ไม่บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ โดย "ลม เปลี่ยนทิศ"

ผมไม่รู้ว่ากรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้กลัวอะไร และอะไรคืออันตรายในระยะยาว การบัญญัติให้ ศาสนาที่มีคนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือ เป็น ศาสนาประจำชาติ ทุกประเทศก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรืออันตรายแต่อย่างใด http://winne.ws/n16677

2.3 พัน ผู้เข้าชม
ไม่บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ  โดย "ลม เปลี่ยนทิศ"

วันนี้ขอหยิบยกบทความดี ๆ ที่น่าคิดกับ "ลมเปลี่ยนทิศ"นักเขียนสื่อดีที่มีแง่คิดมุมมองชวนคิดและติดตามกับหัวข้อ

ไม่บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ

โดย ลม เปลี่ยนทิศ 

ไม่บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ  โดย "ลม เปลี่ยนทิศ"

คุณอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญที่ชะอำว่า ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งพระพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และที่ประชุมยังเห็นชอบว่า จะไม่บัญญัติให้ “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ” ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าหากใส่ถ้อยคำดังกล่าวไว้ จะเป็นอันตรายในระยะยาว

ผมไม่รู้ว่ากรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้กลัวอะไร และอะไรคืออันตรายในระยะยาว

การบัญญัติให้ ศาสนาที่มีคนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือ เป็น ศาสนาประจำชาติ ทุกประเทศก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรืออันตรายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต เจ.บาร์โร ระบุว่า มีถึง 58 ประเทศในโลกที่มี การ บัญญัติ “ศาสนาประจำชาติ” ไว้ในรัฐธรรมนูญ และก็ไม่มีคนในศาสนาอื่นในประเทศเหล่านี้ต่อต้านแต่อย่างใด เพราะรู้ดีว่าศาสนาดั้งเดิมของคนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นคืออะไร ย่อมที่จะให้เกียรติเจ้าของประเทศ

ไม่บัญญัติพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ  โดย "ลม เปลี่ยนทิศ"

คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญไปค้นข้อมูลดูได้พระพุทธศาสนา เข้ามาเผยแผ่ใน ประเทศไทย ราว พ.ศ.236 สมัยเดียวกับที่เข้าไปเผยแผ่ใน ศรีลังกา จาก พระธรรมทูต 9 สาย ที่ พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดียที่ส่งออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา ประเทศไทยสมัยนั้นยังรวมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ จาก พ.ศ.236 ถึง พ.ศ.2559 พุทธศาสนาก็อยู่ในดินแดนไทยมานานถึง 2,323 ปีแล้ว แล้วกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญไปกลัวอะไร จึงไม่กล้าบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

จากรายงาน การสำรวจภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ.2554 ของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ประชากรของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.6 นับถือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 4.6 และนับถือ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.7 ที่เหลือคือผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ และผู้ที่ไม่มีศาสนา

ในงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต เจ.บาร์โร ระบุว่า ประเทศที่ระบุศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอิสลาม กลุ่มคริสเตียน และลัทธิเก่าในยุโรป และ กลุ่มพุทธและฮินดู โดย กลุ่มอิสลาม จะระบุชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า lslam is the religion of state หรือ The religion of the State is lslam ศาสนาอิสลามคือศาสนาประจำชาติ

ความจริง ชาวพุทธ เมื่อเทียบกับศาสนาอื่น ถือว่ามีจำนวนน้อยมาก เพียง 6 เปอร์เซ็นต์ของพลเมืองโลกเท่านั้นเอง ประเทศที่เคร่งในพุทธศาสนามากที่สุดก็คือ ภูฏาน รัฐธรรมนูญของภูฏานเรียกกันว่า Buddhist Constitution เลยทีเดียว เพราะมีการบัญญัติถึงกระบวนการแต่งตั้ง พระสังฆราช ในรัฐธรรมนูญด้วย

รัฐธรรมนูญภูฏาน บัญญัติไว้ว่า ศาสนาพุทธคือมรดกทางจิตวิญญาณของภูฏาน ซึ่งส่งเสริมหลักการและคุณค่าของสันติภาพ ความไม่รุนแรง ความเมตตา และความอดกลั้น

อีกประเทศหนึ่งที่มีการบัญญัติพุทธศาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญก็คือ ศรีลังกา โดยบัญญัติว่า สาธารณรัฐศรีลังกาจะยกศาสนาพุทธไว้ในที่สูงสุด และโดยนัยนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้องและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็ให้ความมั่นใจว่า ทุกศาสนาจะมีสิทธิตามมาตรา 10 และมาตรา 14...

แม้แต่ ลาว ที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ก็ยังบัญญัติว่า รัฐเคารพและปกป้องกิจกรรมอันถูกต้องตามกฎหมายของชาวพุทธ และผู้นับถือศาสนาอื่น ส่งเสริมพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ รวมทั้งพระในศาสนาอื่น โดยระบุชื่อ ศาสนาพุทธ อย่างชัดเจน

ก็ในเมื่อคนไทยเกือบ 70 ล้านคน เป็นชาวพุทธถึง 94.6% หรือกว่า 66 ล้านคน แล้ว กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ไปกลัวอะไร จึงไม่กล้าระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ฟังเหตุผลแล้วมันทะแม่งฟังไม่ขึ้นนะ.

“ลม เปลี่ยนทิศ”


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

www.thairath.co.th/content/562574

www.google.co.th

แชร์