8 สิงหาคม 2560 ครบรอบ อาเซียน 50 ปี มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันครับ

ผ่านมา 50 ปี แล้วที่ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้นกำเนิดของอาเซียน ก่อนหน้านั้น ไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีบาบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในความพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค จนนำมาสู่การก่อตั้งอาเซียน http://winne.ws/n17941

3.8 พัน ผู้เข้าชม
8 สิงหาคม 2560 ครบรอบ อาเซียน 50 ปี มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันครับ

8 สิงหาคม 2510 "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ถือกำเนิดขึ้นตาม "ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ โดยผู้นำ 5 ประเทศก่อตั้งได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

อย่างไรก็ตาม ต้นกำเนิดของอาเซียน ต้องย้อนไปก่อนหน้านั้น ซึ่งไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีบาบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในความพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค จนนำมาสู่การก่อตั้งอาเซียน

"ดร.เตช บุนนาค" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เล่าย้อนไปถึง 2 ปี ก่อนลงนามปฏิญญากรุงเทพ โดยในช่วงปี ะ.ศ. 2508 หรือ ค.ศ. 1965 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ถือเป็นปีที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกที่เวียดนาม เป็นการเข้ามารบในสงครามเวียดนามอย่างเต็มที่ สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว พรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้ประกาศวันปืนแตกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกัน สิงคโปร์ก็แยกตัวออกจากมาเลเซีย หรือมาลายาในเวลานั้น และเดือนกันยายนปีนั้นเองก็เกิดเหตุการณ์มีความพยายามที่จะปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย หรือมีการช่วงชิงอำนาจกันภายใน จนมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากรัฐบาลชาตินิยมของประธานาธิบดีซูการ์โน มาเป็นรัฐบาลของนายพลซูฮาร์โต นอกจากนี้ ก็เริ่มต้นมีปัญหาทางชายแดนระหว่างฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซียเกี่ยวกับรัฐซาบาร์ บนเกาะบอร์เนียว

อย่างไรก็ตาม ดร.เตซ มองว่าสำหรับอาเซียนแล้วเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด ซึ่งปะทุมาแล้วมาแล้วก่อนหน้าคือ "การเผชิญหน้ากันระหว่างอินโดนีเซีย กับมาเลเซีย" (Konfrontasi) และไทยมีส่วนสำคัญมากในการแก้ไขปัญหาระหว่าง 2 ประเทศจนสำเร็จ ได้มีเจรจากันที่บ้านพิษณุโลก ซึ่งนอกจากจะคุยกันเรื่องความขัดแย้งในประเด็นนี้แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ประเทศได้แก่ นายกาซารี ชาร์กี ของมาเลเซีย ดร.ถนัด คอมันตร์ ของไทยและ นายอดัม มาลิค ของอินโดนีเซีย ยังพูดคุยกันถึงเรื่องความร่วมมือในภูมิภาคว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมารวมตัวกัน เป็นกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะแก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคนี้ โดยมีไทยที่เป็นประเทศเอกราชสามารถเป็นตัวเชื่อมโยง

ดร.เตซ บุนนาค

8 สิงหาคม 2560 ครบรอบ อาเซียน 50 ปี มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันครับ

ในส่วนของไทยเองหลังจากวันเสียงปืนแตก ก็มีปัญหาเรื่องพรรคคอมมิวนิสต์ ทั้งจากเวียดนาม และกัมพูชา ก็ถือว่าความคิดที่จะรวมตัวกันก็จะทำให้ไทยมีพันธมิตรเพิ่มขึ้น แม้ที่มีอยู่แล้วคือ ฟิลิปปินส์ ตามสนธิสัญญามะนิลา ที่ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีโต เมื่อปี พ.ศ. 2508แต่ซีโตก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นเสือกระดาษ

ดร.เตซ กล่าวต่อว่า ความคิดที่ชอบเล่นกับความร่วมมือระหว่างประเทศของ ดร.ถนัด นั้นมาจาก ดร.ปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) นั่นเอง สมัยนั้นหลวงประดิษฐ์ฯ เคยพยายามที่จะรวบรวมขบวนการต่างๆ ที่ต่อต้านอาณานิคมเข้าร่วมกัน ซึ่งเกือบจะถูกลืมไปจากหน้าประวัติศาสตร์แล้ว เรียกว่า South East Asia League หรือ SEAL ซึ่งรวมขบวนการทั้งเวียดกง เวียดมิน ขบวนการในลาว ทุกๆ ขบวนการที่ต่อต้านอาณานิคมนิยม สมัยนั้นสหรัฐฯ เป็นห่วงมากว่าเอียงซ้าย แต่ก็ต้องถือว่า SEALเป็นความคิดแรกที่จะรวมประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง

ต่อามา จากซีล ก็มามาเป็นอาสา (ASA) ส่วนมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ก็พยายามรวมตัวกันเรียกว่า "มาฟิลินโด" แต่ก็ล้มเหลวไปหมด มาจนถึงการประชุมช่วงปี พ.ศ. 2508 - 2510ที่บ้านพิษณุโลกนี่เอง ทำให้ความคิดเกี่ยวกับอาเซียนตกผลึก โดยก่อนวันที่ 8สิงหาคมพ.ศ. 2510 ก็ได้มีการประชุมกันในรายละเอียด ที่แหลมแท่น บางแสน และได้มามาลงนามกันที่วังสราญรมย์อย่างที่ทราบกัน

ในช่วงแรกแรกของการรวมตัวเป็นอาเซียนสงครามเวียดนามก็รบกันอย่างรุนแรงมากขึ้น จนในที่สุด ทางฝ่ายสหรัฐฯ และพันธมิตรรวมทั้งไทย ก็พ่ายแพ้ ซึ่ง 8 ปีแรกของอาเซียน ประเทศในภูมิภาคต้องคำนึงถึงแต่สงครามเวียดนาม และปัญหาภายในประเทศของตัวเองดังนั้นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจจึงไม่ค่อยคืบหน้ามาก

หลังปี พ.ศ. 2518 สหรัฐฯ ถอนตัวออกไปจากเวียดนาม ทุกฝ่ายต่างคิดว่า ทุกอย่างจะเรียบร้อย แต่ก็หาไม่ เพราะ 4 ปีให้หลังจากสงครามเวียดนามสิ้นสุด เวียดนามบุกเข้ามายึดกัมพูชา ทำให้ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาทะลักเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก และใช้เวลาอีกนานจึงจะแก้ปัญหาได้ โดยการแก้ปัญหาแก้ได้สำเร็จในเรื่องนั้นก็ต้องยกเครดิตให้ความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนในการประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งบีบคั้นกดดันจนเวียดนามยอมถอนกองกำลังออกไปจากกัมพูชา และนำไปสู่การเจรจาเมื่อปี พ.ศ. 2534ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือว่าเป็นการยุติสงครามอินโดจีนโดยสิ้นเชิง และเป็นครั้งแรกที่ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไทแก่ตน หลังจากถูกปกครองโดยเจ้าอาณานิคม

ดร.เตซ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 1 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย อาเซียนก็พยายามรวมตัวอย่างจริงจังใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับแรกเรียกว่า
"สนธิสัญญามิตรไมตรีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งเป็นพื้นฐานของอาเซียน และต่อมาก็ได้มีการก่อตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน และเป็นพื้นฐานของ "กฎบัตรอาเซียน" (ASEAN Charter) ในเวลาต่อมา

8 สิงหาคม 2560 ครบรอบ อาเซียน 50 ปี มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันครับแหล่งภาพจาก 50ปีอาเซียน ไทยต้องโชว์ศักยภาพกว่านี้ - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์ Post Today

หลังจากปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ประเทศไทย ยังมีบทบาทนำมากในความร่วมมืออาเซียน หลังจากเป็นผู้นำในด้านการเมือง และความมั่นคงแล้ว ทางด้านเศรษฐกิจ โดยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) นั้นมีพื้นฐานมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรืออาฟตา ซึ่งเป็นความริเริ่มของไทย ภายใต้นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2532 หรือหนึ่งปีหลังจากการประชุมที่ปารีส ว่าด้วยเรื่องกัมพูชา

มาในถึงยุคที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้ริเริ่มเวที ASEAN Regional Forum หรือเออาร์เอฟ เมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นการรวมตัวของประเทศอาเซียน มาเจรจากับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ตั้งแต่ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ขยายไปเรื่อยๆ ถือเป็นเวทีเดียวในเอเชียแปซิฟิก และเอเชียใต้ ที่มีการสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกแถลงกันด้านการเมืองและความมั่นคง

นอกจากนี้ ในด้านเศรษฐกิจหลังจากเกิด "วิกฤติการต้มยำกุ้ง" เมื่อปีพ.ศ. 2540 ทุประเทศประสบปัญหาทางการเงิน ก็เกิดความริเริ่มโดยไทยที่จะให้มีกองทุนสำรอง เรียกว่า "ความริเริ่มเชียงใหม่" เมื่อปี พ.ศ. 2546 ภายใต้การนำของ ดร.ธานินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีคลังของไทยในเวลานั้น ซึ่งการที่การเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างจะมั่นคงในปัจจุบัน ก็สืบเนื่องมาจากการที่มีกองทุนสำรอง โดยขณะนี้มีประมาณ2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฝากไว้ที่สิงคโปร์

ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของการก่อตั้งอาเซียน เมื่อ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมาศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดสัมมนาหัวข้อ"เหลียวหลัง แลหน้า 50 ปี อาเซียน" ขึ้น เพื่อทบทวนถึงบทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา และประเมินอาเซียนในอนาคต ที่วันนี้ก็เกือบ 2 ปีแล้ว ที่อาอเซียนได้พัฒนาจากการเป็นสมาคม มาสู่การเป็นประชาคม โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาให้ความคิดเห็นไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้

โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล ผอ.สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
การพัฒนาของอาเซียนในช่วงแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเสียส่วนใหญ่ โดยมีการพัฒนาความร่วมมือกันมาอย่างช้าๆ ที่ชัดเจนคือช่วงปี พ.ศ. 2535 -36 ที่มีเขตการค้าเสรี ซึ่งตั้งแต่มีเอฟทีสิ่งที่อาเซียนทำมีก็ 2 เรื่องสำคัญ คือ "เปิดเสรีระหว่างกัน" และ "ความร่วมมือที่พยายามจะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น" โดยในเรื่องการเปิดเสรีก็มีการลดภาษาศุลลากร แต่อาจจะไม่ล้ำลึกเหมือนความตกลงของสหภาพยุโรป หรืออียู ที่มีรัฐบาลระดับอียู อาเซียนเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามสไตล์อาเซียน โดยเริ่มจากภาษีศุลกากร มาจนถึงการค้าและบริการ การลงทุน การที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อ 1 มกราคม 2560 ประชาชนอาจจะไม่ค่อยรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงเพราะว่า หลายสิ่งทำมานาน 20 ปี แล้ว เช่น ภาษีก็เริ่มลดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนกระทั่งทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ช่วงปลายปี พ.ศ. 2558

เรื่องความร่วมมือก็ก้าวหน้าไปในทุกด้านทั้งการเกษตร ประมง ป่าไม้ การขนส่ง ไอซีที ภาคบริการ นอกจากนี้ อาเซียนก็ยังขยายความร่วมมือไปยังนอกภูมิภาค มีการไปทำเช่นความตกลงเขตการค้าเสรีกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปัจจุบันกรอบ RCEP หรืออาเซียนบวกสาม คืออาเซียน 10 ประเทศ และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กำลังเจรจากันอยู่ และปีนี้จะมีฮ่องกงเพิ่มเข้ามาด้วย

8 สิงหาคม 2560 ครบรอบ อาเซียน 50 ปี มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันครับ

ปัจจุบันอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ประชาคมโลกให้ความสนใจมาก มีประเทศ และกลุ่มประเทศพยายามเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มอาหรับ (GCC) แคนาดา ประเทศทางอเมริกาใต้ก็อยากเข้า หรือแม้แต่อียูก็กลับเข้ามาแล้ว เพราะตัวเลขการขยายตัวของอาเซียนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม หรือที่เรียกกันว่าCLMV ขยายตัวสูงมาก

อย่างไรก็ตาม อาเซียนก็ต้องเผชิญหน้ากับปัจจัยท้าทายจากภายนอก ซึ่งจำเป็นจะต้องวางแผนรับมือในอนาคต เช่น นโยบายของสหรัฐฯ การออกจาสหภาพยุโรปของอังกฤษ แต่ที่จะกระทบมากคือ "การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเมกะเทรนด์" หรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ แนวโน้มสำคัญของโลก จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราผลิต สิ่งที่เราให้บริการ ซึ่งตอนนี้อาเซียนเริ่มคิดถึง "Industrial Revolution 4.0" ว่าต้องมาดูว่าแต่ละประเทศมีความพร้อม และมีสาธารณูปโภคที่จะมารองรับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เพราะสมาชิกอาเซียนมีความหลากหลาย แตกต่างในระดับความเจริญทางเศรษฐกิจ แต่จะก้าวไปอย่างไร พัฒนาไปในทางไหน เพื่อตอบสนองประเทศต่างๆ อย่างทั่วถึง

๐ กรกฏ ผดุงจิตต์ เลขาธิการ กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จากประสบการณ์ที่เข้ามาร่วมในวงเจรจาของอาเซียนฐานะภาคธุรกิจ นอกจากที่เห็นได้ชัดว่าชาติสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างกันเรื่องระดับการพัฒนา ทำให้การเจรจาเรื่องต่างๆ ต้องใช้เวลานานในการตกลงแล้ว ยังพบว่า อาเซียนมีวิถีคือ อะไรที่กระทบให้คนอื่นรู้สึกไม่ดีก็จะหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการ หรือข้ามๆ ไปบ้าง แต่กระนั้นก็มีคนที่เห็นแก่ตัวอยู่

โดยในอดีตไทยก็มีปัญหาที่เป็นปัญหาภายใน ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ได้โตแบบตื้นเต้นมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่วิกฤติการเงินรอบหลัง วิกฤติการณ์ทางการเมือง แล้วก็ยังมาเจอน้ำท่วมอีก นอกจากจะเป็นไปตามวัฏจักรแล้วสิ่งไทยยังเปลี่ยนไม่ได้ เพราะมีปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน จากที่เคยโต 2หลัก เพราะจากการส่งออก ก็หายไปด้วยการย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่ง อีกส่วนก็เป็นเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไป วันนี้ไทยเหลือป้อมปราการสุดท้ายคืออุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ถ้าวันไหนอีวีเข้ามาเต็มรูปแบบ การเรามีชิ้นส่วนที่สมบูรณ์ที่สุดในอาเซียนก็คงไม่เพียงพอแล้ว ซึ่งอินโดนีเซียกำลังแข่งกับเรา เวียดนามเองก็พยายามขึ้นมาสู้

ทั้งนี้ เรื่อง 4.0 ผู้นำประเทศอื่นอย่างมาเลเซียนั้นเล็งเห็นมานานแล้ว ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด เห็นภาพนี้ก่อนคนอื่นในภูมิภาค ได้สร้างไซเบอร์จายาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2551 ขณะที่ไทยบอกจะดึงคน 4.0แต่กลับยังไม่สร้างภูมิทัศน์ ไม่สร้างชุมชนรองรับ ทำให้ดึงคนไม่ได้เพราะไม่ได้สร้างอะไรที่ดึงดูดให้คนอยากมาอยู่ ผิดกับสิงคโปร์ที่สร้างสังคมของนักธุรกิจ สังคมของธนาคาร และมีสังคมเพื่อการดำรงชีวิต

สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง เลขาธิการ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
ภาคประชาสังคมมองว่า 40 ปีแรกของอาเซียน เป็นอาเซียนของชนชั้นนำ ประชาชนไม่ได้มีพื้นที่หรือมีบทบาทอะไร และยังไม่ได้เป็นแม้แต่ประเด็นที่บรรดาผู้นำคุยกันด้วยซ้ำ โดย ประเด็นที่อาเซียนสนใจเป็นประเด็นการเมือง และความมั่นคง ซึ่งเป็นความมั่นคงในแบบเก่า คือแบบรัฐ แบบทหาร เป็นเรื่องอาณาเขตดินแดน ไม่ใช่ความมั่นคงของมนุษย์ ไม่ได้มีมิติเรื่องประชาชนเลย

จนเมื่อมี "กฎบัตรอาเซียน" ภาคประชาชนมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในกฎบัตรอาเซียนจะเจอคำว่า "ประชาชนเป็นศูนย์กลาง" มากมาย และในกฎบัตรได้กำหนดให้มีกลไกลสิทธิมนุษยชนสำคัญ 3 กลไกด้วยกันคือ ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights หรือAICHR, ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rughts of Protection of Woman and Children หรือ ACWC และตั้งใจจะให้มี ASEAN Commission on the Promotion and Protection of The Rights of Migrant Workers

8 สิงหาคม 2560 ครบรอบ อาเซียน 50 ปี มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันครับแหล่งภาพจาก ::ASEAN Learning Center, Department of Local Administration::

การสถาปนากลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดังกล่าวเป็นการเพิ่มพื้นที่การทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน และรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทย เว้นการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่ยังเป็นปัญหา ข้อดีของการที่มีการยอมรับบทบาทของภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยความิเริ่มของประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่ม "Inetrface Meeting" ในการประชุมสุดยอด ที่ให้เวลา 1 ชั่วโมงได้พบกับผู้นำอย่างเป็นทางการ ถือเป็นการเปิดพื้นที่ที่สำคัญ นอกจากนี้ คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน กำลังจะพิจารณาเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นองค์กรในอาเซียน ซึ่งก่อนนี้มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ให้ผ่อนคลายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้กฎบัตรอาเซียนจะพูดถึงภาคประชาชน แต่ก็ยังมีหลักการหรือแนวคิดที่ทำให้การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงเป็นไปได้ยาก ได้แก่ ฉันทามติ และการไม่ก้าวก่ายกิจการกัน นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมมองว่า การแบ่งเป็น 3 เสายังไม่ครอบคลุม เสนอให้มีประชาคมเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะเป็นเรื่องที่เป็นทั้งปัญหาระดับภูมิภาค และระดับโลก

๐ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ
อาเซียนแบ่งเป็น 2 ยุค ยุคแรกคือยุคก่อนสงครามเย็น และยุคใหม่คือยุคหลังการมีอาฟตา ในยุคแรก ในทางเศรษฐกิจเรียกว่าเป็นการรวมตัวอย่างหลวมๆ พอสงครามเย็นสิ้นสุด โลกเปลี่ยนจากสนามรบเป็นสนามการค้า จึงหนีไม่พ้น Zero - Sum Game เป็นปลาใหญ่กินปลาเล็ก จึงมีการเสนออาฟตา แต่อาหตานั้นไม่ใช่ที่สุด จะพัฒนาไปสู่สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ ซึ่งอย่างหลังอาจจะลำบากหน่อย

เริ่มแรกอาฟตายังมีแค่ 6 ประเทศ ก็มองไปสู่ตลาดร่วม แต่น่าเสียดายอาเซียนเกิดสหภาพศุลกากรไม่ได้เพราะสิงคโปร์เป็นท่าเรือปลอดภาษี ก็ต้องมองข้ามช็อตไป ว่าอาเซียนจะอยู่แค่ 10 ประเทศไม่ได้ จึงจัดตั้ง East Asian Economic Caucus หรือ EAEC มีเกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวัน วันนี้กลายเป็นอาเซียนบวกสาม ปัจจุบันอาเซียนในแง่เศรษฐกิจเป็นการรวมตัวอย่างเข้มข้น ในทางวิชาการเรียกว่า เป็นการบูรณาการ ไม่ใช่แค่ความร่วมมือเฉยๆ

ในเรื่องความมั่นคงกับการเมือง แม้จะรวมตัวเป็นองค์การระหว่างประเทศ แต่อธิปไตยก็ยังอยู่ในประเทศ ถ้าไปถึงอีกระดับคือองค์หรเหนือชาติ ซึ่งในโลกมีแห่งเดียวคืออียู แต่อาเซียนตั้งแต่พ.ศ. 2510 จนถึงทุกวันนี้ยังเป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ เพราะยังเป็นการตกลงกันในแง่การเมือง 2 ด้าน คือองค์กร เรายังเหมือนเดิมคือไม่มีองค์การเหนือชาติ ไม่มีกฎหมายที่ออกมาจากองค์กรกลาง และมีผลบังคับ อาเซียนมีกรอบเดียวคือ Inter Governmental หมายความว่า เวลาตกลงต้องเป็นมติเอกฉันท์ ซึ่งมั่นใจว่า ไม่มีทางที่อาเซียนจะไปสู่การเป็นองค์การเหนือชาติได้อย่างแน่นอน เพราะเรายังรวมตัวกันอย่างหลวมๆ มาก

อย่างไรก็ตาม เออาร์เอฟจะมาช่วยตรงที่อย่างน้อยที่สุด อาเซียน บวกกับเออาร์เอฟ ก็ยังมีการผลักดันเรื่องแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ในเออาร์เอฟมี 3 ระดับ คือสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ มาตรการทางการทูต และมติการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในการประชุมที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่อาเซียน 10ประเทศ ออกคำประกาศประณามเกาหลีเหนือ แต่ขณะเดียวกันก็เล่นหนักไม่ได้ เพราะเกาหลีเหนือยังเป็นส่วนหนึ่งของเออาร์เอฟ

ที่มา: http://www.siamrath.co.th/n/21247

แชร์