กม.ที่ใช้แบบไร้มาตรฐานก็อาจกลายเป็นบรรทัดฐานได้เช่นกัน

เวลามีการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เคยมีแนวปฏิบัติมาก่อน หากได้รับการยอมรับจากสังคม ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ที่สามารถนำไปบังคับใช้กับทุกคนได้เช่นกัน http://winne.ws/n17562

1.2 พัน ผู้เข้าชม

เวลามีการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เคยมีแนวปฏิบัติมาก่อน หากได้รับการยอมรับจากสังคม ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ที่สามารถนำไปบังคับใช้กับทุกคนได้เช่นกัน 

ในส่วนของวัดวาอาราม 40,000 วัดทั่วประเทศ ซึ่งมีศาสนสมบัติต้องดูแลรักษาอยู่ไม่น้อย และในปัจจุบันพบว่า มีการใช้กฎหมายทางโลกตั้งข้อหากับวัดวาอารามอย่างเอาเป็นเอาตายชนิดไม่เคยมีแนวทางปฏิบัติมาก่อน 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบางครั้งมีการยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์สินของวัดโดยยังไม่มีคำสั่งของศาล ทั้งคำสั่งประเภทที่ศาลสั่งก่อนพิจารณาคดี หรือคำสั่งประเภทที่เป็นคำพิพากษาของศาล 

ชวนให้สงสัยว่าการบังคับคดีด้วยการยึดทรัพย์ก่อนมีคำสั่งศาลนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้หรือไม่ และใครที่เป็นผู้มีอำนาจบังคับคดีตามกฎหมายได้บ้าง 

เพราะความสงสัยจึงต้องค้นคว้าแล้วก็พบว่า ถ้าไม่มีคำสั่งศาล ใครก็ไม่มีอำนาจในการบังคับคดี 

เรื่องนี้ก็เป็นความรู้ที่ชาวพุทธจะได้ใช้ปกป้องดูแลศาสนสมบัติของพระพุทธศาสนากันต่อไป

---------------------------------------

 

คำถาม ผู้มีอำนาจบังคับคดีคือบุคคลใด?

คำตอบ มาตรา ๒๗๑ บัญญัติถึงผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีได้ คือ คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งเรียกว่า “เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา” 

ส่วนผู้ที่จะถูกบังคับคดี คือ คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งเรียกว่า “ลูกหนี้ตามคำพิพากษา” 

มาตรา ๒๗๑ ไม่ได้บัญญัติว่า ผู้ชนะคดีจะต้องเป็น “โจทก์” แสดงว่าผู้ชนะคดีอาจเป็นฝ่ายใดก็ได้ ฝ่ายใดชนะคดีต้องพิจารณาจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล จากบทบัญญัติดังกล่าวได้หลักกฎหมาย ๓ ประการ คือ 

๑. บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ฝ่ายชนะคดีย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี เช่น 

- ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามคำขอของโจทก์แล้ว จำเลยยื่นคำของรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่โจทก์เพิกเฉย อย่างนี้จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้โจทก์ดำเนินการยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๗๑ ไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ใช่เป็นบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นยกคำร้องชอบแล้ว (ฎ.๓๐๙๐/๒๕๔๙)

๒. หากผลของคำพิพากษาทำให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน จำเลยก็มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ เช่น

- ตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นเป็นผลให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ เพื่อดำเนินการบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายใน ๑๐ ปีตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๗๑ (ฎ.๘๘๑/๒๕๔๔)

- โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาด้วยกันทั้งสองฝ่าย ต่างจึงมีสิทธิบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา ซึ่งโจทก์มีภาระต้องชำระค่าที่ดินที่ค้างก่อนจึงจะมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินตามสัญญาเดิม ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับศาล จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้เป็นไปตามคำบังคับได้ (ฎ.๒๖๔๙/๒๕๔๓)

- นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำหนี้ค่าทีดินที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะต้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยเช่นกัน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอออกหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๗๕ (ฎ.๕๓๑๐/๒๕๔๔)

๓. บุคคลที่มิใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีได้ เช่น 

- ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดี 

- ผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดี (ฎ.๗๕๖๗/๒๕๔๗)

- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ทั้งไม่ใช่กรณีที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดัง ไม่มีสิทธิบังคับคดี (ฎ.๒๕๖๒/๒๕๕๐)

๔. ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมาย มีสิทธิบังคับคดีได้ เช่น 

- โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่ผู้ร้อง ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๗ ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติดังกล่าว และการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมายในกรณีนี้ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. ภาค ๔ (ฎ.๒๐๖๗/๒๕๔๙)

๕. ผู้ซื้ออสังหาฯจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอให้บังคับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๓๐๙ ตรี 

(ข้อมูลมาจาก ท่านอาจารย์ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์)

อ้างอิงข้อมูลกฎหมายจาก : https://www.facebook.com/TiwKdhmayMhathephXaCarYPhrnngkhBwrChayThrrm/posts/628231473884398

---------------------------------------------

29 กรกฎาคม 2560

15.25 น.

Cr.Ptreetep Chinungkuro


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://m.facebook.com/photo.php?fbid=1705379159490879&id=100000564350128&set=a.1681732288522233.1073741831.100000564350128

กม.ที่ใช้แบบไร้มาตรฐานก็อาจกลายเป็นบรรทัดฐานได้เช่นกัน
แชร์