คณะพุทธศาสตร์ ในฐานะคณะแรกของ มจร." ในมุมมองของ ดร. บรรณจบ บรรณรุจิ

ปีนี้ครบ ๑๓๐ ปี มจร. (พ.ศ. ๒๓๓๐ - ๒๕๖๐) และครบ ๗๐ ปี คณะพุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะแรกของ มจร.ที่เปิดสอน คำถามจึงมีว่า เกิดอะไรขึ้น มจร.จึงเปิดการเรียนการสอนไม่ได้ ? http://winne.ws/n18889

1.0 พัน ผู้เข้าชม
คณะพุทธศาสตร์ ในฐานะคณะแรกของ มจร." ในมุมมองของ ดร. บรรณจบ บรรณรุจิ

"พุทธศาสตร์ ไม่ใช่ พุทธศาสน์. จะใช้ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร ? คำถามจากท่านอธิการบดี มจร.

เพื่อปลุกใจนิสิต มจร.ให้เห็นความสำคัญของคณะพุทธศาสตร์ ในฐานะคณะแรกของ มจร."


@ ปีนี้ครบ ๑๓๐ ปี มจร. (พ.ศ. ๒๓๓๐ - ๒๕๖๐) และครบ ๗๐ ปี คณะพุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะแรกของ มจร.ที่เปิดสอน คำถามจึงมีว่า เกิดอะไรขึ้น มจร.จึงเปิดการเรียนการสอนไม่ได้ ? 

@ ฟังอธิการบดีท่านเล่าแล้วสรุปว่า เกิดปัญหาซ้ำซ้อนในการบริหารกับมหาธาตุวิทยาลัยเดิม ในที่สุดด้วยความปราชญ์เปรื่องของพระมหาเถระและฆราวาสนักบริหารยุคนั้นจึงผ่านพ้นมาได้ โดยให้มหาธาตุวิทยาลัยจัดการศึกษาขั้นต้นขั้นกลาง ส่วนขั้นอุดมศึกษาให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัด ซึ่งสอดคล้องกับพระราชประะสงค์ทีทรงมีพระราชหัตถเลขาไว้แต่แรกสถาปนาว่า....ให้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกกับวิชาชั้นสูง

@ วิชาชั้นสูงมีการตีความกันมากมายสมัยผมยังเรียนอยู่ บางท่านก็ว่า คือ การเรียนอภิธรรม บางท่านก็ว่า คือการเรียนกัมมัฏฐาน บางท่านก็ว่าคือ การเรียนวิปัสสนา จนงงกันไปหมด  แต่ฟังท่านอธิการบดีพูดเมื่อวานแล้วสบายใจยุติข้อขัดแย้ลงไปได้ เพราะความจริงแล้วล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ทรงตื่นตัวกับการศึกษาสมัยใหม่มากถึงขนาดทรงมีพระราชปณิธานจะจัดการศึกษาให้พสกนิกรทุกระดับชั้น ไม่ว่าเจ้านายหรือลูกไพร่จะได้เรียนหนังสือเท่าเทียมกันหมด 

    เหตุผลข้อนี้แหละ มจร.จึงต้องจัดการศึกษาขยายไปให้ถึงฆราวาสด้วย

คณะพุทธศาสตร์ ในฐานะคณะแรกของ มจร." ในมุมมองของ ดร. บรรณจบ บรรณรุจิ

@ อีกเรื่องหนึ่งที่ท่านอธิการบดีพูดน่าสนใจมาก คือ คำว่า พุทธศาสตร์ จะใช้ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร ? นั่นคือท่านต้องการแยกให้เห็นว่า พุทธ + ศาสตร์ คำ"พุทธ" ภาษาใช้  Buddha  ส่วน ศาสตร์ จะใช้อะไร ? ท่านทิ้งท้ายไว้ให้คิด 

    ผมเชื่อว่าทัศนะของอธิการบดีนั้นสำคัญ ต้องการจะโปรโมท พุทธศาสตร์ ให้ยิ่งใหญ่ เหมือนวิชาการอื่นที่มีคำ ศาสตร์ ต่อท้าย เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็น science, social science, political science

    ดังนั้น พุทธศาสตร์ จะเอา science มาแทน ศาสตร์ ได้ไหม ? ถ้าแทนจะแทนอย่างไร ?  

@ ขนาดพระยอดนักวิชาการที่เก่งอย่างท่านอธิการบดียังไม่ฟันธง  แล้วคนเก่งบ้างไม่เก่งอย่างผมจะกล้าไปทำอะไร แต่ถึงอย่างไรก็อยากแสดงบ้าง 

    หลักคิดของผมคือ เมื่อคำหน้า science เป็น adjective ดังนั้น Buddha จะต้องเป็น Buddhist ไหวไหมครับ หากจะใช้เป็น Buddhist Science 

@ อาจมีบางท่านว่า มีใช้ Buddhism อยู่แล้ว ก็ยอมรับว่า ใช่ แต่นั่นเป็นที่รูกันว่า หมายถึง ศาสนา ไปแล้ว แต่จะให้เป็น science คงไม่โดนใจ หรือจะให้เป็น Buddhist Study ก็จะกลายเป็นวิชาการสำหรับศึกษาไปเสีย แต่ไม่สัมพันธ์กับการดำเนินชีวิต ดังนั้น หากใช้เป็น Buddhist Science น่าจะสัมพันธ์กว่า เหมือนอย่าง Economic Science, Political Science, ที่มาสัมพันธ์กับชีวิตจนเป็นที่ยอมรับกัน 

@ แล้วจะใช้ Buddhist Science อย่างไร ? เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของคณะพุทธศาสตร์ต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างต่อสังคมไทยและสังคมโลก

@ ศาสตราจารย์ ดร.สมภาร พรหมทา ว่าอย่างไรครับ ขอแนวคิดหน่อย ในฐานะนักปรัชญา


Cr. fb.บ้านบรรณรุจิ

คณะพุทธศาสตร์ ในฐานะคณะแรกของ มจร." ในมุมมองของ ดร. บรรณจบ บรรณรุจิ
แชร์