จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา

แต่เห็นคนติดตามเป็นแสน จึงต้องเขียนอธิบายให้กระจ่างว่า ที่เสนอมานั้น ความจริงเป็นอย่างไร ? และข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ได้ลงข่าววันนี้ (๒๔ กค. ๖๐) ลงข่าวว่า มีผู้เสนอให้ใช้มาตรา ๔๔ ปลดกรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง http://winne.ws/n17438

1.6 พัน ผู้เข้าชม
จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภาแหล่งภาพจาก OKnation

ใช้ ม. ๔๔ ปลดกรรมการมหาเถรสมาคม : ยุคด่าพระได้เสรี.. ไม่รู้ เสือกชี้..

ตั้งแต่เขียนบทความมา.. แต่เดิมตั้งใจที่จะเขียนปกป้องคณะสงฆ์ และมหาเถรสมาคม ในภาพรวมเท่านั้น..

แต่ในยุคนี้ กิจกรรมต่างๆ บางอย่างถูกจำกัด.. แต่สำหรับพระเณร ไม่ว่ารุ่นไหน อายุพรรษาเท่าไร.. ถือเป็นยุคที่.. “ด่าได้อย่างเสรี โดยไม่จำกัดขอบเขต”

ผมคงต้องขยายขอบข่ายปกป้องเป็นรายรูปบ้าง.. ในกรณีที่มีข้อมูลพอที่จะเขียน.. เช่น กรณีเงินทอน วัดปากน้ำและวัดเทพศิรินทร์ ตามที่เป็นข่าว จะเขียนอธิบายต่างหากต่อไป..

แต่เดิมตั้งใจจะหยุดเขียนสักพัก (๑ ปี) เพื่อทำวิทยานิพนธ์ให้จบ.. เพราะพระเดชพระคุณที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้กรุณาโทรศัพท์มาตามเรื่องเรียนเป็นระยะ ๆ.. ก็เกรงใจท่านอยู่.. แต่กรณีนี้ทนไม่ได้จริง ๆ..

เมื่อวันอาทิตย์ พี่ ๆ ได้ส่งข้อมูลเพจ paisal puechmongkol ที่ผมแคปหน้าจอ และลิงค์แนบท้าย ดังนี้

“เมื่อมีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่แล้ว ก็เป็นก็เป็นหน้าที่ ของผู้มีอำนาจที่่เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งให้ กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ไม่ใช่สมเด็จพระราชาคณะให้ลาออก หรือถ้าเจ้าตัวมีหิริโอตตัปปะก็ต้องลาออกเอง จากนั้น สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก็จะได้นำรายชื่อ พระราชาคณะที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต ขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อทรงแต่งตั้ง

บัดนี้ ทรงโปรดสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชมานานแล้ว คนมีหน้าที่ก็ไม่จัดการให้กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ได้รับแต่งตั้งโดยคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สังฆราชมาก่อนลาออก และ กรรมการมหาเถรสมาคมเหล่านั้นยังคงกอดเก้าอี้เฉยอยู่ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ ของผู้มีอำนาจที่จะต้องรีบดำเนินการเรื่องนี้ ต้องรีบทำการสนองคุณแผ่นดินอย่าให้เป็นที่ระคายเคืองหรือเศร้าหมองต่อไปเลย”
(https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/1356144481150887 ๒๒ กรกฎาคม ๖๐)

ว่าจะวางเฉย แต่เห็นคนติดตามเป็นแสน จึงต้องเขียนอธิบายให้กระจ่างว่า ที่เสนอมานั้น ความจริงเป็นอย่างไร ? และข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ได้ลงข่าววันนี้ (๒๔ กค. ๖๐) ลงข่าวว่า มีผู้เสนอให้ใช้มาตรา ๔๔ ปลดกรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งใหม่ “เพื่อเปิดทางให้เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงใช้พระอำนาจ คัดสรรมหาเถระผู้ทรงธรรม ทรงวินัย มีสุจริตธรรมในใจ มีสติปัญญา เข้ามาทำงานรับใช้คณะสงฆ์ให้เจริญก้าวหน้าสืบไป” ตามข่าวที่แค๊ปหน้าจอ และลิงค์ https://www.matichon.co.th/news/609395 (๒๔ กค. ๖๐)

รายละเอียด กดที่ลิงค์แล้วจะอ่านได้.. จึงไม่ขอนำเสนอไว้ ให้รกรุงรัง..

ขอเรียนว่า ตาม พรบ. คณะสงฆ์ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มหาเถรสมาคมประกอบด้วย
๑. สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม โดยตำแหน่ง
๒. สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม โดยตำแหน่ง
๓. พระราชาคณะที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม ไม่เกิน ๑๒ รูป ดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี และอาจได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกได้
รายละเอียดตามอ้างอิงท้ายบทความนี้..

ที่นำมากล่าวกัน คือ กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง ไม่เกิน ๑๒ รูป นี้เอง ที่เขาอ้างว่า “ขอให้ลาออก จะตามมารยาท หรือเพราะครั้งก่อนๆ แต่งตั้งโดย เจ้าประคุณสมเด็จฯ วัดสระเกศ และวัดปากน้ำ ตามลำดับ หรือให้ออกโดยใช้มาตรา ๔๔ ก็ตาม”

ผมจึงใช้คำว่า “ไม่รู้ แต่เสือกชี้” คงเป็นคำที่ค่อนข้างแรงสำหรับผม แต่คิดว่าคงจะไม่รุนแรงสำหรับความคิดแบบที่เสนอมานี้.. ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

๑. การแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง เป็นพระอำนาจของ สมเด็จพระสังฆราช ตามกฎหมาย ก็จริง แต่ในทางปฏิบัติ จะมี “จารีตประเพณี” คือ สมเด็จพระสังฆราชจะทรงแต่งตั้ง
๑๑ พระราชาคณะชั้นธรรมขึ้นไป
๑.๒ ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย (ฝ่ายธรรมยุติกนิกายและมหานิกาย) ฝ่ายละ ๖ รูป เท่ากัน

๒. การแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมแต่ละฝ่าย ฝ่ายละ ๖ รูป นั้น จะมีการประสานกันภายใน ของสมเด็จพระราชาคณะแต่ละฝ่ายว่า จะแต่งตั้งพระราชาคณะรูปใด เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะมีการแต่งตั้งขึ้นมาเอง ส่วนนี้ถือเป็น “จารีตประเพณี” อีกเช่นกัน

๓. สมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นต้นมา จะทรงตั้งกรรมการรูปที่ดำรงตำแหน่งมาครบวาระ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจะอาพาธจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ลาออก หรือถึงมรณภาพ จนถึงเจ้าประคุณสมเด็จฯ วัดสระเกศ และวัดปากน้ำ เป็น ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ก็ยึด “จารีตประเพณี” นี้ มาโดยตลอด

กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง ที่มีผู้เสนอให้ลาออก หรือใช้ ม.๔๔ ปลด “เพื่อเปิดทางให้เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงใช้พระอำนาจ คัดสรรมหาเถระผู้ทรงธรรม ทรงวินัย มีสุจริตธรรมในใจ มีสติปัญญา เข้ามาทำงานรับใช้คณะสงฆ์ให้เจริญก้าวหน้าสืบไป” มีดังนี้..

ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
๑. พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๒. พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม
๓. พระพรหมมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๔. พระพรหมวิสุทธาจารย์ วัดเครือวัลย์
๕. พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม
๖. พระธรรมบัณฑิต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

ฝ่ายมหานิกาย
๑. พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา
๒. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ
๓. พระพรหมดิลก วัดสามพระยา
๔. พระพรหมโมลี วัดปากน้ำ
๕. พระพรหมสิทธิ วัดสระเกศ
๖. พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส

การแต่งตั้ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีบทบาทเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ธุรการเท่านั้น

หากมีตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง รูปใด ฝ่ายใด ว่างลง.. สมเด็จพระสังฆราช จะมีพระบัญชาผ่านเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชว่า จะทรงตั้งพระราชาคณะรูปใด ฝ่ายนั้น (โดยผ่านการประสานเป็นการภายในกับสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายนั้น ตามข้อ ๒ แล้ว) เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมแทน

สำนักพุทธฯ จะทำพระบัญชา กราบทูลสมเด็จพระสังฆราชลงพระนาม และนำเสนอนายกรัฐมนตรี (ปกติจะมอบให้รัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งแทน) ลงนามรับสนองพระบัญชา เสร็จแล้ว สำนักพุทธฯ จะนำพระบัญชาแจ้งพระราชาคณะรูปที่ได้รับแต่งตั้ง และอาราธนาเข้าประชุมมหาเถรสมาคมในครั้งต่อไป พร้อมทั้งนำเรื่องแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมรูปนั้น เสนอมหาเถรสมาคมทราบ (ในการประชุมครั้งนั้น จะมีการมอบพระบัญชาแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมด้วย)

กรณีที่กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งครบวาระ สำนักพุทธฯ จะทำหนังสือกราบทูล สมเด็จพระสังฆราชทรงทราบ เพื่อมีพระบัญชา ตามจารีตเดิม สมเด็จพระสังฆราชก็จะมีพระบัญชา แต่งตั้งรูปนั้นๆ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไป สำนักพุทธฯ จะทำพระบัญชาแต่งตั้งรูปนั้นเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม กราบทูลสมเด็จพระสังฆราชทรงลงพระนาม ตามขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนใดและหน้าที่ของใคร มีเท่านี้

การเสนอให้ลาออก.. ตามที่เสนอ ไม่มีใน พรบ. คณะสงฆ์.. จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า จะทำอย่างไร ?

การใช้ ม.๔๔ ก็ไม่ใช่อำนาจของสมเด็จพระสังฆราช และคณะสงฆ์ จึงไม่อาจวิเคราะห์ได้..

การใดๆ ในยุคนี้ จึงไม่อาจบอกได้ว่า “หน้าที่ใครหน้าที่มัน” เพราะมันก้าวก่ายกันจนวุ่นวายไปหมด.. จนกลายเป็นยุค “กูเท่านั้นที่ดี และถูกต้อง” ฯลฯ ที่ผมเคยกล่าวว่า “ตรรกะวิบัติ” นั่นเอง..

ใครเป็นศิษย์กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง ผมตั้งลูกให้แล้ว .. จะทำอย่างไร ก็แล้วแต่ท่านก็แล้วกัน.. !

อ้างอิง : พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

หมวด ๒
มหาเถรสมาคม
มาตรา ๑๒ มหาเถรสมาคมประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราชซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกินสิบสองรูปเป็นกรรมการ
มาตรา ๑๓ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
มาตรา ๑๔ กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา ๑๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๔ กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) มรณภาพ
(๒) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
(๓) ลาออก
(๔) สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก

ในกรณีที่กรรมการมหาเถรสมาคมพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ สมเด็จพระสังฆราชอาจทรงแต่งตั้งพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งเป็นกรรมการแทน

กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามความในวรรคก่อนอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา ๑๕ ทวิ การแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมตามมาตรา ๑๒ และการให้กรรมการมหาเถรสมาคมพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๕ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช

เรียบเรียงโดย : พิศาฬเมธ แช่มโสภา ป.ธ.๙

ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1763422893957526&id=100008694968507

จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา
จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา
จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา
จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา
จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา
จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา
จะใช้ ม. ๔๔ กับกรรมการมหาเถรสมาคม ถูกต้องแล้วหรือ? :ยุคด่าพระได้เสรี..ไม่รู้ เสือกชี้..โดยพิศาฬเมธ แช่มโสภา
แชร์