ออง ซาน ซู จี ปฏิเสธเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุมสมัชชายูเอ็นสมัยสามัญอาจเกี่ยวกับวิกฤตชาวโรฮิงยา

นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลเมียนมา จะไม่เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ขณะที่มีเสียงวิจารณ์เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิธีที่เธอรับมือกับวิกฤตชาวโรฮิงญา http://winne.ws/n18822

764 ผู้เข้าชม

นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลเมียนมา

ออง ซาน ซู จี ปฏิเสธเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุมสมัชชายูเอ็นสมัยสามัญอาจเกี่ยวกับวิกฤตชาวโรฮิงยา

ข่าวจากสำนักข่าวBBC  รายงานว่า นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลเมียนมา จะไม่เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ขณะที่มีเสียงวิจารณ์เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิธีที่เธอรับมือกับวิกฤตชาวโรฮิงญา

นับตั้งแต่เกิดความรุนแรงในรัฐยะไข่ขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือนที่ผ่านมา มีชาวโรฮิงญาที่นับถือศาสนาอิสลาม เดินทางข้ามเข้าไปยังบังกลาเทศแล้วประมาณ 370,000 คน โดยนางซู จี กำลังเผชิญกับข้อกล่าวหาจากผู้สนับสนุนในประเทศตะวันตกว่า เธอเพิกเฉยต่อชะตากรรมของชาวโรฮิงญา

ด้านรัฐบาลเมียนมาระบุว่า กำลังต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาและปฏิเสธรายงานเรื่องการมุ่งเป้าไปที่ประชาชน ส่วนนายซอว์ ฮเตย์ โฆษกประจำทำเนียบประธานาธิบดีเมียนมากล่าวว่า "ที่ปรึกษาแห่งรัฐ จะไม่ไปร่วม" การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ และไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม

นายออง ชิน โฆษกอีกคน กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า "อาจเป็นไปได้ว่า" นาง ซูจี "มีงานเร่งด่วนกว่าที่ต้องทำ" และกล่าวเสริมว่า "เธอไม่เคยเกรงกลัวที่จะต้องเผชิญกับคำวิจารณ์หรือปัญหา" โดยก่อนหน้านี้ นางซู จี มีกำหนดจะร่วมการหารือในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ที่นครนิวยอร์ก ของสหรัฐอเมริการะหว่างวันที่ 19 ถึง 25 ก.ย. นี้

นางซูจีในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว

ออง ซาน ซู จี ปฏิเสธเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุมสมัชชายูเอ็นสมัยสามัญอาจเกี่ยวกับวิกฤตชาวโรฮิงยา

ส่วนเมื่อปีที่แล้ว ในการกล่าวต่อที่ประชุมฯ เป็นครั้งแรกในฐานะผู้นำประเทศ นางซู จี ได้ปกป้องความพยายามของรัฐบาลเมียนมา เพื่อคลี่คลายวิกฤตการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา

ด้านทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ กล่าวโทษกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญา เรื่องความรุนแรงในรัฐยะไข่ และระบุว่ารัฐบาลเมียนมาจะไม่อดทนต่อการกระทำที่โหดร้ายป่าเถื่อน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อพยพหนีกล่าวว่า ทหารตอบโต้การโจมตีของกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญา เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ด้วยความรุนแรงและเผาหมู่บ้านโดยมีจุดประสงค์จะไล่ที่

เมื่อวันอังคาร (12 ก.ย.) รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธคำพูดของนาย ซาอิด ราอัด อัล ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรื่องการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาว่าเปรียบเสมือน "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์"

ภาพหญิงชาวโรฮิงญาพยายามปลอบเพื่อนร่วมทางบนชายหาดบังคลาเทศ หลังเรือไม้ที่ใช้หนีมาจากเมียนมาคว่ำก่อนขึ้นฝั่งได้

ออง ซาน ซู จี ปฏิเสธเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุมสมัชชายูเอ็นสมัยสามัญอาจเกี่ยวกับวิกฤตชาวโรฮิงยา

ชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐยะไข่ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ พวกเขาถูกข่มเหงมาเป็นเวลานานในประเทศเมียนมา และถูกมองว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีกำหนดจะประชุมกันในวันพุธนี้ (13 ก.ย.) เพื่อหารือถึงวิกฤตที่เกิดขึ้นเมียนมายืนยันไม่รับรองคำว่า "โรฮิงญา"

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผบ.สูงสุดของเมียนมา กล่าวว่า "ทุกวันนี้ บทบาทของยูเอ็นกว้างขึ้น เสียงเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชนดังขึ้น ทางการต้องแก้ปัญหาอย่างนิ่มนวล ในขณะที่ความผิดกลายเป็นความจริง และความจริงกลายเป็นความผิด กองทัพเมียนมาจะทำหน้าที่ตามกฎหมาย 

ต้นตอของปัญหาในปัจจุบัน คือพวกเขาปฏิเสธที่จะผ่านการกลั่นกรองตามข้อกฎหมายว่าด้วยการถือสัญชาติปี 1982 คำว่า 'โรฮิงญา' ไม่ได้มีอยู่ในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้ คำว่า 'เบงกาลี' ถูกใช้มาตั้งแต่ยุคอาณานิคม ประเทศไม่สามารถยอมรับ และรับรองคำว่า 'โรฮิงญา' ด้วยการซ่อนเร้นความจริงได้ กลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่เป็นชนพื้นเมืองของเรา ซึ่งเคยอยู่ที่นี่มานานนับตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษของเรา"

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากhttp://www.bbc.com/thai/international-41250844

จากการปฏิเสธเข้าร่วมประชุมที่ยูเอ็นครั้งนี้มีสื่อหลายสื่อตั้งข้อสงสัยว่าอาจเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์จริงที่รัฐบาลเมียนถูกวิจารณ์นั้น คนละเรื่องกับที่รัฐบาลเมียนมาพบเจอหรือเปล่า

เพราะจากข้อมูลที่นักวิชาการบางส่วนค้นคว้าข้อมูลมา ระบุว่าแท้จริงชาวพุทธเมียนมารัฐยะไข่นั้นถูกรุกราน จากเมืองของชาวพุธที่เข้มแข็งถูกรุกรานจนชาวพุทธกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเมียนมาและรัฐบาลนั้นอาจจะทราบดี

และจากสื่อทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์เองก็กล่าวถึงเรื่องมุสลิมโรฮิงญาในพม่าที่ความจริงกับหน้าข่าวนั้นไม่เหมือนกัน

อย่างไรก็ตามการปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ของนาง ออง ซาน ซู จี ก็อาจมีเหตุผลหลาย ๆประการ

สิทธิเหนืออาณาเขตรัฐยะไข่ โอกาสและความชอบธรรมของโรฮิงญา(มุสลิมเบงกาลี)สังคมนานาชาติต้องไม่ถูกลวงให้หลงประเด็น

@บังกลาเทศ= แยกตัวจากอินเดียมาเป็นรัฐอิสลามปากีสถานตะวันออกอย่างแร้นแค้น

@อังกฤษ=ยึดครองทั้งเอเชียใต้และพยายามเข้าครอบครองพม่าโดยเกณฑ์ไพร่พลมุสลิมเบงกาลีมาเป็นพลเดินเท้า หาบหามเข้าตีรัฐพุทธพม่าจนย่อยยับ

@เมียนมา= (พุทธพม่า)มีบทเรียนที่ลืมยากจากการยึดครองโดยอังกฤษแต่ใช้มุสลิมเบงกาลีเป็นไพร่พลตีกินรังแก

@โรฮิงญา=(เบงกาลี)อยู่ที่รัฐยะไข่อย่างผู้ถูกใช้ให้มารุกราน เมื่อพม่ามีอธิปไตยแล้ว(โรฮิงญา)ต้องคืนสู่ฐานะเดิมคือ (เบงกาลี)และชอบแล้วที่ถูกส่งกลับสู่บังกลาเทศ

@ยูเอ็น =เป็นจังหวะยาวนานถึง ๑๐ ปีที่เครือข่ายมุสลิมพยายามสร้างอำนาจซ้อนอำนาจในองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญนี้ บรูโทรช กาลี และ โคฟี่ อันนัน พยายามอย่างมากเพื่อเปิดช่องไว้ให้มีการอพยพของมุสลิมผ่านภูมิภาคยุโรปตะวันออกแถบยูโกสลาเวีย เชสเนีย เซอเปีย สู่ยุโรปตะวันตก

     แอฟริกาแถว ระวันดา โซมาเลีย จนเกิดเรือมนุษย์มุสลิมตลอดแนวฝั่งเมดิเตอเรเนียนสู่ยุโรปตะวันตกเช่นเดียวกัน 

    ขณะเดียวกัน องค์กรมุสลิมระหว่างประเทศนี้คอยหนุน เบงกาลี ที่รัฐยะไข่ให้ขยายชาติพันธุ์มุสลิมสู่รัฐพุทธในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์อย่างจงใจ

    รัฐพุทธอย่าง พม่า ลาว เขมร เวียตนาม และประเทศไทย จะยินยอมเห็นดีเห็นงามกับเหลี่ยม มุสลิม คงเป็นเรื่องยาก แม้ผู้นำรัฐพุทธบางรัฐบางคณะอาจยอมจำนนต่อเหลี่ยมเกมอำนาจของมุสลิมก็ตาม

     แต่ปวงประชาของรัฐพุทธที่อ้างถึงทั้งหลายนั้นคงไม่ยินยอมตามนั้นอย่างเด็ดขาด

โขง ธารธนศักดิ์

เลขาธิการ คพท.

ออง ซาน ซู จี ปฏิเสธเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุมสมัชชายูเอ็นสมัยสามัญอาจเกี่ยวกับวิกฤตชาวโรฮิงยา
ออง ซาน ซู จี ปฏิเสธเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุมสมัชชายูเอ็นสมัยสามัญอาจเกี่ยวกับวิกฤตชาวโรฮิงยา

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

คุณโขง ธารธนศักดิ์  เลขาธิการ คพท.

ทวิตเตอร์ แคน สาริกา

เฟชบุ๊กชำแหละตำนานพระเจ้า

แชร์