้นมีโอวาทวันปีใหม่ของหลวงพ่อธัมมชโย 2 หน้ากระดาษ มีอยู่ท่อนหนึ่ง ท่านบอกว่า

 "ดำรงสถานะของ "ผู้ให้" ไว้เสมอ

 ช่างเตะตา เตะใจ อย่างแรง "ทำไมคนเราต้องยอมเป็นคนเสียเปรียบด้วย" ผู้เขียนคิด 

แล้วไอ้เพื่อนคนนั้นมันก็ขยันเอาเรื่องราว บทเทศน์ บทสอนของวัดพระธรรมกายมาให้ผู้เขียนอยู่เรื่อย ๆ

"คนเราโตมากับการให้" คำสอนหนึ่งของวัดพระธรรมกาย

ที่ไอ้เพื่อนคนนี้เอามาให้ 

"ลองคิดดูสิ เราเกิดมาไม่มีอะไรติดตัวแม้แต่เสื้อผ้า  ถ้าพ่อแม่ไม่ให้นม ไม่ให้ข้าว ไม่ให้เสื้อผ้า ไม่ให้ที่อยู่ ม่ให้การศึกษา เราจะรอดและฉลาดมาถึงทุกวันนี้ไหม"

เผย..คำสอนแบบนี้หรือ ที่ใครบางคนบอกว่า "ผิดและบิดเบือน!"

ได้ยิน ได้ฟัง ข้อมูลแบบนี้มากเข้า ๆ ความคิดชักเริ่มเปลี่ยน แล้วไอ้เพื่อนคนนี้  มันก็ยังชวนผู้เขียนไปนั่งสมาธิกับมันอีก   ไม่ได้นั่งเงียบ ๆ เพราะเปิดเสียงนำนั่งสมาธิของหลวงพ่อธัมมชโยไปด้วย 

ในที่สุดก็หลวมตัวมางานทอดกฐินของวัดพระธรรมกายกับมัน ในปีนั้น (2529)  ปีต่อไป (2530) และอีกปีถัดไป (2531) ซึ่งเป็นกฐินประวัติศาสตร์ของวัดพระธรรมกาย เพราะเป็นครั้งแรกคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็นประธานใหญ่ 

คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์  ขนนกยูงผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย  

วันนั้น ผู้เขียนซึ่งยังเป็นเด็กหนุ่มอายุ 20 ปี เดินเข้าไปในเต้นท์รับบริจาค ควักแบงค์ 100 ออกมาจากกระเป๋าเงิน  เอาสองมือประกบแบงค์ในท่าประนมมือ แล้วยกจบศีรษะนึกในใจว่า 

"ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยทำบุญมากขนาดนี้มาก่อนในชีวิต" 

พอยื่นเงินให้เจ้าหน้าที่  "อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ"  เสียงใส ๆ ของเจ้าหน้าที่รับบริจาคก็ดังขึ้น ก่อนที่จะรับเงินของผู้เขียนซะอีก 

ความสุขที่บอกไม่ถูกก็เกิดขึ้นมาในใจ  

ทุกวันนี้ ผู้เขียน สามารถทำบุญได้มากกว่าวันนั้นมากมาย แต่ก็ไม่มีครั้งไหนที่จะสุขใจเหมือนวันนั้น  

หากหลับตาทำสมาธิแล้วนึกบุญนั้นทีไร ก็จะสุขใจทุกครั้ง ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ก็บอกไม่ถูกเหมือนกัน

 จนกระทั่งหลายปีต่อมา นำโอวาทปีใหม่ 2529 ของหลวงพ่อธัมมชโย มาอ่านทบทวนอีกครั้ง  ถึงได้เข้าใจ เพราะคำว่า 

"ดำรงสถานะของ "ผู้ให้" ไว้เสมอ"  จะมีคำต่อท้ายที่ต่อจากนั้นว่า 

 "เมื่อนั้น ความปีติโสมนัส จะบังเกิดขึ้นแก่ใจ"


Cr.สุภคฺโค ภิกฺขุ

11 มีนาคม 2559

เผย..คำสอนแบบนี้หรือ ที่ใครบางคนบอกว่า "ผิดและบิดเบือน!"
แชร์