กระทรวงอุตสาหกรรม เผยนักลงทุนญี่ปุ่น พอใจความพร้อมอีอีซี

นักลงทุนญี่ปุ่น พอใจแผนงานโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี หลังลงสำรวจความพร้อมโครงการในวันนี้ ด้านรัฐมนตรีอุตสาหกรรม มั่นใจ 5 ปีแรก จะมีเม็ดเงินลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่ต่ำกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ http://winne.ws/n18847

1.1 พัน ผู้เข้าชม
กระทรวงอุตสาหกรรม เผยนักลงทุนญี่ปุ่น พอใจความพร้อมอีอีซี

          นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะคณะกรรมการบริหาร เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี พร้อมด้วยนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอีอีซี และ พลเรือตรีวรพล ทองปรีชา ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวภายหลัง นำนายฮิโรชิเกะ เซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น หรือ METI พร้อมด้วยผู้นำหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ และคณะนักลงทุนอีกกว่า 500 ราย ร่วมรับฟังนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา พร้อมสำรวจพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และสำนักงานวิทยสิริเมธี 

           โดยนายอุตตม กล่าวว่า การมาเยือนของคณะนักลงทุนญี่ปุ่น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของโครงการอีอีซี  จากนี้จะเน้นการทำยุทธศาสตร์ทีละเรื่องกับญี่ปุ่น เพื่อให้มีความชัดเจนนักลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ เช่น ผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต การบิน หุ่นยนต์ การแพทย์

          โดยตลอด 3 วันที่ผ่านมา เป็นเวลาที่ดีที่นักลงทุนญี่ปุ่นได้เห็นถึงความตั้งใจของไทย  ซึ่งคาดว่าจะมีนักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจขอลงทุนในพื้นที่โครงการฯ ได้อย่างแน่นอน ทั้งการลงทุนเพิ่ม และเกิดธุรกิจใหม่     

          พร้อมเปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเร่งผลักดันให้เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการหลักเพื่อให้มีความพร้อมต่อการลงทุนเร็วที่สุด ได้แก่

- การก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเป็น 15 ล้านคนในระยะ 5 ปี 

- การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 

- การพัฒนาท่าเรือ 3 ท่าเรือ (แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด) 

- โครงดึงดูด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะใช้การเชื่อมโยงและถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงกับประเทศชั้นนำต่างๆ โดยคาดหวังญี่ปุ่นอาจลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในไทยมาก่อน คาดว่าใน 5 ปีแรก จะมีเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 14 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต การบิน หุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแพทย์ครบวงจร และปิโตรเคมีและเคมีชีวภาพ

           และการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Cities)  ซึ่งมีการประเมินงบการลงทุน ในระยะเวลา 5 ปีแรกว่า จะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท

           ขณะที่นายฮิโรชิเกะ เซโกะ กล่าวว่า โครงการอีอีซีมีการพัฒนา ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและออกกฎระเบียบที่ชัดเจน ซึ่งเชื่อว่าหลังจากลงมาดูพื้นที่จริงแล้ว นักลงทุนญี่ปุ่นจะตัดสินใจลงทุนในไทยมากขึ้น  ขณะเดียวกันญี่ปุ่นมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนที่สามารถทำงานกับไทยได้ พร้อมมองว่าไทยเป็นGateway ประตูการค้า การลงทุน และคมนาคมในอาเซียน  จึงต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากรสำหรับภูมิภาคด้วย

          ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ กล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเมติของญี่ปุ่น เน้นย้ำ เรื่องการใช้ connected industry ต้องการให้โรงงานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในไทยมีการอัพเกรดการทำงานด้วยระบบ automation และ IOT หรือ internet of things เพื่อใช้ฐานการผลิตของไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับกลุ่มCLMV 

          ส่วนหลังจากสำนักงานอีอีซี ได้ลงนามความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนา EEC 2 ฉบับ กับ JICA และบริษัท Hitachi ได้หารือกับJICA ให้ลงพื้นที่ทำวิจัยว่าอะไรเป็นประโยชน์กับนักลงทุน

          ส่วนพลเรือตรีวรพล ทองปรีชา ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้ประกอบการหลายกลุ่ม สนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการบิน ผลิตอุปกรณ์อากาศยานในพื้นที่ ซึ่งความได้เปรียบเชิงพื้นที่และโอกาสที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยตัดสินใจในการลงทุนเพิ่มเติมหรือเพิ่มธุรกิจใหม่ 

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.voicetv.co.th/business/523570.html

แชร์