ผลโหวตปธน.อินเดีย คาด "ราม นาธ โควินธ์" ชนะลอยลำ

ผลการลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาแต่ละรัฐรวมเกือบ 4,900 คนทั่วประเทศ คาด"โควินธ์"ชนะขาดลอย http://winne.ws/n17261

1.3 พัน ผู้เข้าชม
ผลโหวตปธน.อินเดีย คาด "ราม นาธ โควินธ์" ชนะลอยลำ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า การลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาแต่ละรัฐรวมเกือบ 4,900 คนทั่วประเทศในวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา  โดยมีตัวเต็งระหว่างนาย ราม นาธ โควินธ์ ทนายความวัย 71 ปีที่เป็นผู้สมัครจากพรรครัฐบาล  และนางเมรา กุมาร์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งบุคคลทั้งสองล้วนมาจากวรรณะจัณฑาลทั้งคู่   

การนับคะแนนจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีและจะทราบผลในวันเดียวกัน ซึ่งคาดว่า นายโควินธ์จะได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน และเขาจะเข้ารับตำแหน่งแทนประธานาธิบดีประนาบ มุกเคอร์จี ที่จะพ้นวาระใน 25 ก.ค.นี้  โดยอำนาจของประธานาธิบดีสามารถส่งกลับร่างกฎหมายให้ไปพิจารณาแก้ไขใหม่ ซึ่งนายโควินธ์มีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลจากผู้สมัครจากพรรคภารติยะ ชนะตะ หรือ BJP ของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี และชัยชนะของเขาจะทำให้โมดีกุมอำนาจบริหารได้มั่นคงมากขึ้น และจะทำให้ BJP ได้รับเสียงสนับสนุนจากวรรณะจัณฑาลมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อพรรคในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 กลุ่มคนวรรณะจัณฑาลมีอยู่ราว 200 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 1,300 ล้านคน

ผลโหวตปธน.อินเดีย คาด "ราม นาธ โควินธ์" ชนะลอยลำ

ทั้งนี้"ปิยณัฐ สร้อยคำ" นักศึกษาปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ สกอตแลนด์ ได้เขียนวิเคราะห์ไว้ว่า "เมื่อจัณฑาลท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย แม้จะเป็นตำแหน่งเชิงสัญลักษณ์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนในฐานะประมุขของประเทศ

เป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า ในการลงมติเลือกประธานาธิบดีอินเดียที่จะเกิดขึ้นในเดือนกรฏาคมที่จะถึงนี้ คู่ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าวคือ ราม นาธ โกวินด์ (Ram Nath Kovind) และ Meira Kumar (มีรา กุมาร) ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มฑลิต (Dalit) หรือที่คนไทยรู้จักกันว่ากลุ่มจัณฑาลนั่นเอง

ราม นาธ โกวินด์ ตัวแทนจากพรรคภารติยะชนตะ ซี่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันนั้น อดีตเคยเป็นทนาย ดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกรัฐมนตรีอินเดีย สมาชิกรัฐสภา และล่าสุดผู้ว่าการรัฐพิหาร ด้วยมาจากชนชั้นล่างหรือจัณฑาลของอินเดีย โกวินด์ถูกเลือกให้เป็นประธานกลุ่มวรรณะล้าหลังและกลุ่มชาติพันธุ์ระดับชาติของพรรค ด้วยเหตุนี้นายกรัฐมนตรีโมดิจึงเสนอชื่อของเขาให้ก้าวขึ้นมาเป็นประมุขของประเทศ เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับคนยากจนและคนชายขอบ  

ด้านพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างคองเกรสแห่งอินเดีย ได้มีมติส่ง มีรา กุมาร อดีตนักการทูต โฆษกสภาผู้แทนราษฏร และสมาชิกโลกสภา ลงสนามแข่งขันในครั้งนี้ ซี่งอาจเป็นยุทธศาสตร์ของพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคคองเกรสในการเสนอชื่อมีรา เนื่องจากเธอเป็นทั้ง 'ผู้หญิง' และ 'จัณฑาล' ซี่งมาจากครอบครัวผู้นำชนชั้นล่างและนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของอินเดีย 

คู่ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าวคือ ราม นาธ โกวินด์ (Ram Nath Kovind) และ Meira Kumar (มีรา กุมาร) ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มฑลิต (Dalit) หรือที่คนไทยรู้จักกันว่ากลุ่มจัณฑาลนั่นเอง

ผลโหวตปธน.อินเดีย คาด "ราม นาธ โควินธ์" ชนะลอยลำ

เป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า ในการลงมติเลือกประธานาธิบดีอินเดียที่จะเกิดขึ้นในเดือนกรฏาคมที่จะถึงนี้ คู่ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าวคือ ราม นาธ โกวินด์ (Ram Nath Kovind) และ Meira Kumar (มีรา กุมาร) ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มฑลิต (Dalit) หรือที่คนไทยรู้จักกันว่ากลุ่มจัณฑาลนั่นเอง

ราม นาธ โกวินด์ ตัวแทนจากพรรคภารติยะชนตะ ซี่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันนั้น อดีตเคยเป็นทนาย ดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกรัฐมนตรีอินเดีย สมาชิกรัฐสภา และล่าสุดผู้ว่าการรัฐพิหาร ด้วยมาจากชนชั้นล่างหรือจัณฑาลของอินเดีย โกวินด์ถูกเลือกให้เป็นประธานกลุ่มวรรณะล้าหลังและกลุ่มชาติพันธุ์ระดับชาติของพรรค ด้วยเหตุนี้นายกรัฐมนตรีโมดิจึงเสนอชื่อของเขาให้ก้าวขึ้นมาเป็นประมุขของประเทศ เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับคนยากจนและคนชายขอบ  

ด้านพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างคองเกรสแห่งอินเดีย ได้มีมติส่ง มีรา กุมาร อดีตนักการทูต โฆษกสภาผู้แทนราษฏร และสมาชิกโลกสภา ลงสนามแข่งขันในครั้งนี้ ซี่งอาจเป็นยุทธศาสตร์ของพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคคองเกรสในการเสนอชื่อมีรา เนื่องจากเธอเป็นทั้ง 'ผู้หญิง' และ 'จัณฑาล' ซี่งมาจากครอบครัวผู้นำชนชั้นล่างและนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของอินเดีย (2)

ผลโหวตปธน.อินเดีย คาด "ราม นาธ โควินธ์" ชนะลอยลำ

อย่างไรก็ดีแม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ใช้ประเด็นวรรณะเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง โดยชูว่าที่ประธานาธิบดีจากชุมชนทลิตหรือจัณฑาล ซี่งวิธีการดังกล่าวอาจเป็นเพียงหลุมพรางทางการเมืองเพื่อนำไปสู่ชัยชนะเพียงเท่านั้น อีกทั้งในอดีตอินเดียก็เคยมีจัณฑาลเป็นประมุขของประเทศมาแล้ว คู่ท้าชิงทั้งสองจึงมิใช่เรื่องแปลกใหม่ในประเทศแห่งนี้แต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าทั้งโกวินด์และมีราต่างเป็นผู้สมัครชั้นดีที่มีทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ ความสามารถและหน้าที่การงานที่เหมาะสม สะท้อนว่ารัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดียซี่ง ดร.อัมเบดการ์ จัณฑาลผู้ร่างกฏหมายสูงสุดของประเทศได้ปลูกหลักความเสมอภาคของมนุษย์เอาไว้ตั้งแต่ปี 1950 และบัดนี้ผลแห่งความยุติธรรมทางสังคมได้ออกดอกงอกเงยผ่านระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของจัณฑาลและวรรณะล่างอย่างชัดเจน

ไม่ว่าผลการลงมติจะเป็นอย่างไรนั้น เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า 17 กรกฏาคมนี้ อินเดียจะมีจัณฑาลเป็นประธานาธิบดีอย่างแน่นอน "


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1398347613552966&id=100001332225696

www.google.co.th

แชร์