หวั่นสาบสูญ!'ศิลปินพื้นบ้าน' วอนหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมอนุรักษ์การเเกะสลัก 'ตุงโลหะ' คู่ไทยตลอดไป

ศิลปินพื้นบ้านครวญ งานตุง (ธง) โลหะพุทธชาดก แห่งเดียวในประเทศ ไร้คนเหลียวแล วอนวัฒนธรรมจังหวัด และกรมศิลปากร ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่ก่อนจะหายสาปสูญไป http://winne.ws/n17837

811 ผู้เข้าชม
หวั่นสาบสูญ!'ศิลปินพื้นบ้าน' วอนหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมอนุรักษ์การเเกะสลัก 'ตุงโลหะ' คู่ไทยตลอดไป

ศิลปินพื้นบ้านครวญ งานตุง (ธง) โลหะพุทธชาดก แห่งเดียวในประเทศ ไร้คนเหลียวแล วอนวัฒนธรรมจังหวัด และกรมศิลปากร ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่ก่อนจะหายสาปสูญไป

วันที่ 9 ส.ค. 60 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ บ้านของพ่ออุ้ยคำ หรือหนานคำ ปินะดวง อายุ 83 ปี บ้านเลขที่ 270 ม. 12 ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา พ่ออุ้ยคำเป็นช่างทำตุงหรือธง ที่มีประสบการณ์และมีฝีมือในการทำตุงล้านนา เพื่อใช้ในการงานพิธีของชาวล้านนา  

พบว่าพ่ออุ้ยคำกำลังนั่งแกะสลักตุงผ้าอยู่ที่บริเวณบ้าน ท่าทางขะมักขะเม้น โดยใช้อุปกรณ์เป็นค้อน สิ่ว ตอกเป็นลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม นอกจากการแกะสลักตุงจากผ้าแล้วพ่ออุ้ยคำยังมีความสามารถในการทำตุงอะลูมิเนียมเกี่ยวกับพุทธชาดก หรือตุงนักษัตร 12 ราศี มีความยาว 8 เมตร ซึ่งมีความวิจิตรพิสดารอย่างมาก แต่คนโดยมากไม่เคยเห็น ไม่เคยได้สัมผัส

หวั่นสาบสูญ!'ศิลปินพื้นบ้าน' วอนหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมอนุรักษ์การเเกะสลัก 'ตุงโลหะ' คู่ไทยตลอดไป

พ่ออุ้ยคำกล่าวว่าตุงผ้าหรือตุงกระดาษเมื่อถูกแดดฝนจะเกิดความเสียหายอยู่ได้ไม่นาน จึงเกิดความคิดว่าอยากจะให้ทนทานจึงใช้แผ่นสเตนเลส และสังกะสีมาทดลองทำก่อน มันก็สวยงามดี แต่มีข้อเสียคือ มันมีความเหนียวและคมไม่พลิ้วสบัดล้อลม จึงลองใช้แผ่นอะลูมิเนียมติดด้วยสติ๊กเกอร์สีเงินสีทองจะพลิ้วล้อลม เหนียวและทนทาน จึงตัดสินใจใช้แผ่นอลูมิเนียมมาตลอด

พ่ออุ้ยคำเปิดใจว่า อยากจะให้ศิลปะการทำตุงอะลูมิเนียมล้านนานี้สืบทอดให้ตกไปถึงอนุชนรุ่นหลัง ไม่อยากให้หายสาบสูญไป เพราะปัจจุบันไม่มีใครมาสืบทอดงานศิลปะการทำตุงโลหะเลย หลายปีเมื่อก่อนเคยมีนักเรียนจากกรมศิลปากรมาศึกษาอยู่บ้าง 

พ่ออุ้ยบอกว่า อยากให้ศิลปะการแกะสลักตุงโลหะตกถึงลูกหลานเหลนได้ศึกษาเรียนรู้ เพราะปัจจุบันไม่มีใครมาสืบทอด อยากให้ส่วนราชการ เช่น วัฒนธรรมจังหวัด หรือกรมศิลปากร เข้ามาดูแล เผยแพร่ พ่ออุ๊ยยินดีให้นำไปโชว์หรือจัดแสดง หรือไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ ขอเพียงส่วนราชการแจ้งมา แต่ก็ไม่มีใครเหลียวแล โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พ่ออุ๊ยกลัวว่าศิลปะพื้นบ้านล้านนาจะสูญหาย 

ที่มา : http://www.workpointtv.com/news/46007

แชร์