อเมริกานำการฝึกอบรมจิตตามหลักพุทธศาสนามาช่วยลดภาวะหมดไฟ(Burnout) ของแพทย์

ภาวะหมดไฟ หรือ เหนื่อยหน่าย หรือเบิร์นเอ๊าท์(Burnout) คือ ความรู้สึกอ่อนล้าทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อันเกิดจากการที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดเป็นเวลานานๆ อเมริกานำการฝึกจิตตามหลักพุทธมาช่วยเหล่าแพทย์ http://winne.ws/n18200

1.7 พัน ผู้เข้าชม
อเมริกานำการฝึกอบรมจิตตามหลักพุทธศาสนามาช่วยลดภาวะหมดไฟ(Burnout) ของแพทย์

ภาวะหมดไฟ หรือ เหนื่อยหน่าย หรือเบิร์นเอ๊าท์(Burnout)  คือ ความรู้สึกอ่อนล้าทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อันเกิดจากการที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดเป็นเวลานานๆ เช่น  รู้สึกเบื่อกับงานถึงขั้นทำไปวันๆ แบบซังกะตาย ไม่อยากพูดจากับใคร หงุดหงิดใส่ทุกคนรอบตัว เจ็บป่วยบ่อยๆ ไม่มีสาเหตุ ไม่อยากไปทำงาน อยากจะเดินออกไปจากที่ทำงานและไม่ต้องกลับมาอีก เป็นต้น

อเมริกานำการฝึกอบรมจิตตามหลักพุทธศาสนามาช่วยลดภาวะหมดไฟ(Burnout) ของแพทย์

เพียงสามปีหลังจากจบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ในปีพ. ศ. 2554ศัลยแพทย์คาร์ล่า ฮ้าค พบว่าตัวเองตกอยู่ในภาวะเหนื่อยหน่าย(Burnout)  เธออุทิศชีวิตของเธอให้กับโรงพยาบาล โดยทำงาน14ชั่วโมงต่อวันโดยรวมวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ครั้งละหลายๆเดือน บ่อยครั้งที่ไม่ได้กินข้าวจนกว่าจะสิ้นสุดวันทำงานอันยาวนาน

คุณหมอฮ้าค เป็นศัลยแพทย์ทั่วไปและฉุกเฉินที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอมเมอรี่เล่าว่า "ความหมายของเบิร์นเอ๊าท์ในพจนานุกรมเป็นอย่างไร นั่นแหล่ะคือตัวฉัน ฉันรู้สึกเป็นทุกข์และงานกลายเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงสำหรับฉัน " เธอรู้สึกอ่อนเพลียไปหมดและมีลักษณะคล้ายภาวะซึมเศร้า

เนื่องจากเธอให้ทุกอย่างเพื่อดูแลผู้ป่วยของเธอ เธอจึงไม่มีอะไรเหลือสำหรับตัวเอง คุณหมอฮ้าคคิดแม้แต่จะลาออกจากการเป็นหมอ การทำงานในชั่วโมงอันยาวนาน ความต้องการหมอในการรักษาผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น และความกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยนำไปสู่ภาวะเบิร์นเอ๊าท์ของคุณหมอฮ้าค

คุณหมอฮ้าคได้แสดงให้เห็นถึงจำนวนแพทย์ที่ประสบปัญหาความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน โดยดูจากมีความอ่อนล้าทางอารมณ์ มีความรู้สึกถากถางเพื่อนร่วมงานและผู้ป่วยตลอดจนมองตัวเองในแง่ลบ 

การสำรวจในปี พ.ศ. 2554 โดยมาโยคลินิคพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีอาการเหนื่อยหน่ายอย่างน้อยหนึ่งอาการและเป็นปรากฏการณ์ที่พบมากในหมู่แพทย์มากกว่าวิชาชีพอื่น ๆ อาการเหนื่อยล้าชนิดหนึ่งเรียกว่า"ความเหนื่อยล้าที่จะเห็นอกเห็นใจ"มักส่งผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพและอาจทำให้เกิดการไม่เอาใจใส่ผู้ป่วย ตลอดจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกได้

ภาวะเช่นนี้อาจส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วย จากการศึกษาพบว่าระดับความเหนื่อยหน่ายของแพทย์ที่สูงขึ้นสอดคล้องกับความผิดพลาดทางการรักษาที่มากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสามของการเสียชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกา

อเมริกานำการฝึกอบรมจิตตามหลักพุทธศาสนามาช่วยลดภาวะหมดไฟ(Burnout) ของแพทย์

เพื่อต่อสู้กับความเหนื่อยหน่ายของแพทย์ บางโรงเรียนแพทย์ได้เปิดโปรแกรมสอน "จรณทักษะ หรือsoft skillsเพื่อช่วยให้แพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยในสภาพแวดล้อมที่เครียดในปัจจุบันได้ดีขึ้น การเรียนรู้ความเห็นอกเห็นใจ การเอาใจใส่และมีความยืดหยุ่นเป็นความท้าทายด้านการบริการมนุษย์ ช่วยให้หลาย ๆ คนได้ค้นพบความหมายของการรักษาผู้ป่วยและเหตุผลที่พวกเขามาเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วย

ตั้งแต่ปี พศ.2557  โรงพยาบาลเอมเมอรี่ได้เปิดอบรมหลักสูตรการฝึกความเห็นอกเห็นใจโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่คณาจารย์และนักศึกษาที่โรงเรียนแพทย์ แต่ละหลักสูตรมีระยะเวลา 10 สัปดาห์ พบปะกันสัปดาห์ละครั้งและมีการออกกำลังกายที่บ้านด้วย มีผู้ลงทะเบียนเรียนเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยมีคณาจารย์ / บุคลากรทั้งสิ้น 171คนและนักศึกษาแพทย์อีก 239 คนที่เรียนจบหลักสูตร

โดยนำธรรมเนียมการฝึกอบรมจิตทางพุทธศาสนาในทิเบตมาใช้ และมีการปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตทางโลกซึ่งมุ่งเน้นให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและมีความเป็นอยู่ที่ดี หลักสูตรเริ่มต้นด้วยการฝึกสมาธิและแผ่เมตตา โดยนั่งสมาธิและแผ่เมตตาให้ตนเองก่อนจากนั้นก็แผ่ขยายความรู้สึกเหล่านี้ต่อคนที่รัก  ต่อคนแปลกหน้าและต่อคนที่มีนิสัยยากๆ โดยมีเสียงนำนั่งสมาธิและนำแผ่เมตตา

อเมริกานำการฝึกอบรมจิตตามหลักพุทธศาสนามาช่วยลดภาวะหมดไฟ(Burnout) ของแพทย์

จากการศึกษานี้พบว่า ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม มีระดับความเห็นอกเห็นใจเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเหงาและภาวะซึมเศร้าลดลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลตรงข้าม

"นักศึกษาแพทย์เป็นประชากรที่เป็นเอกลักษณ์จริงๆ พวกเขาทนทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้า ความคิดฆ่าตัวตาย และภาวะเหนื่อยหน่าย ในอัตราที่สูงอย่างเหลือเชื่อ " เจนนิเฟอร์ มาสคาโร่ นักมานุษยวิทยาทางชีววิทยาที่เอมเมอรี่กล่าว "ไม่น่าแปลกใจที่พวกเขาดูเหมือนยังเป็นทุกข์ กับการขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจในระหว่างการฝึกอบรม มันยากที่จะรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อลำพังตัวคุณก็พยายามดิ้นรนให้หลุดพ้นจากความทุกข์อยู่ "

โปรแกรมแปดสัปดาห์ที่โรงเรียนแพทย์สแตนฟอร์ด เรียกว่า การฝึกอบรมเพื่อปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจ หรือCCT  (Compassion Cultivation Training)  เป็นการผสมผสานระหว่างการทำสมาธิแบบดั้งเดิมกับจิตวิทยาร่วมสมัยและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การฝึกอบรมนี้เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิประจำวัน การฝึกปฏิบัติด้านการหายใจรวมทั้งการเรียนการสอนและการอภิปรายสองชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้ว่าการฝึกอบรมนี้ จะเปิดให้แก่สมาชิกของโรงเรียนแพทย์และสาธารณชน แต่ก็ต้องเสียค่าลงทะเบียนเป็นจำนวน395 เหรียญสหรัฐ หรือราว 13,000บาท

เจมส์ โดธี่ ศัลยแพทย์ระบบประสาทที่สแตนฟอร์ดและผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและวิจัยความเห็นอกเห็นใจและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร่วมกับเพื่อนร่วมงานของเขาได้ศึกษาแง่มุมของ CCTไม่เพียงแต่สำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังและโรคเครียดหลังเหตุการณ์ร้ายแรงอีกด้วย 

การทดลองแบบสุ่มควบคุมของ CCTพบว่าผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษามีพัฒนาการที่สำคัญในเรื่องความเห็นอกเห็นใจทั้งสามด้าน คือ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การรับความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่นและความเมตตาต่อตัวเองเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

อเมริกานำการฝึกอบรมจิตตามหลักพุทธศาสนามาช่วยลดภาวะหมดไฟ(Burnout) ของแพทย์

โปรแกรมฝึกอบรมที่คล้ายกันยังมีที่โรงพยาบาลแมสซาชูเสทเจนเนอรัลสำหรับนักศึกษาแพทย์และคณาจารย์  โรงเรียนพยาบาลที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียและโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์  โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆมีการลงทุนมากขึ้นในการส่งเสริมการฝึกอบรมความเห็นอกเห็นใจและเอาใจใส่ด้วยความหวังที่จะต่อสู้กับความเหนื่อยหน่ายในผู้ให้บริการ การที่ผู้ป่วยรับรู้ถึงความเอาใจใส่ของแพทย์ช่วยเพิ่มความพึงพอใจและการปฏิบัติตามของผู้ป่วย ในขณะที่ความเหนื่อยหน่ายของแพทย์เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความผิดพลาดทางการแพทย์และการรักษาที่ผิดพลาด


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

http://cheerfulpeace.blogspot.com/2017/08/burnout.html?m=1

แชร์