คำสอนพุทธศาสนา มีอำนาจยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยเฉพาะกับสังคมไทย จริงหรือไม่?

ในอดีต วัดและบ้านสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระเป็นผู้นำของชาวบ้านทั้งด้านจิตใจ การปกครอง และสังคม ฉะนั้น พระสงฆ์จึงมีบทบาทต่อการพัฒนาสังคม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธธรรม อันดีงามของชาติบ้านเมืองให้ดำรงอยู่ได้ตลอดไป http://winne.ws/n16645

1.4 พัน ผู้เข้าชม
คำสอนพุทธศาสนา มีอำนาจยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยเฉพาะกับสังคมไทย จริงหรือไม่?แหล่งภาพจาก oknation.nationtv.tv

หนังสือ “เรื่องวัฒนธรรม” จัดพิมพ์โดยมูลนิธิ เสฐียรโกเศศ -นาคะประทีป ดังนี้ 

       “…จิตใจ ความต้องการและความจำเป็นทางจิตใจ ในบรรดาสัตว์โลกมีคนเท่านั้นที่รู้จัก เอาอดีตมาปรับเพื่อคาดการณ์ในอนาคต อย่างน้อยก็รู้ว่ามีคนเกิดมาก่อนตน และจะมีคนเกิดต่อ ไปภายหน้า และรู้ว่าตนแม้จะมีชีวิตอยู่แต่ไม่ช้าตนก็จะต้องตายไป เพราะด้วยความกลัวตายและ ไม่ทราบว่าทำไมตนจึงต้องเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน เหล่านี้เป็นต้น เพราะด้วยคิดเห็นเช่นนี้ คนจึงต้องมีวัฒนธรรมทางความเชื่อ เพื่อบำรุงใจในเมื่อได้รับความทุกข์เดือดร้อน มีความสะเทือน ใจอย่างแรงหรือหวั่นวิตกต่อภัย ก็คิดถึงเรื่องศาสนา ศาสนาจึงเป็นเครื่องกำหนดบังคับใจไม่ให้ ประพฤติชั่ว ซึ่งทางกฎหมายไม่มีทางจะบังคับลงโทษได้ เพราะฉะนั้นข้อบังคับทางศาสนาจึงมีอำนาจ ยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย” 

โดยสรุป สถาบันศาสนาเป็นสถาบันที่มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของบุคคลและ ชุมชนไทยตลอดมา ดังนี้      

       ๑. สถาบันทางศาสนาเป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน บุคคลเมื่อมีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งเดียวกันทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน เกิดสายสัมพันธ์ทางจิตใจ นำมาซึ่งกิจกรรมที่เป็นผลดีต่อส่วนรวมอื่น ๆ อีกมากมาย การมี ความรู้และความเชื่ออย่างเดียวกัน ทำให้บุคคลมีแนวความคิด โดยเฉพาะความรู้ ความเข้าใจ ความ รู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งอันเป็นธรรมชาติ เกี่ยวกับชีวิตและสังคม พิธีกรรมทางศาสนาทำให้แต่ละ คนได้รู้ข่าวคราว ความทุกข์สุข ได้ศึกษาปัญหา ให้ข้อคิดเห็นและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามโอกาส ชุมชนก็จะมีแต่ความกลมเกลียวสามัคคี เป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกัน     

        ๒. สถาบันทางศาสนา ตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจของบุคคล นอกจากจะมี ความต้องการปัจจัย ๔ คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค แล้วยังจำเป็นต้องมีที่พึ่ง ทางใจเพื่อต่อสู้กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่นอกเหนืออำนาจของมนุษย์จะเข้าใจและควบคุมได้ ศาสนาจึงเป็นทางแห่งชีวิตโดยมีเทพเจ้าต่าง ๆ คอยช่วยต่อสู้กับอำนาจชั่วร้าย เช่น อำนาจทาง พายุ คลื่นทะเล ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า     

       ๓. สถาบันทางศาสนา สร้างความสมดุลทางใจแก่บุคคลและสังคม โดยอาศัยเรื่องเล่า ปรัมปรา และสมมติเทพต่างๆ ในการตอบปัญหาที่มนุษย์ไม่อาจจะหาคำตอบได้ เช่น เมื่อมีข้อ ข้องใจว่าโลกและจักรวาลนี้เกิดมาได้อย่างไร ศาสนาคริสต์ก็ตอบว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง เป็นต้น 

       ๔. สถาบันทางศาสนา กำหนดแบบแผนพฤติกรรมของชุมชนโดยทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การเกิด การแต่งงาน การทำบุญ การตาย     

       ๕. สถาบันทางศาสนา เป็นแหล่งให้การศึกษาตลอดชีพแก่ชุมชน โดยผู้ทำหน้าที่ของ สถาบัน คือพระสงฆ์ เป็นผู้แนะนำสั่งสอนความรู้และวิชาชีพที่นอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ชุมชนไทยที่เป็นชาวพุทธก็มีวัดเป็นแหล่งวิทยาการต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณสืบต่อมาจนถึง ปัจจุบัน จนมีคำพูดกันติดปากว่า “บวชเรียนเขียนอ่าน” วัด เป็นสถานที่เรียน อ่าน เขียน คิดเลข และงานฝีมือต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดและครูคือพระสงฆ์ในวัด

คำสอนพุทธศาสนา มีอำนาจยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยเฉพาะกับสังคมไทย จริงหรือไม่?แหล่งภาพจาก wat-99.blogspot.com

       ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนากว่าร้อยละ ๙๐ และสถาบันศาสนาเป็นระบบย่อยของสังคมไทยซึ่งมีวัดเป็นศาสนสถาน มีพระสงฆ์เป็น ศาสนบุคคลที่จะทำให้พระพุทธศาสนาช่วยในการพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ อย่างสำคัญ ยิ่ง คนไทยสมัยโบราณหันหน้าเข้าวัด ใกล้ชิดวัด สนิทกับวัดมาก และวัดก็ทำหน้าที่ที่สำคัญเพื่อ ชาวบ้านไม่น้อย เช่น    

       ๑. เป็นสถานศึกษา ชาวบ้านส่งลูกหลานอยู่วัดเพื่อรับใช้พระและรับการอบรมศีลธรรมเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ จากพระ     

       ๒. เปนสถานสงเคราะหบุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยอยู่ในวัด อาศัยเล่าเรียนและดำรงชีพ แม้ผู้ใหญ่ที่ยากจนก็อาศัยวัดดำรงชีพ    

       ๓. เป็นสถานพยาบาลรักษาผู้เจ็บป่วยตามความรู้ ความสามารถในสมัยนั้น    

       ๔. เป็นที่พักคนเดินทาง     

       ๕. เป็นสโมสร ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์ พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้     

       ๖. เป็นสถานบันเทิงที่จัดงานเทศกาลและมหรสพต่าง ๆ     

        ๗. เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (ชาวบ้านไปหาความยุติธรรมที่วัด)    

       ๘. เป็นที่ปรึกษาการครองตน การครองชีพ แก้ปัญหาชีวิตครอบครัวและความทุกข์ต่าง ๆ    

       ๙. เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม ที่รวบรวมศิลปกรรมต่าง ๆ ของชาติ    

        ๑๐. เป็นคลังพัสดุ เก็บของใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกันเมื่อมีงานที่วัด หรือเอาไปใช้ เมื่อตนมีงาน     

        ๑๑. เป็นศูนย์กลางการปกครองท้องถิ่น ที่กำนันผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมลูกบ้านชี้แจงข้อราชการต่าง ๆ     

        ๑๒. เป็นที่บำเพ็ญกุศลกิจ หรือประกอบพิธีกรรมตามประเพณีดังคำกลอนที่ว่า วัดจะดี มีหลักฐาน เพราะบ้านช่วย บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย อำนวยชัย ถ้าขาดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง 

       ในอดีต ประเพณีการลงแขกทำงาน ถือว่าเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งที่ดีงามของสังคม เป็นการเสริมสร้างความสามัคคี การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล และการรวมพลังชุมชน แต่ปัจจุบันอำนาจเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำลาย วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมชนบท ทำให้ความสามัคคี การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล และการรวมพลังชุมชน ขาดหายไป เพราะความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุก ๆ ด้าน แบบที่คนไทยไม่รู้ตัว คล้ายเป็น "มะเร็งสังคม" ที่เกาะกินและเป็นเนื้อร้ายอย่างรวดเร็วจนคาดไม่ถึง และกว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินแก้ไปเสียแล้ว กระนั้นหรือ?

       จนกระทั่งทุกวันนี้ เห็นชัดว่า สังคมเจริญขึ้นเฉพาะวัตถุ แต่สูญเสียความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เงินกลายเป็นเครื่องกำหนดคุณค่าและฐานะ ทางสังคม เกิดความเสื่อมทางจริยธรรมและคุณธรรม ความสับสนวุ่นวายและปัญหานานาประการจึงเกิดขึ้นอย่างยากที่จะแก้ไข เพราะมันฝังรากลึกลงไปในจิตใจเสียแล้ว         

คำสอนพุทธศาสนา มีอำนาจยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยเฉพาะกับสังคมไทย จริงหรือไม่?แหล่งภาพจาก ท่องเที่ยว - Thaiza

        ดังนั้น หลักของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ พระสงฆ์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความคิดทางด้านการพัฒนา ด้านจิตใจ  การสร้างจิตสำนึกด้านคุณงามความดี การมีคุณธรรมทางจิตใจ ปราศจากอบายมุข สามารถพึ่งตนเอง ได้ มีสุขภาพจิตดี ไม่มั่วสุมในการพนันทุกประเภท ไม่มัวเมาในกามตัณหาอันเป็นเหตุให้ทะเลาะ เบาะแว้งในครอบครัว ซึ่งเป็นจุดเล็กที่สุดในสังคม แต่ก็สำคัญที่สุดด้วยเช่นกัน

       คำกล่าวที่ว่าคนมี จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ความคิด จิตใจเป็นตัวควบคุมหรือกำหนด พฤติกรรมทางกาย การพัฒนาบุคคลจึงต้องเริ่มพัฒนาที่จิตใจ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ มี ความคิดเห็นที่ถูกต้อง เครื่องมือในการ พัฒนาจิตใจไม่มีอะไรดีไปกว่า ธรรมะ ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา และ ศีล สมาธิ ปัญญา

       ในอดีต วัดและบ้านสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระเป็นผู้นำของชาวบ้านทั้งด้านจิตใจ การปกครอง และสังคม ฉะนั้น พระสงฆ์จึงมีบทบาทต่อการพัฒนาสังคม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธธรรม อันดีงามของชาติบ้านเมืองให้ดำรงอยู่ได้ตลอดไป

       "พุทธศาสนาพาจิตวิจิตรใส วัฒนธรรมไทยให้กายจิตสถิตสม เป็นชาวพุทธสุขสบายสายสังคม ปฏิบัติกลืนกลมสังคมไทย วัฒนธรรมไทยพาไทยบริสุทธิ์ เพราะศาสน์พุทธอุดหนุนวิบูลย์ใหญ่ พุทธธรรมนำมรรคทองผ่องอำไพ เป็นปัจจัยของวัฒนธรรมประจำมา" 

คำสอนพุทธศาสนา มีอำนาจยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย โดยเฉพาะกับสังคมไทย จริงหรือไม่?แหล่งภาพจากนสพ.แนวหน้าและนสพ.ไทยรัฐ

       ดังนั้น หยุด! ทำลายความรักความศรัทธาของพี่่น้องชาวพุทธ ด้วยการสร้างกระแสข่าวให้ร้าย และจับจ้องแต่ความบกพร่องของวัดในพระพุทธศาสนาเสียที เพราะ นี่อาจเป็นการทำลายสังคมไทย ที่เจ็บป่วยอยู่แล้ว ให้ปวดร้าวยิ่งขึ้น ถึงอาจล่มสลาย..ก็เป็นได้ ?? และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ลูกหลานไทย ...? 

สังคมอยู่ไม่ได้ แล้วไทยจะอยู่อย่างไร กฎหมายใช้บังคับให้คนเป็นคนดี ละชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ ได้จริงหรือ ? 

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=743&articlegroup_id=162

แชร์