ไอโอดีน ไม่ได้มีในเกลือเท่านั้น แถมประโยชน์มากมี

ประโยชน์ไอโอดีน กับ สุขภาพทั้งภายในและภายนอก http://winne.ws/n16716

3.1 พัน ผู้เข้าชม

ไอโอดีน เป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบของไธรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมตาโบริก การสังเคราะห์โปรตีน การทำงานของเอ็นไซน์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาระบบโครงสร้าง และระบบประสาทของตัวอ่อนและทารก การขาดไอโอดีนในทารกและเด็กจะทำให้พัฒนาการทางสมองช้า มีระดับไอคิวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และมีสมาธิสั้น ในผู้ใหญ่จะเกิดคอพอก มีผลต่อสภาวะจิตใจและประสิทธิภาพการทำงาน การขาดอย่างต่อเนื่องเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์

ไอโอดีน ไม่ได้มีในเกลือเท่านั้น แถมประโยชน์มากมีภาพจาก : http://www.vitaminsall.com/wp-content/uploads/url.jpg

ไอโอดีนเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ จับอนุมูลอิสระในร่างกาย และยับยั้งผลของอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคความเสื่อมต่างๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้อและกระดูก โรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับตา เป็นต้น ไอโอดีนจะเสริมการสังเคราะห์คลอลาเจนทำให้แผลปิดเร็วขึ้น มีผลต่อหลอดเลือด กระดูกอ่อน และส่วนประกอบในลูกตา 

ไอโอดีน เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ เป็นเกร็ดสีน้ำตาลเข้ม ระเหิดให้ไอสีม่วง ไอโอดีนที่อยู่ในอาหารมักอยู่ในรูปเกลือ “ไอโอไดด์” มีสีขาวและละลายน้ำดี พบได้ในอาหารทั่วไป พบมากในสาหร่ายและอาหารทะเล ไอโอไดด์ดูดซึมได้ดีและรวดเร็วในกระเพาะและลำไส้ใหญ่ สำหรับเกลือไอโอเดทที่มีความคงตัวมากว่าจะถูกรีดิวส์ในทางเดินอาหารและดูดซึมในรูปไอโอไดด์ เข้าสู่กระแสเลือดไปที่ต่อมไธรอยด์เพื่อสังเคราะห์ไธรอยด์ฮอร์โมน ส่วนที่เหลือจะขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ในผู้ใหญ่สุขภาพสมบูรณ์จะมีไอโอดีน 15-20 มก. ซึ่งอยู่ในต่อมไธรอยด์ร้อยละ 70-80 ที่เหลืออยู่ในกล้ามเนื้อ เลือดและอวัยวะอื่นๆ คนทั่วไปที่รับประทานอาหารปกติ มักไม่ขาดไอโอดีน เพราะปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายต้องการไม่มากดังแสดงในตาราง 

ไอโอดีน ไม่ได้มีในเกลือเท่านั้น แถมประโยชน์มากมี

ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ภาคอีสานของประเทศไทย เป็นพื้นที่ห่างไกลทะเลและใช้เกลือสินเทา จึงมีโครงการการใช้เกลือเสริมไอโอไดด์ เพื่อประกอบอาหาร โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร เพื่อป้องกันการเกิดโรคเอ๋อ มีการพัฒนาการของสมองและร่างกายช้าในทารกและเด็ก โดยองค์การอนามัยโลก แนะนำให้ผสมเกลือปรุงอาหารด้วยเกลือโปตัสเซียมไอโอเดท โดยจะมีปริมาณไอโอดีนเฉลี่ย 47.5 ไมโครกรัมต่อกรัมของเกลือ 

ไอโอดีนใช้เป็นยาภายนอก เป็นยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อน (antiseptic) โดยทำเป็นรูปแบบยาเหน็บ ยาขี้ผึ้ง ยาน้ำผสมแอลกอกฮอล (ทิงค์เจอร์ เวลาใช้จะแสบมาก) และยาน้ำโพวิโดนไอโอดีน ซึ่งใช้ไอโอดีนในรูปที่ละลายน้ำได้ เป็นการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ไอโอดีนใช้ภายนอกที่ไม่แสบ 

สารละลายไอโอดีนเพียงหยดเดียวในน้ำแป้ง จะได้สารละลายสีม่วงแกมน้ำเงินอ่อน(ฟ้า)ถึงเข้ม ขึ้นกับปริมาณแป้ง ซึ่งผงแป้งนี้ถูกใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณหรือความข้นของผลิตภัณฑ์ ถือเป็นสารเจือปนเพื่อลดต้นทุน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เช่น ยาสีฟัน ผงซักฟอกทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์ที่ดี (ราคาสูง) ไม่เติมแป้งหรือเติมอย่างเหมาะสม คงเคยเห็นบูทที่แสดงการทดสอบหยดน้ำยาสีน้ำตาลเข้ม เพื่อทดสอบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ต่างยี่ห้อ ซึ่งเราก็สามารถทดสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ด้วยตนเองโดยการหยดน้ำยาไอโอดีน (น้ำยาโพวิโดนไอโอดีนที่ใช้ใส่แผล) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณแป้ง ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่สมเหตุสมผลกับราคา

ขอบคุณผู้ค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลที่มา :  รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/391/ไอโอดีนกับสุขภาพ/

ไอโอดีน ไม่ได้มีในเกลือเท่านั้น แถมประโยชน์มากมีbpl.co.th/pweb/index.php/academic-professional/academic-articles/103-2013-12-19-07-27-37.html

นอกจากนี้ เกลือเป็นสารประกอบที่จำเป็นต่อชีวิตโดยเฉพาะโซเดียมเป็นสารที่เราได้รับพร้อมกับอาหารทุกวันมากบ้างน้อยบ้างตามพฤติกรรมของแต่ละคน เกลือโซเดียมที่ใช้ในการประกอบอาหารอยู่ในหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือ เกลือแกง หรือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต (Sodium Monoglutamate) และผงฟูโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) ในโมเลกุลของเกลือเหล่านี้ โซเดียมเป็นสารที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุด เนื่องจากโซเดียมทำหน้าที่ความคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย และเกลือแกงเป็นเกลือที่ใช้ในการประกอบอาหารมากที่สุด นอกจากเราจะได้รับเกลือแกงจากการประกอบอาหารโดยตรงแล้ว เกลือแกงยังเป็นส่วนประกอบของซอสชูรสต่างๆ เช่น น้ำปลา น้ำซีอิ้ว ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น นอกจากนั้นเกลือแกงยังเป็นสารที่สำคัญในการถนอมอาหาร เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า รวมทั้งของหมักดองต่างๆ

                 องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าแต่ละวันเราไม่ควรกินเกลือเกินกว่า 5 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) แต่จากข้อมูลการสำรวจพบว่าคนทั่วโลกรวมทั้งคนไทย กินเกลือมากกว่านั้นถึง 2 เท่า คนไทยกินเกลือเฉลี่ยวันละ 10.8 กรัม ปกติเกลือส่วนเกินถ้าไม่มากมักจะถูกขับออกผ่านไต ออกทางปัสสาวะ และเหงื่อโดยไม่กระทบต่อสุขภาพมากนัก แต่ถ้าเกลือส่วนเกินมีปริมาณมาก เกลือจะดึงน้ำในร่างกายมาสะสมในกระแสโลหิต เมื่อมีการสะสมมากเข้า หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจ และหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะเดียวกันไตก็จะทำงานหนักมากขึ้น ทำให้เกิดโรคไตตามมา

                รายงานจากกระทรวงสาธารณะสุขพบว่า จากการสำรวจอัตราการเป็นโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยที่ช่วงปี 2543-2553 พบว่าคนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก 259 ต่อ 100,000 คน เป็น 1,349 ต่อ 100,000 คน เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า และประมาณ 20 ล้านคน ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคไต  และโรคหัวใจ รวมทั้งอัมพาต ถ้าผู้ป่วยเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมการบริโภคเกลือให้ลดลงได้ โรคก็จะนำไปสู่อาการไตวาย ซึ่งต้องทำการล้างไต และฟอกเลือดเป็นประจำ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล จนกว่าจะได้รับการแก้ เช่น เปลี่ยนไต ซึ่งก็ต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมาก

                แม้ว่าเราจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าไม่มีเกลือแต่เราก็สามารถควบคุมให้มีความเหมาะสมได้ วิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดคือ

ลดการใส่เกลือรูปแบบต่างๆในการปรุงอาหารลง 30-50%โดยค่อยๆลดลงเป็นขั้นตอนเพื่อให้ลิ้นได้มีโอกาสปรับการรับรสเค็มตามเหมาะสม

หลีกเลี่ยงการเติมเกลือน้ำปลา หรือซอส ในอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วก่อนบริโภค

ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ได้รับการถนอมด้วยเกลือในปริมาณมาก เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้ารวมทั้งอาหารอบทอดที่ผสมเกลือปริมาณสูง เช่น มันฝรั่งทอด และของขบเขี้ยวต่างๆ

ที่มา : http://www.bpl.co.th/pweb/index.php/academic-professional/academic-articles/103-2013-12-19-07-27-37.html


แชร์