งานวิจัยชี้"พ่ออายุมาก"...จะได้ลูกชายเป็นพวกหมกมุ่นสิ่งเดียว

พ่อที่มีลูกเมื่ออายุมาก มีโอกาสสูงที่จะได้ลูกชายซึ่งมีลักษณะนิสัยหมกมุ่นสนใจในเรื่องเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://winne.ws/n16863

760 ผู้เข้าชม
งานวิจัยชี้"พ่ออายุมาก"...จะได้ลูกชายเป็นพวกหมกมุ่นสิ่งเดียว

นักวิจัยจากราชวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน (King's College London - KCL) เผยแพร่ผลการวิจัยที่พบว่า พ่อที่มีลูกเมื่ออายุมาก มีโอกาสสูงที่จะได้ลูกชายซึ่งมีลักษณะนิสัยหมกมุ่นสนใจในเรื่องเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "กี๊ก" (Geek) นั่นเอง

นักวิจัยได้ติดตามศึกษาฝาแฝด 15,000 คู่ในระยะยาว โดยเมื่อฝาแฝดกลุ่มนี้มีอายุได้ 12 ปี ได้มีการจัดทำ "ดัชนีความเป็นกี๊ก" (Geek Index) โดยมีการให้คะแนนว่าฝาแฝดเหล่านี้เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่มีลักษณะหมกมุ่นสนใจในสิ่งเดียวมากน้อยแค่ไหน โดยพิจารณาจากระดับสติปัญญาหรือไอคิวด้านที่ไม่ใช่ความสามารถทางภาษา รวมทั้งพิจารณาถึงความสามารถในการเพ่งความสนใจต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง และการเข้าสังคมด้วย

งานวิจัยชี้"พ่ออายุมาก"...จะได้ลูกชายเป็นพวกหมกมุ่นสิ่งเดียว

นักวิจัยพบว่า ฝาแฝดที่ได้คะแนนความเป็นกี๊กสูง มักเป็นลูกชายที่เกิดมาเมื่อพ่อมีอายุมากแล้ว และพวกเขามักทำคะแนนได้ดีในวิชาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอายุของแม่กับความเป็นกี๊กของลูกชาย และไม่พบกรณีดังกล่าวในลูกสาว

ดร. มักดาเลนา จาเนคกา ผู้นำการวิจัยดังกล่าวบอกว่า ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้พ่อซึ่งมีอายุมากมีแนวโน้มจะมีลูกชายเป็นกี๊ก แต่อาจมีความเป็นไปได้ 3 ประการคือ

 1) พ่อที่มีนิสัยเป็นกี๊กอยู่แล้ว ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมดังกล่าวไปยังลูก 

2) ชายที่อายุมากขึ้นจะมีความมั่นคงในชีวิต เช่นอาชีพการงานและการเงินมากขึ้นไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งเสริมการเลี้ยงดูลูกให้เข้าถึงการศึกษาได้มากกว่าผู้อื่น จนมีความเป็นกี๊กโดยธรรมชาติ 

3) เกิดการกลายพันธุ์ในสเปิร์มของชายอายุมาก ซึ่งทำให้ลูกชายมีลักษณะเป็นกี๊ก

งานวิจัยชี้"พ่ออายุมาก"...จะได้ลูกชายเป็นพวกหมกมุ่นสิ่งเดียว

น้ำมันปลาไม่ช่วยให้ทารกฉลาดขึ้น

ศาสตราจารย์อัลลัน เพซีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านบุรุษเวชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ แสดงความเห็นต่อผลการวิจัยดังกล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบว่าการมีลูกเมื่ออายุมากนั้นก็มีข้อดีเช่นกัน ซึ่งแนวโน้มที่คนรุ่นใหม่มักมีลูกกันล่าช้าออกไปจนถึงวัยกลางคน อาจทำให้เด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมามีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกันมากขึ้น จนถึงขั้นก่อกำเนิด "สังคมอัจฉริยะ" ในอนาคตก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม บรรดาพ่อแม่ต้องไม่ลืมว่า การมีลูกเมื่ออายุมากยังคงมีความเสี่ยงสูงที่ลูกจะเกิดความบกพร่องทางพันธุกรรม ทั้งมีโอกาสเป็นออทิสติกและโรคจิตเภทได้


ขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://www.bbc.com/thai/international-40396128?ocid=socialflow_facebook

แชร์