กรมสุขภาพจิตแนะเลี้ยงลูกควรปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็กโดยยึดหลักศีล 5

กรมสุขภาพจิตชี้แนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงที่ดีที่สุด คือ การปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เยาว์วัยช่วง 3-6 ขวบ คือช่วงเวลาที่สำคัญ แนะพ่อแม่ยึดหลักศีล 5 เลี้ยงลูก http://winne.ws/n16963

1.8 พัน ผู้เข้าชม

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต

กรมสุขภาพจิตแนะเลี้ยงลูกควรปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็กโดยยึดหลักศีล 5

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและวัยรุ่นที่ปรากฏเป็นข่าวในสังคมอยู่บ่อยครั้ง ว่า โดยทั่วไป จะมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงดูในวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยและ วัยเรียน จากการเติบโตมาในลักษณะที่ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง ที่ทำให้เด็กสะสมความรุนแรงและแสดงออกกับสิ่งของ สัตว์เลี้ยง และเพื่อน โดยไม่รู้สึกผิด และพอกพูนจนเป็นวิถีชีวิต เข้าสู่กระบวนการของความรุนแรง กลายเป็นอาชญากรได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม หากพบความผิดปกติทางพฤติกรรมเช่นนี้ ตั้งแต่วัยเด็กหรือช่วงวัยรุ่นถือเป็นโอกาสที่ยังสามารถแก้ไขได้ทัน

ช่วงเวลาที่สำคัญ ในการปลูกฝังและวางรากฐานทางคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก

กรมสุขภาพจิตแนะเลี้ยงลูกควรปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็กโดยยึดหลักศีล 5

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คอยชี้แนะ สั่งสอน แนะนำลูกตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะ ในวัยเด็ก ช่วง 3-6 ขวบ ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ในการปลูกฝังและวางรากฐานทางคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก 

โดยเฉพาะ ศีล 3 ใน 5 ข้อ ได้แก่ ศีล ข้อที่ 1 ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ศีลข้อที่ 2 ไม่เอาของของผู้อื่นหรือไม่ลักขโมย และศีลข้อที่ 4 คือ ไม่พูดปด หรือพูดหยาบ ซึ่ง 3 ข้อนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถปลูกฝังให้กับเด็กๆ ได้ ปัญหาพฤติกรรมก็จะไม่เกิด แต่หากเด็กมีปัญหาด้านสติปัญญา เลี้ยงยาก หรือสมาธิสั้น อาจสอนแล้วไม่เชื่อฟัง แนะนำให้มาพบจิตแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หรือน่าอายแต่อย่างใด แสดงถึงความรัก ความเอาใจใส่ลูก ที่สำคัญช่วยป้องกันปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

"ในหลายครอบครัวอาจไม่มีเวลาใกล้ชิดลูกมากนัก แต่อย่างน้อยขอให้พ่อแม่สละเวลาสักนิดให้กับพวกเขาในการแสดงความรัก ความเอาใจใส่ที่สามารถทำได้ง่ายๆ เช่น หากเราต้องทำงานบ้าน ก็ชวนลูกๆ มาช่วยทำด้วยและชื่นชมพวกเขา หรือเล่นเกมกระดาน อ่านหนังสือร่วมกับพวกเขา ไม่ว่าจะกับลูกคนใด ขอให้ปฏิบัติต่อพวกเขาเช่นเดียวกัน เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่า พวกเขามีเวลาดีๆ กับพ่อแม่ พ่อแม่ดูแลเอาใจใส่และรักพวกเขาเท่ากัน ที่จะช่วยลดช่องว่างและความน้อยเนื้อต่ำใจที่เกิดขึ้นได้ในเด็กทุกคน ครอบครัวจึงเป็นเหมือนต้นแบบในการใช้ชีวิตของเด็ก หากเด็กขาดบุคคลที่อบรมสั่งสอนอย่างเอาใจใส่หรือขาดแบบอย่างที่ดีหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวเปราะบาง ย่อมก่อให้เกิดปัญหาการใช้ความรุนแรงได้ในอนาคต ทั้งนี้ กรณีเด็กที่โตขึ้นมา ที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม จนเกินความสามารถของครอบครัวที่จะดูแล สามารถใช้กระบวนการทางสังคม เข้ามาช่วยได้ เช่น จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จะเข้ามาประเมินเด็กถึงความเหมาะสมในการอยู่กับครอบครัว หากไม่เหมาะสม ก็จะส่งเข้าสู่กระบวนการสวัสดิการสังคมต่อไป" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

ช่วงเวลาที่สำคัญ ในการปลูกฝังและวางรากฐานทางคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก

กรมสุขภาพจิตแนะเลี้ยงลูกควรปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็กโดยยึดหลักศีล 5

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในส่วนของสื่อที่จะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่นั้น ผลกระทบจะเกิดกับกลุ่มเด็กเสี่ยงที่มีความเปราะบางด้านจิตใจอยู่แล้วมากกว่า เช่น กลุ่มเด็กที่เติบโตมาในชุมชนหรือสภาวะสังคมที่มีความรุนแรงสูง ครอบครัวมีการทะเลาะวิวาท ใช้ความรุนแรง หรือเด็กถูกทอดทิ้ง ถูกกระทำความรุนแรงโดยตรง เป็นต้น การเห็นสื่อความรุนแรงบ่อยๆ ทั้งในชีวิตครอบครัวและสังคม ในสื่อกระแสหลัก สื่อโซเชี่ยล หรือเกมออนไลน์และออฟไลน์ ที่มีแต่ความก้าวร้าว เต็มไปด้วยเรื่องของการฆ่า การทำลายล้างกัน ย่อมทำให้เด็กกลุ่มนี้เกิดความกระด้าง ชาชิน ต่อความสูญเสียและความเจ็บปวด บางครั้งมองเห็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า หรือภาพที่เลวร้ายในสื่อ เป็นตัวชี้นำการแสดงออกความเก็บกดทางอารมณ์ที่ผิดๆ ย่อมทำให้เด็กกลุ่มเปราะบางเหล่านี้ มีพื้นฐานเติบโตขึ้นด้วยการใช้ความรุนแรง เพราะเห็นว่าเป็นแบบอย่าง อีกทั้งทำให้มีความยับยั้งชั่งใจลดน้อยลง มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองต่ำได้

"นอกจากนี้ การป้องกันความรุนแรงกับเด็กและสตรีในครอบครัวจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เริ่มได้จากชุมชน ที่หากพบเห็นปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว ขออย่าเพิกเฉย ซึ่งเรามักพบว่า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นแล้ว เพื่อนบ้านหรือคนรอบข้าง มักจะให้ข้อมูลว่า เห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัวนั้นเป็นประจำ เช่น เห็นตีเด็กเป็นประจำ หรือ ทะเลาะวิวาท ตบตีกันเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งผู้พบเห็น สามารถแจ้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำการแทรกแซงหรือให้การช่วยเหลือ เพื่อหยุดพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสกลับตัว และยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ รวมทั้งสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวไว้ได้ ประกอบกับ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม" หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าว


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://m.manager.co.th/QOL/detail/9600000067522

www.google.co.th

แชร์